ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มมากขึ้น แต่โฆษณาผ่านมือถือยังไม่ “โดน”

ข่าวทั่วไป Wednesday June 27, 2012 14:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--นีลเส็น - คนใช้มือถือสิงคโปร์ 7 ใน 10 คนมีสมาร์ทโฟน แต่ไทยยังอยู่ที่ 27% - 1 ใน 3 ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยมีแท็บเลตอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง - โฆษณาผ่านมือถือยังไม่โดนใจผู้บริโภค จากการศึกษาของนีลเส็น บริษัทชั้นนำด้านการวิจัยทางการตลาด พบว่าแม้ความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนจะพุ่งสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค แต่การโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังไม่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากการศึกษาทำความเข้าใจผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนของนีลเส็นที่จัดทำขึ้นใน 39 ประเทศทั่วโลก (13 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก) พบว่า ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก (72%) ตามมาด้วยประเทศเกาหลี (67%) ฮ่องกง (58%) และไต้หวัน (51%) โดยประเทศไทยมีอัตราการครอบครองโทรศัพท์สมาร์ทโฟนอยู่ที่ 27% เป็นอันดับที่ 8 ในภูมิภาค ตามหลังเวียดนาม และ มาเลเซีย จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นยังส่งผลให้จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการใช้โซเซียลเน็ตเวิคและการค้นหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดย 9 ในสิบผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในญี่ปุ่นใช้โทรศัพท์ของตนในการต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ท ตามมาด้วยเกาหลีที่ 80% ประเทศไทยมีอัตราการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่เกือบครึ่งหนึ่ง (47%) และอินเดียเป็นประเทศที่ใช้โทรศัพท์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทน้อยที่สุดในภูมิภาค (15%) (ดูตารางที่ 2) ฮ่องกง และ มาเลเซียเป็นสองประเทศที่นิยมใช้โซเซียลมีเดียผ่านมือถือเป็นพิเศษ โดยมีอัตราการเข้าใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าวถึง 76% และ 74% ต่อกิจกรรมที่ทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดในแต่ละเดือน นอกจากนี้ การศึกษาของนีลเส็นยังพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีแทบเล็ตจำนวนหนึ่งเครื่อง โดยประเทศจีนคิดเป็นจำนวน 39% ไทยคิดเป็น 32% และมาเลเซียคิดเป็น 30% จากผู้ใช้มือถือสมาร์ทโฟนทั้งหมด ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยิ่งเน้นย้ำความสำคัญของการทำความเข้าใจความแตกต่างในพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลผ่านเครื่องมือสื่อสารทั้งสองประเภท ความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนยังส่งผลให้การใช้แอพพลิเคชั่นบอกตำแหน่งสถานที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศที่มีผู้นิยมใช้บริการเกี่ยวกับการบอกสถานที่มากที่สุดคือ ประเทศเกาหลี (59%) ตามมาด้วยญี่ปุ่น (56%) ฮ่องกงและไต้หวัน (53%) Vishal Bali ผู้อำนวยการฝ่าย Telecom Industry Group ของนีลเส็นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกล่าวว่า ความนิยมในการใช้บริการบอกตำแหน่งสถานที่ เช่น แผนที่ หรือ เนวิเกเตอร์ สร้างผลดีกับบริษัทในการแสดงตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทและแสดงให้ผู้อื่นรับรู้ถึงบริการต่างๆของบริษัท โดยเฉพาะร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ อย่างไรก็ตามโปรแกรมเหล่านี้ผู้ใช้หลักยังคงเป็นผู้บริโภคในประเทศที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน เช่น ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน ส่วนในประเทศอื่นๆเช่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย การใช้งานยังคงเน้นที่โซเซียลเน็ตเวิคและการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต เกมส์ยังคงเป็นแอพพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยมมากสุดในเอเชียแปซิฟิค ยกเว้นประเทศอินโดนีเซียที่นิยมใช้แอพพลิเคชั่นเพลงและโซเซียลเน็ตเวิค จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั่วภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การโฆษณาผ่านสมาร์ทโฟนสามารถเข้าถึงผู้บริโภคหมู่มากได้ โดยในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศจีนเกือบ 8 ใน 10 คน (77%) ได้เห็นโฆษณาผ่านมือถือของตน ตามมาด้วยมาเลเซีย (74%) และเกาหลีและฮ่องกง (66%) อย่างไรก็ดี การ “ได้เห็น” ไม่ได้หมายความว่าจะ “ได้ผล” เสมอไป เพราะการสำรวจพบว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมากในภูมิภาคไม่เคยคลิกชมโฆษณาผ่านมือถือเลยแม้แต่ครั้งเดียว “แม้ว่าสมาร์ทโฟนจะตอบโจทย์ด้านโฆษณาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงผู้บริโภคหรือความสามารถในการรับข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท อย่างไรก็ตามเราพบว่ามีผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมากที่เลือกไม่รับชมโฆษณา ดังนั้นความเข้าใจปัจจัยที่จะช่วยเปลี่ยนให้ผู้บริโภคหันมาสนใจโฆษณาผ่านมือถือจึงเป็นการบ้านสำคัญสำหรับนักโฆษณาในนาทีนี้” Bali แนะนำว่าปัจจัยหลักๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในภูมิภาคหันมาสนใจโฆษณาผ่านมือถือมากขึ้นประกอบไปด้วย: - การปรับปรุงดีไซน์ของโฆษณาให้เหมาะกับการรับชมผ่านโทรศัพท์มือถือ - การออกแบบโฆษณาให้สามารถรองรับขนาดหน้าจอที่แตกต่างกันของโทรศัพท์ในแต่ละรุ่น รวมไปถึงการโฆษณาที่เน้นตามกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่การโฆษณาหว่านแบบ mass - ใช้แอพพลิเคชั่นบริการด้านการบอกสถานที่ประกอบเข้ากับสื่อโฆษณาเพื่อเพิ่มความเกี่ยวข้องของโฆษณาต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคอยากทราบข้อมูลมากขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ