กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--สสวท.
เมื่อธรรมชาติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยนี้...ทั้งน้ำท่วมเอ่ย..สึนามิ..แผ่นดินไหว..ทำให้เราต้องปรับตัวหรือทำตัวให้รู้เท่าทันธรรมชาติ..ในปีนี้ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 7 เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ในหัวข้อ “เยาวชนวิทย์ คิด-เรียนรู้ อยู่กับธรรมชาติ” เพื่อให้เราปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติหรือว่าอยู่ร่วมกันกันธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
ในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “เอาอยู่..เมื่อรู้ทันธรรมชาติ” โดยมีนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับภัยพิบัติทั้งทางด้าน น้ำท่วม แผ่นดินไหว และสึนามิ ได้ผู้ดำเนินรายการคนเก่ง ดร.ระพี บุญเปลื้อง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คอยซักถามเพื่อให้เราเข้าใจถึงเหตุที่ทำให้เกิดภัยพิบัติขึ้นในประเทศไทย และเตรียมพร้อมที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างถูกต้อง
“แผ่นดินไหวคือการปลดปล่อยพลังงาน ปกติแล้วตามพื้นโลกต่างๆมีสิ่งที่เรียกกันว่ารอยเลื่อนซึ่งจะต้องมีระนาบและความลึก รอยเลื่อนตามปกตินั่นจะมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลาถ้าเคลื่อนตัวไปตามปกติก็จะไม่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวแต่ถ้าเมื่อไหรก็ตามที่มีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน..เมื่อนั่นเองมันจะปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาลซึ่งก็จะเรียกได้ว่าการเกิดแผ่นดินไหว”...รศ.ดร.วีระชัย ศิริพันธ์วราภรณ์ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว....แล้วประเทศไทยจะเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่?... รอยเลื่อนที่ใหญ่จริงๆที่อยู่ใกล้ประเทศไทยนั่นอยู่ในประเทศพม่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในพื้นที่ๆจัดว่ามีอันตรายมากเพราะรอยเลื่อนนั่นมีการเคลื่อนตัวที่ต่ำมากซึ่งไม่เกิน 1 เซนติเมตรต่อปี..แผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่วัดได้คือที่ประเทศชิลี พ.ศ.2503
“ถ้าเปรียบเทียบประเทศไทยกับแผ่นดินไหวที่สุมาตราเมื่อเร็วๆนี้นั่นปลดปล่อยพลังงานออกมาโดยมีปริมาณที่เทียบได้กับถ้าเรามีแบตเตอร์รี่อันใหญ่ 1 อันเราจะพบว่าพลังงานนี้สามารถนำมาใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยได้ 1 ปีเต็มๆ!!!!นั่นคือทางทฤษฎี...ถ้าเกิดแผ่นดินไหวขึ้นให้เราหลบอยู่ใต้โต๊ะห้ามวิ่งออกข้างนอก ..ที่สำคัญถ้าเกิดแผ่นดินไหวอย่าเชื่อข่าวลือให้ฟังรายงานวิทยุและข่าวสารที่เป็นทางการ..กรุงเทพมีโอกาสต่ำมากที่จะถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวถึงจะผ่านไปประมาณ10ปี..สาเหตุเดียวที่กรุงเทพจะถล่มจากแผ่นดินไหวอาจจะมีจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่จ.กาญจนบุรีจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์หรือว่ารอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวและเป็นรอยเลื่อนที่ใกล้กับกรุงเทพฯห่างประมาณ 150 กิโลเมตร ถ้าสมมติว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นขนาด 8 ริกเตอร์จริงๆในกาญจนบุรี โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็ต่ำมากๆคือมันมีโอกาสเกิดแต่บอกได้ยากว่าเมื่อไรจะเกิดและถ้าเกิดขึ้น8 ริกเตอร์จริงโอกาสที่กรุงเทพฯจะกระทบกระเทือนเกิดขึ้นแน่นอน..แต่คาดว่าพวกเราทั้งชีวิตอาจจะไม่เห็น ” อ.วีระชัยบอก
แล้วถ้าเกิดแผ่นดินไหวในทะเลล่ะ?...หลายคนคงจะนึกถึงสึนามิ..ซึ่ง ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล สำนักเฝ้าและระวังสภาวะทางอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า สึนามิ แปลว่าคลื่นยักษ์ในภาษาญี่ปุ่น..ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความแรงมากและจะแผลงฤทธิ์ตอนเข้าใกล้ฝั่ง ซึ่งเกิดจากการไหลของนาวาแนวดิ่งจนทำให้เกิดการขบกันของเปลือกโลกใต้ทะเล ซึ่งความสูงจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าซัดเข้าสู่ฝั่งที่ตื้นหรือลึกมากแค่ไหน..และ สึนามิไม่สามารถทำลายพื้นที่สูงชันได้!!..สึนามิที่เคยวัดได้สูงที่สูงที่ญี่ปุ่นประมาณ35 เมตรหรือประมาณตึก 7 ชั้น การวัดความสูงของคลื่นสึนามิวัดจากที่ระดับน้ำทะเลปานกลางจนถึงตำแหน่งที่น้ำไปสัมผัส..
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าสึนามิกำลังจะมาแล้ว?... น้ำทะเลจะลดตัวลงไปอย่างฮวบฮาบ!!เพราะคลื่นสึนามิมีความยาวและเราต้องดูคาบคลื่นใช้เวลาประมาณ 5 — 10 นาทีในการลดตัวและขึ้นของคลื่นในทะเล...และต้องมีสื่อลางบอกเหตุ เช่น การเกิดแผ่นดินไหวใกล้ประเทศเรา..คลื่นมี 2 แบบคือ ยอดคลื่นและท้องคลื่น..จะเกิดสึนามิแบบไหนให้ดูว่ายอดคลื่นหรือท้องคลื่นอันไหนมาถึงก่อนกัน..ถ้าเป็นพื้นที่ๆยอดคลื่นมาถึงก่อนบริเวณนั่นน้ำทะเลจะลดตัวลงอย่างรวดเร็วและถ้าในพื้นที่นั่นเป็นยอดคลื่นมาถึงก่อนน้ำทะเลจะขึ้นมาก่อนในช่วงเริ่มต้นเท่านั่นจะยังไม่เป็นคลื่นลูกใหญ่...
“เราควรจะออกจากชายฝั่งแล้วก็ขึ้นที่สูงและตั้งสติให้ดี..เพื่อความปลอดภัยถ้าเกิดสึนามิ..ในปัจจุบันประเทศไทยมีเรดาร์ในการตรวจหาคลื่นสึนามิโดยจะวัดได้แน่นอนที่สุดในกระแสน้ำและสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ประมาณ20-30นาที นอกเหนือจากทุ่นตรวจวัดคลื่นที่ทะเลลึก..อ่าวไทยตื้นแค่50เมตรแต่คลื่นสึนามิมีความยาวประมาณ100 เมตรทำให้คลื่นมีการแตกตัวเหลือเป็นเพียงกระแสน้ำที่พุ่งเข้ามาหาฝั่งซึ่งมีความสูงไม่เกินเมตร” ดร.วัฒนากล่าว
แล้วถ้าเทียบกันระหว่างชายทะเลฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน..อันไหนเสี่ยงกว่ากัน?..ดร.วัฒนาตอบว่าไม่มีคำว่าเสี่ยง..เพราะว่ามีความเท่าเทียมกัน...
คำพูดยอดฮิตที่คนไทยจะทักทายกันช่วงน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่พึ่งจะผ่านพ้นไปนั่นก็คือ..น้ำท่วมบ้านหรือเปล่ารศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำให้มุมมองถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยว่า “ทำไมเราถึงมองว่าน้ำท่วมปีนี้ยิ่งใหญ่มากเพราะว่ามันท่วมรอบๆกรุงเทพฯน้ำท่วมมีแบบเอ่อล้นตลิ่งและแบบฉับพลัน.. อันตรายจากน้ำท่วมคือโดนไฟดูดประมาณ20%..เอาอยู่กับธรรมชาติเราต้องรู้ว่าธรรมชาติมีความซับซ้อนและสัมพันธ์กัน..เราต้องนึกต้องป่า..ป่าโกงกาง..ป่าต้นน้ำ..ทั้งหมดนี้มีสำคัญมากรวมทั้งระบบนิเวศต่างๆเราต้องเข้าใจระบบธรรมชาติก่อนที่จะจัดการน้ำ..มันมีความเชื่องโยงกันอยู่และมีความเป็นพลวัต”....
“เราต้องปรับตัวและปรับใจให้เข้ากับการอยู่รวมกันกับธรรมชาติ...การแก้ปัญหาที่สำคัญคือต้องจัดการน้ำแบบวิทยาการทำแบบทันที ณ เวลาจริงที่เกิดขึ้น ต้องจัดการระบายน้ำเพื่อลดสภาพน้ำที่จะมา..เหมือนโครงการแก้มลิงและโครงการปากขวดซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของในหลวง.เราต้องมีแผนวางไว้ถ้าน้ำมาเราจะทำยังไง น้ำแล้งเราจะทำยังไงไม่นั้นจะเป็นเหมือนปีที่แล้ว.”อ.กัมปนาทกล่าว
แล้วปีนี้น้ำจะท่วมกรุงเทพอีกหรือมั้ย!!!...อ.กัมปนาทตอบว่า..ท่วม..แต่ตอบตามสถิติโดยเกิดขึ้นแบบเฉลี่ยประมาณ 11 ครั้งในแต่ละปี...อย่างน้อยต้องมีการเตรียมตัวที่มากขึ้นและการปรับตัวเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา..การรวมตัวกันมากขึ้นการขุดลอกคลอง..เชื่อมั่นว่าสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าเดิม แล้วการท่วมแบบปีที่แล้วก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นถ้าเกิดขึ้นก็น่าจะระบายได้ดี..
เมื่อเรารู้ทันธรรมชาติแล้วก็ควรจะปรับตัวและปรับใจ...ไม่ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติมากน้อยแค่ไหนมนุษย์ต้องปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้...ช่วยกันรักษาไม่ทำลายธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดอุบัติภัยจากธรรมชาติซึ่งสาเหตุหลักอาจเกิดจากผลงานหรือน้ำมือของมนุษย์เองซึ่งทำลายธรรมชาติโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมาว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมาภายหลัง..ธรรมชาติให้อะไรมนุษย์มากพอแล้ว ถึงเวลาที่เราควรจะตอบแทนธรรมชาติบ้าง...เมื่อรู้ทันแล้วทำตาม...รู้ทันแล้วสร้างสรรค์ธรรมชาติ..รู้ทันเพื่อให้เราปรับตัวไม่ใช่ทำลาย...แล้วโลกเราจะงดงามมากกว่านี้...