กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--คาร์ลบายร์แอนด์แอสโซซิเอทส์
ล้วงลึกถึงที่มาที่ไปของชื่อรหัสหรือโค้ดเนมชิปของอินเทลรุ่นต่าง ๆ จนถึง ไอวี่บริดจ์รุ่นล่าสุด“ชื่อโค้ดเนมชิปของเรามีที่มาจากทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นชื่อของดวงดาว ดวงจันทร์ ตัวการ์ตูน หรือแม้แต่บรรดาชื่อของไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ ในสมัยจูราสสิค พาร์ค ซึ่งตัวโปรดของผมคือเจ้า แร๊ปเตอร์ ชื่อต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีความน่าสนใจ น่าตื่นเต้นและยังแฝงไว้ซึ่งความหมายในตัวอีกด้วย”
รัส แฮมสเตน อินเทล คอร์ปอเรชั่น
บริษัทเทคโนโลยีปัจจุบันต่างให้ความสนใจและหลงใหลในโค้ดเนม หรือ ชื่อรหัสที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเรียกผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัทมากขึ้น โค้ดเนมกลายมาเป็นกลไกทางการตลาดและได้รับการเกริ่นถึงบ่อยครั้งในช่วงหลายเดือน หรือบางครั้งหลายปี ก่อนหน้าการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด อินเทลเองก็ได้มีการตั้งชื่อโค้ดเนมเป็นการภายในให้กับไมโครโปรเซสเซอร์ ชิปเซ็ท และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก่อนที่การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดจะมาถึง เช่นเดียวกับบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายอื่นๆ
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 วิศกรของอินเทลได้เลือกชื่อต่างๆ มาเพื่อสร้างความสนุกสนานและกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันของทีมงาน เช่น อินเทลมีทีมที่ทำโปรเจคชื่อ “Bart” และ “Lisa” เพื่อเป็นเกียรติแก่ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “The Simpsons” และอีกทีมหนึ่งก็ง่วนกับโปรเจค “Dead Rock Star” ของชุดมาเธอร์บอร์ด ส่วนตัว Intel Advanced/ZP motherboard ที่ใช้โค้ดเนมว่า “The Zappa” เป็นตัวที่ประสบความสำเร็จจากนโยบายการเปลี่ยนโค้ดเนมมาเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ นับตั้งแต่นั้นมาอินเทลได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้สถานที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่ชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือแคนาดาที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โลกมาเป็นโค้ดเนมอย่างเช่น ถ้ามีการตั้งชื่อโค้ดเนมของผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งด้วยชื่อทางภูมิศาสตร์ชื่อใดชื่อหนึ่ง นั่นอาจเป็นไปได้ว่าโรงงานผลิตชิปรุ่นดังกล่าวของอินเทลตั้งอยู่ใกล้กับพิกัดของภูมิศาสตร์นั้นอินเทลมีวิศกรประจำโครงการที่ทำหน้าที่เสนอรายชื่อสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับโปรเจคนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชื่อเมือง แม่น้ำ ภูเขาหรือเทือกเขา ต่อมาในภายหลังโค้ดเนม ได้เริ่มมีความหลากหลายมากขึ้นเมื่ออินเทลได้ขยายขอบข่ายธุรกิจออกไปกว้างขวางมากขึ้นในหลายประเทศ
เคยสงสัยหรือไม่ว่าชื่อโค้ดเนม “Ivy Bridge” (ไอวี่บริดจ์) ของ อินเทลTMคอร์TMโปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3มาจากไหน
ในเบื้องต้น การทำความรู้จักกับโค้ดเนม “Sandy Bridge” (แซนดี้บริดจ์) ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ตระกูลคอร์ของอินเทล ในเจนเนอเรชั่นที่ 2 จะช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นถึงที่มาที่ไปของ “ไอวี่บริดจ์”
อารี ฮาร์ซาท ผู้จัดการฝ่ายวางแผนเชิงกลยุทธ์ผู้อยู่เบื้องหลังที่มาของโค้ดเนมที่โดดเด่นของ อินเทลหลายตัวเล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีสถาปัตยกรรมไมโครชิป “Sandy Bridge” ได้รับการตั้งชื่อว่า “Gesher” ซึ่งเป็นคำในภาษาฮิบรูที่แปลว่า “Bridge” หรือสะพาน ซึ่งเป็นชื่อที่เปลี่ยนไปจากหลักการตั้งชื่อโค้ดเนมตามชื่อภูมิศาสตร์ของอินเทลในตอนแรกเนื่องจากฮาร์ซาทและทีมของเขาเลือกที่จะตั้งชื่อชิป เจนเนอเรชั่นใหม่นี้ที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยแนวคิดใหม่ ให้คู่ขนานไปกับแนวคิดของ “สะพานที่จะนำไปสู่อนาคต” (Bridge into the future) แต่ในภายหลังนักวิเคราะห์ในแวดวงได้ออกมาท้วงติงว่าชื่อ Gesher นั้นเหมือนชื่อของพรรคการเมืองในอดีตของประเทศอิสราเอล โค้ดเนมนี้จึงได้รับการแปลและเปลี่ยนเป็นชื่อภาษาอังกฤษแทนโดยมีคำว่า "Sandy” อยู่ข้างหน้า
หลังชื่อแซนดี้บริดจ์ที่ประสบความสำเร็จ ฮาร์ซาทก็ได้รับมอบหมายได้เป็นผู้ตั้งชื่อชิปตัวถัดไป ซึ่งเขาได้ค้นหาที่ชื่อที่เป็นชื่ออเมริกันอย่างแท้จริง และชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งของฮิบรูและอเมริกาเหนือ เช่น “Dothan” ซึ่งเป็นชื่อเมืองในรัฐอลาบามา “Yonah” ภูเขาในจอร์เจีย และ “Merom” เมืองในอินเดียน่า ซึ่งต่อมาชื่อเหล่านี้ได้กลายมาเป็นชื่อโค้ดเนมของชิปสำหรับโทรศัพท์มือถือของอินเทล
ฮาร์ซาท เล่าต่อว่า “ในสหรัฐฯ มีหลายสถานที่ที่ชื่อของสถานที่มีคำว่า Bridge ร่วมอยู่ด้วย และผมก็ไปเจอคำว่า Ivy Bridge ซึ่งเป็นคำที่ผมคำว่านั่นแหละใช่เลย และไอวี่ยังเป็นต้นไม้ที่สวยงามอีกด้วย” และถึงแม้ว่าจะมี Ivy Bridge College ที่เมืองโทเลโด รัฐโอไฮโอ และ Ivy Bridge Caf? ที่เมืองเบดฟอร์ด รัฐเวอร์จิเนีย แต่สุดท้ายชื่อ Ivy Bridge ก็ได้รับการอนุมัติ
“การอนุมัติครั้งนี้สร้างให้เกิดชิปอินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ภายใต้โค้ดเนม “ไอวี่บริดจ์” ที่จะมีช่วงอายุยาวถึงประมาณ 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ คุณอาจเคยคิดว่ามีความหมายและคำอธิบายที่ซับซ้อนภายใต้เบื้องหลังชื่อนี้ แต่อันที่จริงแล้วมันเป็นแค่ความพยายามในการสืบเสาะค้นหาชื่อที่สามารถผ่านกระบวนการทางกฏหมายได้เท่านั้นเอง” ฮาร์ซาทกล่าวทิ้งท้าย
จุดเด่นของ อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3
- อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 “Ivy Bridge” เป็นชิปตัวแรกที่นำเทคโนโลยีการผลิตขนาด22 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลกจากทรานซิสเตอร์ 3 มิติ มาใช้
- อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 แซงหน้าโมเดล “ทิค-ทอค” โดยสามารถเร่งแผนพัฒนาและปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของชิป ที่เกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการผลิตให้เกิดขึ้นภายในปีเดียวกันได้
- อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 มาพร้อมกับ Intel? HD Graphics 4000 ที่เสริมประสิทธิภาพในการรับชมกราฟิกแบบ 3มิติได้ดียิ่งขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์เจนเนอเรชั่นเดิม ให้ผู้ใช้จะเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกมมากกว่าเดิมด้วยรายละเอียดความคมชัดที่สูงขึ้น
- อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ยังมาพร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น เช่น Intel? Secure Key and Intel? OS Guard ที่ทำหน้าที่ปกป้องข้อมูลและอัตลักษณ์ส่วนบุคคล คุณสมบัติทั้ง 2 อย่างนี้ได้นำมาผนวกเข้ากับแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วทั้ง Intel? Identity Protection Technology (Intel? IPT) และ Intel? Anti-Theft technology (Intel? AT) ที่ที่รวมประสิทธิภาพแพลตฟอร์มของอินเทลที่ให้ความปลอดภัยสูงสุดในอุตสาหกรรม
- แพลตฟอร์มที่ใช้โปรเซสเซอร์ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ยังช่วยหนุนการส่งผ่านข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย USB 3.0 ที่รวมอยู่ใน Platform Controller Hub (PCH) ของซีรี่ส์ 7 และ PCI Express 3.0 ในตัวโปรเซสเซอร์ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลเข้าและออกในเจนเนอเรชั่นถัดไปจะมาพร้อมกับช่องทางลำเลียงข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นไปยังแพลตฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลไหลผ่านไปได้อย่างต่อเนื่องและผู้ใช้ได้สัมผัสประสบการณ์พีซีอย่างไม่ติดขัด
- อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 จะกลายมาเป็นขุมพลังให้แก่อุปกรณ์อัลตร้าบุ๊ก รวมถึง เซิร์ฟเวอร์ ระบบอัจฉริยะในร้านค้าปลีก สถานพยาบาล และสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จะมีออกหลังจากนี้
อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 แซงหน้าโมเดล “ทิค-ทอค” โดยสามารถเร่งแผนพัฒนาและปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของชิป ที่เกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการผลิตให้เกิดขึ้นภายในปีเดียวกันได้
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล(NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอนสร้างสรรค์เทคโนโลยีสินค้ารวมทั้งการริเริ่มต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่องท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่newsroom.intel.comและblogs.intel.com.