คนไทยตื่นตัวภัยธรรมชาติ คิดค้นเทคโนโลยี ฝีมือคนไทย ต้านภัยพิบัติ

ข่าวทั่วไป Tuesday June 12, 2012 14:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--อสมท อีกหนึ่งกิจกรรม CSR ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในการตอกย้ำแนวคิด “สังคมอุดมปัญญา” ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้สิ่งใหม่ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมกับงาน “ถนนเทคโนโลยี”ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10โดยภายในงานมีทั้งนิทรรศการการแสดงเทคโนโลยีต่างๆ การแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robot Contest ชิงแชมป์ประเทศไทย 2555 ที่เปิดโอกาสให้แก่น้องๆ ทั้งอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามาแข่งขันกันเพื่อค้นหาตัวแทนของประเทศ และอีกหนึ่งกิจกรรมที่ขาดไม่ได้คือการประกวดนวัตกรรมฝีมือคนไทย การประกวดนวัตกรรมถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จัดควบคู่กับงานถนนเทคโนโลยี โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป นักประดิษฐ์ นักเรียน นักศึกษา ได้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีและออกแบบผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวด ซึ่งแต่ละปีจะมีหัวข้อการประกวดที่แตกต่างกันออกไป และจากเหตุการณ์ ภัยธรรมชาติเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยตื่นตัวกับภัยธรรมชาติ ปีนี้ บมจ. อสมท จึงได้กำหนดหัวข้อการประกวด“นวัตกรรมการสำรวจทางภูมิศาสตร์ (GIS)”โดยระบบ GIS ย่อมาจากคำว่า Geographic Information System หรือ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ สามารถทำให้เกิดความเข้าใจในการเผชิญปัญหาที่ต้องการคำตอบอย่างรวดเร็ว เช่น ปัญหาการจัดการน้ำท่วม , การจัดการป่าไม้และบุกรุกทำลายป่า , ปัญหาการจราจร , ปัญหาการขยายตัวของชุมชน ตลอดจนปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่ต้องใช้ร่วมกันต่างๆ สำหรับการประกวดนวัตกรรมสำรวจทางภูมิศาสตร์ (GIS) ครั้งนี้ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชน ตลอดจนหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวางแผนในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดและระดับประเทศได้รับการเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน GIS เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดเน้นนวัตกรรม ที่สามารถสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมและสามารถต่อยอดให้นำมาใช้งานได้จริง ซึ่งในปีนี้ มีผู้ส่งผลงานประกวดทั้งสิ้น 32 ผลงาน และมีผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวนทั้งสิ้น 19 ผลงาน ผลงานฝีมือคนไทยที่โดดเด่นได้แก่ระบบสารสนเทศเตือนภัยน้ำท่วมโดยนายปิยะบุตร ชุ่มชื่นระบบเตือนภัยน้ำท่วมที่ใช้งานได้ง่ายและประหยัด เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตและซอฟแวร์ ก็สามารถใช้เตือนภัยได้ทั้งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ จุดเด่นอยู่ที่ใช้งบประมาณไม่มากและใช้ระยะเวลาในการพัฒนาสั้น ข้อมูลที่ได้ส่งตรงจากสถานที่จริงเหมือนได้ลงพื้นที่ด้วยตนเอง โดยนำเอา Google Map และการพัฒนาด้านซอฟแวร์มาใช้ควบคู่กัน เพื่อนำมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม และเป็นช่องทางที่ใช้ในการแจ้งเตือนภัย แลกเปลี่ยนข้อมูล และขอความช่วยเหลือ รวมถึงเก็บรวบรวมสถิติของระดับน้ำของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์หรือวางแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอนาคตต่อไป ข้อมูลที่ได้ก็จะมาจากบุคคลหรือหน่วยงานในท้องถิ่น ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด และด้วยการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์นี้ทำให้สามารถลดข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ในการรับข้อมูลได้ เพราะไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประเทศหรือที่ไหนในโลก หากมีเรามีอินเตอร์เน็ตและซอฟแวร์ตัวนี้ ก็สามารถติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจ และมีผลงานโดดเด่นทัดเทียมกับผลงานจากต่างประเทศ คือ อากาศยานไร้นักบิน (UAV)จากบริษัท สยามยูเอวี อินดัสตรีส์ จำกัดนวัตกรรมที่ประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อสำรวจภัยพิบัติ, การเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลใหม่ มีความชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดกว่าข้อมูลที่ได้ จากดาวเทียม ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการรอข้อมูลที่จะส่งลงมายังพื้นดินเป็นเวลา 1-2 ปี UVA นี้ เป็นอากาศยานที่ใช้ระบบ Auto Pilot 100% ไม่ต้องใช้รีโมตหรือวิทยุในการบังคับ แต่จะมีการตั้งข้อมูลให้กับเครื่องบินไปยังจุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ แล้วบินตาม GPS ซึ่งเมื่อบินสำรวจหรือปฏิบัติภารกิจสำเร็จเรียบร้อย ก็จะบินนำข้อมูลที่ได้กลับมาโดยอัตโนมัติ เครื่อง UAV นี้ได้ถูกไปใช้จริงแล้วเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา ซึ่งหากนำ UAV นี้ไปพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม เช่น การติด Sensor แบบเฉพาะทางเพิ่ม ก็สามารถนำไปใช้ในภารกิจเฉพาะด้านได้อาทิ การตรวจปริมาณกัมมันตภาพรังสี หรือนำไปใช้ในพื้นที่ซึ่งมีความอันตรายสูง เป็นต้น ภายในงานไม่ได้มีนวัตกรรมเพียง 2 ชิ้นนี้เท่านั้น แต่ยังมีนวัตกรรมที่น่าสนใจและสามารถนำแนวคิดไปพัฒนาต่อยอดให้แก่สังคมของเราได้อีกมากมาย เช่น ระบบคาดการปริมาณน้ำฝนอัตโนมัติจากภาพถ่ายดาวเทียม FY-2C, การตรวจจับตำแหน่งการเกิดไฟป่าด้วยภาพถ่ายดาวเทียมชนิด Thermal infrared ร่วมกับ CCD , ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม RS-Ware, โปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับบริหารจัดการมูลฝอย ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานนวัตกรรมฝีมือคนไทยทั้งสิ้น นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแข่งขัน “ABU ROBOT CONTEST ชิงแชมป์ประเทศไทย 2555” เพื่อค้นหาตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ABU Asia — Pacific Robot Contestในหัวข้อ “พิชิตยอดเขา คว้าซาลาเปา มุ่งสู่สันติ” หรือ “Peng On Dai Gat — In Pursuit of Peace and Prosperity” วันที่ 19สิงหาคม 2555 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกงอีกด้วย งานถนนเทคโนโลยีจัดให้เข้าชมฟรี แล้วไม่จำกัดอายุสามารถเที่ยวสนุกได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ใครที่มีลูกหลานและอยากให้สนใจและมีไอเดียทางเทคโนโลยี ไม่ควรพลาด วันที่ 16 -17 มิถุนายน 2555 เวลา 10.00 — 18.00 น. ณ ฮอลล์ 1- 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี หรือติดตามชมการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศได้ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน 2555 เวลา 14.20 — 16.00 น. ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mcot.net/technologystreet สำหรับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่สนใจเข้าชมงานเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อฝ่ายผลิตรายการ บมจ. อสมท โทร 0 2201 6321

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ