แนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย - มีการเติบโตขึ้นในระดับปานกลาง แต่มีความสมดุลมากขึ้น

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 1, 2012 11:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 มิ.ย.--ไอเดีย เวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์ กูรูเศรษฐกิจโลก ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโส กลุ่มอลิอันซ์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของ บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย ระบุเศรษฐกิจในภาพรวมเติบโตปานกลาง แต่มีความสมดุลมากขึ้น ศ.ดร.ไฮส์ กล่าวว่า ตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียเติบโตอย่างแท้จริงที่ระดับ 7.4% ในปีที่แล้ว ในขณะที่ปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ถือว่ามีการฟื้นตัวอย่างแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งรุนแรงก่อนหน้านี้ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 9.6% ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงในปี 2554 เป็นผลมาจากการค้าโลกมีการเติบโตที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.6% ซึ่งลดลงอย่างมากจากปี 2553 ที่มีการเติบโตอยู่ที่ 15% มีหลายปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังประเด็นนี้ ประการแรก คือ การสูญเสียโมเมนตัมในการค้าโลก อย่างน้อยก็ในส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูทางธรรมชาติ ประการที่สอง อย่างไรก็ตาม มันยังได้สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการในการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด การค้าโลกประสบกับอุปสรรคใหญ่หลวง อย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราว นั่นคือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และวิกฤตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นในฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา รวมถึงเหตุมหาอุทกภัยครั้งรุนแรงในประเทศไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ได้ทำลายห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศลงไปอย่างย่อยยับ “ปีนี้เราคาดว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ที่แท้จริงจะชะลอตัวเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 7.2% เมื่อมองไกลไปถึงอนาคตข้างหน้า ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียมีแนวโน้มที่จะรักษาระดับการเติบโตในระดับนี้ต่อไปจนถึงปี 2556 หมายความว่า ในอนาคต โมเมนตัมการเติบโตทางเศรษฐกิจจะช้ากว่าการเติบโตในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ โดยในช่วงระหว่างปี 2546 — 2550 การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เฉลี่ยอยู่ที่ต่ำกว่า 9%” ศ.ดร. ไมเคิล ไฮส์ กล่าว เศรษฐกิจที่เติบโตลดลงในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม กำลังส่งผลกระทบโดยตรงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของเอเชีย ประเทศต่างๆ อย่างเช่น ประเทศจีน ต่างก็พยายามปรับโครงสร้างการส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น มีการส่งเสริมการค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและทวีปแอฟริกา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการเติบโตที่พึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อน ไปสู่การตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศมากขึ้น ศ.ดร. ไฮส์ กล่าวอีกว่า “การอดทนอย่างยาวนานในประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้ากว่า สำหรับอนาคตที่กำลังจะมาถึง จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจในเอเชีย การมุ่งให้ความสำคัญมากขึ้นกับเศรษฐกิจภายในประเทศน่าจะสร้างพื้นฐานที่สมดุลให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียได้ในระยะยาว” สำหรับในปีนี้ เราคาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจแกว่งขึ้นในระดับปานกลางในเอเชีย ประการแรก เราสันนิษฐานว่าการค้าโลกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่งในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้านี้ ประการต่อมา การกลับไปใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบขยายตัวในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศในเอเชีย ควรจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง ธนาคารกลางต่างๆ สามารถที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในเดือนล่าสุด ในประเทศจีนเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัวในส่วนของการปล่อยสินเชื่อออกมาแล้ว สำหรับประเทศไทย ศ.ดร. ไฮส์ กล่าวว่า การฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ผนวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล จะมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยสามารถพิชิตอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เห็นได้จากการดีดตัวในไตรมาสแรกของปี 2555 เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนในทิศทางนี้ การบริโภคภาคเอกชนควรได้รับประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการปรับขึ้นเงินเดือนของภาครัฐ และการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ในภาคเอกชน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือนเมษายน นอกจากนี้ ยังรวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของรัฐบาล เช่น นโยบายบ้านหลังแรกสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก และนโยบายรถยนต์คันแรก สำหรับคนไทยที่ต้องการซื้อรถ ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนได้อย่างดี “จะเห็นได้ชัดว่ามาตรการเหล่านี้เริ่มทำงานแล้ว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างมากอีกครั้งในเดือนที่ผ่านๆ มา หลังจากลดลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบ 11 ปีในพฤศจิกายน 2554 มาตรการฟื้นฟูที่ครอบคลุมจะเป็นเชื้อเร่งให้เกิดการพัฒนาอย่างยิ่งยวดในกิจกรรมการลงทุนตลอดปีนี้ การลงทุนภาครัฐในปี 2555 จะถูกทุ่มลงไปในการฟื้นฟูระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย แต่กิจกรรมการลงทุนในภาครัฐคาดว่าจะยังคงมีอัตราที่เร็วกว่าในอีก 2 — 3 ปีข้างหน้าเช่นกัน แรงจูงใจในการลงทุนที่ภาครัฐเสนอให้ ยังจะช่วยในการเติมพลังให้การลงทุนในส่วนขององค์กรยิ่งขึ้น กล่าวโดยสรุปแล้ว เราคาดว่าจะเห็นการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงอยู่ที่ 6% ในปีนี้และ 5% ในปีหน้า” ศ.ดร. ไฮส์ กล่าวสรุป ติดต่อ: บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต สายสมร เลิศคชลักษณ์ โทร 02-305-7408 (สายตรง) บริษัท ไอเดีย เวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ฐาปนี นันทวิสัย โทร 083 6861899

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ