กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--โฟร์ฮันเดรท
ครั้งแรกของประวัติศาสตร์ยุติธรรมเด็กฯ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภากระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนระดับภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค โชว์ศักยภาพไทยพร้อมเป็นผู้นำภูมิภาค ชูเครื่องมือคัดกรองเด็กดื้อ อวดนักวิชาการจากกว่า 20 ประเทศ เห็นประโยชน์ช่วยแก้ได้ตรงจุด
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สถาบันกำกับดูแลกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนระหว่างประเทศ International Juvenile Justice Observatory หรือ IJJO กำหนดจัดการประชุมสำคัญ 2 งานคือ การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค ในหัวข้อการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนไทย และประเทศในแถบภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค และการประชุมสภากระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนระดับภาคพื้น เอเชีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 1 ( The first Asia-Pacific Council for Juvenile Justice หรือ APCJJ ) ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ถนนพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจในการดูแล บำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่าการทำผิด พิทักษ์คุ้มครอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้การช่วยเหลือสนับสนุนตลอดจนติดตามผลและประเมินผลการบำบัดแก้ไขฟื้นเด็กและเยาชน นับเป็นเวลากว่า 60 ปีมาแล้วโดยมีการพัฒนามาตรฐานการดูแลเด็กและเยาวชนและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ ในระหว่างปี 2551-2555 กรมพินิจฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำการศึกษาวิจัยในโครงการพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อพัฒนาระบบการประเมิน และจำแนกเด็กและเยาวชน การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูและเยาวชน และการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและติดตามหลังปล่อยโดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนเพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ระดับนานาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ในโอกาสนี้กรมพินิจฯ จึงจะจัดการประชุมนานาชาติขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันกำกับดูแลกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนระหว่างประเทศ ( International Juvenile Justice Observatory : IJJO ) ซึ้งเป็นองค์กรที่สร้างและสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยง โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน ทั้งจากสหวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานและวิธีการต่าง ๆ แบบองค์รวม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานโยบาย กฎหมายข้อบังคับและกระบวนการดำเนินงานในระดับนานาชาติภายใต้กรอบการเชื่อมโยงอย่างไร้พรมแดน การประชุมนี้เป็นการประชุมด้านกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนครั้งแรกในระดับภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคซึ่งจะมีการจัดการประชุม 2 ส่วน คื อ 1. การะประชุมวิชาการระดับภูมิภาค : การพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนไทยและประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ในวันที่ 12-13 มิถุนายน 2555 2. การประชุมก่อตั้งสภากระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนระดับภาคพื้นเอเซีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 1 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตราฐานในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมต่อไปการจัดประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนานาชาติจากองค์กรภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ทั้งไทยและต่างประเทศในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค เข้าร่วมในการเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในแถบภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค ให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าว มีหัวข้อการเสวนา ที่น่าสนใจหลายหัวข้อ เช่น “กระบวนการยุติธรรม แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและข้อท้าทาย” โดยนายจิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และนายธวัชชัย ไทยเขียว อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน “ กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กและการดำเนินการอาญา การหันเหคดี และมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ” โดยนายวันชัย รุจวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับวิทยากรของไทยและต่างประเทศอีกหลายท่าน สำหรับประเทศที่เข้าร่วมในครั้งนี้ ได้แก่ ออสเตเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกีนี ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร เกาหลีใต้ เวียดนาม แคนนาดา และสเปน