วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ เรื่อง I, ROBOT (ต่อ)

ข่าวทั่วไป Thursday June 24, 2004 09:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
เกี่ยวกับงานสร้าง
หนึ่งปีครึ่งก่อนหน้าที่จะเริ่มการถ่ายทำหลัก อเล็กซ์ โพรยาส ผู้กำกับการแสดง เริ่มต้นการทำงานกับกลุ่มผู้ร่วมงานหลักของเขา รวมทั้ง แพทริค ทาโทเปาลอส ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ ในการออกแบบคอนเซปท์ของโลกอนาคต ที่ซึ่งหุ่นยนต์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โพรยาสและทาโทเปาลอสเคยร่วมงานกันมาก่อนหน้านี้ในเรื่อง "Dark City"
"ผมบรรยายเรื่อง I, ROBOT ก่อนหน้านี้ว่าเกือบให้ความรู้สึกเป็นหนังสารคดีอนาคต เพราะผมอยากที่จะหลีกหนีไปจากภาพเดิมๆ ของฮอลลีวู้ดที่มีต่อโลกอนาคต" โพรยาสอธิบาย "ผมต้องการสร้างความรู้สึกที่หนักแน่นของความเป็นจริงที่เราสามารถเชื่อได้ว่าเราอยู่ในโลกที่มีหุ่นยนต์เป็นประชากร เราทำในสิ่งที่น่าเชื่อถือและมีมุมมองที่เป็นจริงในอนาคต ผมไม่ต้องการมีรถเหาะได้ หรืออะไรที่คนอื่นเคยทำในแง่มุมของภาพในหนังอนาคต ผมต้องการให้รู้สึกว่ามันเป็นจริงและเป็นการก้าวหน้าอย่างเป็นธรรมชาติในช่วง 30 ปีในโลกของเรา
"ผมให้ความสนใจกับตัวละครและเรื่องราวมากกว่าอุปกรณ์" โพรยาสกล่าวต่อ "หุ่นยนต์เป็นรูปแบบของเทคโนโลยีที่ดึงดูดใจ ซึ่งผมไม่อยากให้เทคโนโลยีในรูปแบบอื่นๆ มาบดบังพวกมัน นั่นก็คือ เราทำรถที่มีสมรรถนะเยี่ยมซึ่งมีพวงมาลัยเป็นทรงกลม ที่สามารถบังคับได้ทุกทิศทาง แต่พอท้ายที่สุดผมก็อยากให้หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีที่เด่นชัดในโลกของปี 2035"
อันที่จริง งานที่สำคัญที่สุดของแพทริค ทาโทเปาลอสคือการออกแบบหุ่นยนต์ รวมทั้งซันนี่ ตัวละครหลักของภาพยนตร์ ทาโทเปาลอส ผู้ซึ่งเคยเป็นทั้งผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ และผู้ออกแบบสิ่งมีชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องดังของ ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ เรื่อง"Independence Day" ทำงานในตำแหน่งควบเช่นเดียวกันในเรื่อง I, ROBOT
"การมีโอกาสได้สร้างฉากและหุ่นยนต์ซันนี่ ตั้งแต่เริ่มต้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก" ทาโทเปาลอสบอก "ผมเชื่อเสมอมาว่าสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ ควรจะรู้สึกเช่นเดียวกันกับโลก และพวกมันควรไปกันได้เป็นอย่างดี"
ในการทำงานร่วมกับโพรยาส ทาโทเปาลอส ได้จัดเตรียมและออกแบบหุ่นซันนี่เป็นเวลากว่าสองปี โดยพยายาม "ลืมทุกอย่างที่เราเคยเห็นมาก่อน" รูปแบบของซันนี่ มีมากว่า 50 แบบที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่จะเป็นตัวเป็นตนอย่างสมบูรณ์ ด้วยรูปร่างที่ผอมเพรียวและสง่างาม
สำหรับโพรยาส รูปร่างหน้าตาของซันนี่เป็นหัวใจสำคัญของความน่าเชื่อถือของเรื่อง "เราพยายามเข้าไปนั่งในใจของคนที่ออกแบบหุ่นยนต์ และเราคิดได้ว่าพวกเขาคงจะสร้างสิ่งที่เรารู้สึกสบายใจเวลาที่มีมันอยู่ในบ้าน กับลูกๆ ของเรา ดังนั้นหุ่นยนต์ต้องทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย
"และอีกครั้งที่มันย้อนไปสู่เรื่องของอาซิมอฟโดยตรง ซึ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยและความรู้สึกไม่เป็นอันตราย ที่ว่าหุ่นยนต์ไม่สามารถทำร้ายเราได้ไม่ว่ากรณีใดๆ มันสมเหตุผลในมุมมองของมนุษย์และองค์กร เราจึงพยายามรักษาความคิดดั้งเดิมที่อาซิมอฟได้สร้างสรรค์ไว้"
จุดหักเหในการออกแบบซันนี่มาถึงเมื่อโพรยาสเริ่มที่จะมองภาพซันนี่ว่าเป็นคนดีที่บริสุทธิ์ "ในส่วนลึกของซันนี่ เขาไร้เดียงสา" โพรยาสกล่าว "เขาเป็นเหมือนเด็กผู้ชายที่กำลังจะเข้าสู่วัยหนุ่ม ซันนี่ฉลาดมาก แต่อารมณ์ของเขา - ซึ่งทำให้เขาต่างไปจากหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ - บางเบามากเหมือนของเด็กๆ"
ในที่สุดการออกแบบของหุ่นยนต์รุ่น NS-5 รวมทั้งซันนี่ด้วย ก็ลงเอยที่การปรับเปลี่ยนบุคลิกสามส่วน : โปร่งใส, รูปร่างเหมือนมนุษย์ที่มีโครงสร้างกล้ามเนื้อที่โดดเด่น และใบหน้าที่มีสัดส่วนรับกันอย่างสมบูรณ์ ลักษณะเฉพาะนี้นำไปสู่ความท้าทายของการออกแบบที่น่าเกรงขาม "ซันนี่และหุ่น NS-5 ไม่ดุร้าย ผมจึงต้องหาทางที่จะทำให้พวกมันดูน่ากลัว โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปแบบ" ทาโทเปาลอสกล่าว
ที่สำคัญที่สุด ความโปร่งใสเป็นการเน้นถึงการคำนึงเรื่องความปลอดภัย "ถ้าบางอย่างดูโปร่งใส ไม่มีอะไรที่ซ่อนเร้นไว้ได้" ทาโทเปาลอสอธิบาย "ยกตัวอย่างเช่นตึกที่มีกระจกมากกว่า ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น ถ้าหุ่นยนต์ซ่อนอะไรไม่ได้ มันก็ปลอดภัย" หรือไม่เราก็คิดอย่างนั้น…ผลประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการสร้างให้ซันนี่ดูโปร่งใส คือการสะท้อนกับไปของตัวเขา ซันนี่ดูเหมือนมีแสงสะท้อนเวลาที่คนมองจากด้านนอกของใบหน้าและตัว แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในแสงไฟ จะทำให้เห็น "ภายใน" ของเขา ซันนี่กลายเป็นสิ่งที่ทาโทเปาลอสเรียกว่า "เครื่องกลที่สร้างความน่ากลัว เขย่าขวัญ ด้วยความโปร่งใสของเขาเปลี่ยนไปโดยไม่ต้องเปลี่ยน"
ใบหน้าของซันนี่มีสามระดับ เครื่องยนต์กลไกอยู่ด้านใน และใต้กะโหลกที่คล้ายกับกะโหลกศีรษะมนุษย์ และชั้นด้านนอกที่ใส ส่วนบนสุดของกะโหลกคือหนังที่อ่อนนุ่ม "ถ้าเราจับต้องเขาก็จะรู้สึกนุ่มนิ่ม แต่ภายใต้สิ่งนั้นคือโครงกระดูกโปร่งใส" ทาโทเปาลอสกล่าว
เพื่อแยกแยะความเป็นซันนี่ (และหุ่นรุ่น NS-5 ที่เหลือทั้งหมด) จากกำเนิดของหุ่นยนต์ในภาพยนตร์รุ่นก่อนๆ ทาโทเปาลอสได้สร้าง "กล้ามเนื้อแห่งอนาคต" สำหรับข้อต่อเครื่องกลของซันนี่ - อีกส่วนหนึ่งที่ช่วยในการเปลี่ยนรูปร่างหุ่นยนตร์ให้กลายเป็นคน ในการสร้างส่วนกล้ามเนื้อ ทาโทเปาลอสได้รับแรงบันดาลใจจากความก้าวหน้าล่าสุดของอวัยวะเทียม รวมทั้งวัตถุดิบรุ่นใหม่ที่สนองตอบต่อการกระตุ้นไฟฟ้าและโต้ตอบได้เหมือนกล้ามเนื้อจริง
ในท้ายที่สุด ทีมผู้สร้างได้เรียนรู้ว่าปัจจัยความเป็นมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างซันนี่ "หนึ่งปีก่อนเริ่มถ่ายทำ เรานั่งอยู่ในที่ทำงาน พยายามคิดหาวิธีสร้างหุ่นยนต์ … CGI, คนใส่ชุด, อะไรก็แล้วแต่… เราไม่เคยคิดไปถึงผลกระทบทางอารมณ์ที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง เพราะเรามองมันเหมือนกับว่ากำลังแก้ปัญหาทางเทคนิค ผู้อำนวยการสร้างวิค กอดฟรีย์กล่าว "แม้ว่าเราจะไม่ได้เห็นอลัน ทูดิคในจอก็ตาม แต่เราก็รู้ถึงบุคลิกและความเป็นคนที่เขานำมาสู่บทนี้"
ทาโทเปาลอสยังมีหน้าที่ในการออกแบบหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ ที่เป็นประชากรของเรื่อง "หุ่นยนต์รุ่นก่อน NS-4 ก็ได้รับการสร้างให้เหมือนมนุษย์ แต่มีรายละเอียดที่น้อยกว่า NS-5" ทาโทเปาลอสพูด "พวกมันค่อนข้างกระเด้งและกระด้าง แต่ทำงานได้อย่างเดียวกัน… แต่อาจไม่ได้ทำดีเท่า มันเป็นเรื่องน่าสนใจของความแตกต่างระหว่างหุ่นสองรุ่น"
ทาโทเปาลอส ในฐานะผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ ต้องสร้าง ด้วยวิสัยทัศน์ และออกแบบโลกของปี 2035 องค์ประกอบทุกอย่างต้องใช้ความคิดตั้งแต่เริ่มแรกของขั้นตอน เพื่อให้ตัดสินใจได้เกี่ยวกับส่วนของฉากที่ต้องจัดสร้างขึ้น โดยโลเคชั่นในเมืองแวนคูเวอร์ - หรือ "สร้าง" ขึ้นในคอมพิวเตอร์
การออกแบบมีสอง "รสชาติ" ของเมืองชิคาโก้ในหนัง บริเวณดาวน์ทาวน์นั้นเต็มไปด้วยภูมิทัศน์ของเมืองที่สวยงาม มีพลาซ่าขนาดใหญ่ สีขาว และบริสุทธิ์ กระจกแวววาวของตัวอาคารซึ่งเป็นที่อยู่ของพลเมืองที่ร่ำรวย ในความแตกต่างอย่างน่าแปลกใจนั้น ถิ่นชานเมืองกลับให้ความรู้สึกที่ไม่น่าดู เป็นส่วนที่เก่าและยากจนกว่า
หนึ่งในบรรดาองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ในงานวิชวลของโพรยาส คือภาพที่ไม่มีความเขียวชอุ่ม การทำให้เป็นภาพที่ "ไร้ต้นไม้" ในขณะที่ถ่ายทำกันในเมืองแวนคูเวอร์ที่ร่มรื่นนับเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทางทีมงานถึงกับต้องจ้างคนสวนมาเพื่อทำให้พุ่มไม้และต้นไม้อยู่ นอก เฟรมอีกด้วยทีมผู้สร้างเลือกชิคาโก้ให้เป็นฉากในการเดินเรื่อง เพราะมีเส้นขอบฟ้าที่คล้ายคลึงกับคอนเซ็ปท์แรกของโพรยาส ในการผสมผสานภาพที่คลาสสิคและสมัยใหม่ - ยกตัวอย่างเช่น, อาคารสูงลิ่วใหม่เอี่ยมที่ตั้งอยู่ถัดจากตึกที่มีอายุครึ่งศตวรรษ
เพื่อให้ได้มาซึ่งขอบเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลอย่างที่โพรยาสต้องการ ช็อตส่วนใหญ่ในภาพยนตร์เป็นการผสมกันระหว่างฉากที่สร้างขึ้นกับโลเคชั่นจริง และวิลเอ็ฟเฟ็ค
สำนักงานใหญ่ที่สร้างด้วยกระจกและโลหะของ U.S. Robotics ตั้งอยู่ในดาวน์ทาวน์ของเมืองชิคาโก้ มีบุคลิกเป็นของมันเอง แอ็คชั่นส่วนใหญ่ที่เป็นตัวเดินเรื่อง เกิดขึ้นในล็อบบี้ พลาซ่า แล็บ ห้องประชุม และห้องทำงาน รวมทั้งบนแคทวอล์ก ในอุโมงค์ และภายในอาคาร USRทาโทเปาลอสอธิบายว่า "อาคาร USR มีรูปร่างที่น่าสนใจ ; มันเป็นเหมือนคมมีด ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกของการจำหน่ายสินค้า ริมด้านหนึ่งของอาคารเป็นคมมีดของกระจก เวลาที่เราเดินไปสุดแคทวอล์กด้านใน เราจะเห็นตัวเอง เมืองที่ทอดอยู่จ้างหน้า และตลอดทางเดินในล็อบบี้ทางด้านท้ายของอาคาร แบบของอาคารทำให้คนดูได้เห็นอย่างแท้จริงว่าโลกเป็นอย่างไร ไม่ใช่เพียงแต่เห็นแวบหนึ่งเท่านั้น"
พลาซ่าด้านนอกของอาคาร USR สื่อถึงพลัง "เมื่อคุณมีอำนาจ คุณจะไม่สร้างอาคารที่สูงกว่าเดิม คุณจะออกแบบพลาซ่ากว้างๆ ล้อมรอบอาคารของคุณ เพราะว่าที่ดินคือสิ่งที่มีราคาแพง" โพรยาสกล่าว ตัวละครนักสืบสปูนเนอร์ของวิล สมิธอาศัยอยู่ชานเมืองชิคาโก้ ส่วนที่คิดกันว่าเป็นดาวน์ทาวน์ในปัจจุบันจะกลายเป็นชานเมืองในปี 2035 มันเป็นสถานที่ที่แตกต่างอย่างมากทีเดียวจากโลกที่เก่าแก่ของ USR และของดร.คาร์วิน อาคารสองชั้นความยาว 260 ฟุต ที่ตั้งหันหน้าสู่แม่น้ำในย่านชานเมืองนิวเวสมินสเตอร์ของแวนคูเวอร์ ได้รับการแปลงโฉมให้เป็นย่านที่พักอาศัยของสปูนเนอร์ที่กินบริเวณค่อนข้างกว้าง ซึ่งได้รับการเรียกขานอย่างชื่นชอบจากทีมงานว่า "สปูนเนอร์วิลล์"
คอมพิวเตอร์พลังสูงที่เรียกกันว่า V.I.K.I. ควบคุมสำนักงานใหญ่ของ USR "V.I.K.I. เป็นสมองส่วนกลางของโครงสร้างแห่ง USR " ทาโทเปาลอสกล่าว "มันเป็นสมองส่วนกลางเช่นเดียวกับหัวใจของเรา ในศูนย์กลางของร่างกาย และมันเป็นเส้นทางและหลอดเลือดที่แล่นไปตามตัวอาคาร" แสงไฟตามโถงทางเดินและห้องต่างๆ เป็นตัวแทนของเส้นเลือดของ V.I.K.I. "ใบหน้า" ของมันมาจากแสงไฟที่เปลี่ยนรูปร่างอยู่ตลอดเวลา จากสายที่วิ่งผ่านไปทั่วอาคาร
ระบบคมนาคมแห่งอนาคตในเรื่อง I, ROBOT นับเป็นเรื่องสำคัญในแง่ของภาพ เมื่อผู้ขับขี่เดินทางเข้ามาจากชานเมืองด้วยการขับอยู่บนผิวถนน เมื่อเข้ามายังดาวน์ทาวน์การจราจรทุกอย่างจะอยู่ใต้ดิน ผ่านทางอุโมงค์มากมายและที่จอดรถใต้ดินที่มีรูปร่างเหมือนฟุตบอลรูปไข่ พวงมาลัยทรงกลมทำให้รถสามารถเคลื่อนไปทางด้านข้าง การเคลื่อนที่ในด้านข้างนี้ยังปรากฏในฉากการไล่ล่าที่ยิ่งใหญ่ ที่มีรถจำนวนมากวิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสองร้อยไมล์ต่อชั่วโมงในขณะที่วิ่งไปด้านข้างอีกด้วย
รถทุกคันในเรื่อง I, ROBOT ได้รับการออกแบบและสร้างสำหรับใช้ในภาพยนตร์เป็นพิเศษ โดยบริษัทออดี้ของเยอรมนีทำงานร่วมกับทีมผู้สร้างในการสร้างรถ "พระเอก" ของวิล สมิธ ออดี้ได้จัดหารถหลากหลายรุ่นเพื่อนำมาดัดแปลงสำหรับหนัง
ภายใต้ผ้าคลุมแห่งความลับ เจฟ จูเลียน ผู้ออกแบบรถของภาพยนตร์ได้เดินทางไปเยอรมนีหลายครั้ง เพื่อตกแต่งรถให้กับนักสืบ เดล สปูนเนอร์ ของวิลสมิธ โดยใช้ต้นแบบจริงของรถออดี้ที่กำลังจะเปิดตัว--จบ--
-นท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ