กรุงเทพฯ--29 มิ.ย.--คาร์ลบายร์แอนด์แอสโซซิเอทส์
- อินเทล แล็ปเปิดตัวศูนยวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอินเทล (Intel Science and Technology Center- ISTC) ที่ลงทุนไปกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ศูนย์วิจัยแห่งที่ 7 นี้ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองเออร์ไวร์ สหรัฐฯ และเน้นการทำวิจัยเกี่ยวกับโซเชียล คอมพิวติ้ง (Social Computing) ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกหลายแห่ง
- ขณะนี้มีผลงานวิจัยกว่า 20 ผลงานจากทั่วโลกที่นำเสนอเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอีก 10 ปีข้างหน้า นับตั้งแต่งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับเมืองบ้านและออฟฟิศไปจนถึงวิธีการช้อปปิ้ง สื่อสารถึงกัน และการขับรถ เป็นต้น
- อินเทล แล็ป จัดแสดงนิทรรศการ Hall of Fameเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โดยนำเสนอผลงานทางเทคโนโลยีที่คิดค้นโดยอินเทล แล็ป ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา และได้ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลกในปัจจุบัน
อินเทล แล็ปเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและนักวิเคราะห์ร่วมงานฉลองครบรอบ 10 ปีของศูนย์วิจัยอินเทล (Research at Intel) โดยมี จัสติน แรทเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล คอร์ปอเรชั่น ทำพิธีเปิดนิทรรศการ ““Facets of Future Life”ที่จัดแสดงผลงานวิจัยอันล้ำสมัยซึ่งอยู่ระหว่างการค้นคว้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต
พร้อมกันนี้ แรทเนอร์ยังได้ประกาศเปิดตัวศูนยวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอินเทลIntel Science Technology Center (ISTC) แห่งที่ 7 ซึ่งมุ่งเน้นการทำวิจัยเกี่ยวกับโซเชียล คอมพิวติ้ง และนับเป็นครั้งแรกที่อินเทลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้คนอีกด้วย
ศูนย์วิจัย ISTC -Social ของอินเทลแห่งนี้ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เมืองเออร์ไวน์ โดยเป็นศูนย์วิจัยที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มพันธมิตรด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ประกอบด้วย คอร์แนล สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย มหาวิทยาลัยอินเดียน่า และมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก งบประมาณจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯที่นำมาใช้ในการก่อตั้งศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงบประมาณ 5 ปี จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้ประกาศครั้งแรกไปเมื่อเดือนมกราคม 2554 เช่นเดียวกับศูนย์วิจัย ISTC อีก 6 แห่งที่จัดตั้งไปแล้ว ซึ่งเน้นวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่, คลาวด์ คอมพิวติ้ง, เอ็มเบดเด็ด คอมพิวติ้ง, วิชวล คอมพิวติ้ง,secure computing และ pervasive computingศูนย์วิจัยเพื่อศึกษาโซเชียล คอมพิวติ้ง แห่งนี้ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างมิติใหม้ในการใช้คอมพิวเตอร์ และนำเสนอผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์จากกลุ่มนักสังคมวิทยาและนักพัฒนาเทคโนโลยี
แรทเนอร์กล่าวว่า “เพื่อให้สอคคล้องกับความเป็นผู้นำของอินเทลด้านการคิดค้นนวัตกรรม เราได้จัดตั้งชุมชนนักวิจัยของอินเทล ซึ่งประกอบด้วยบุคคลากรและนักวิจัยที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อช่วยลดช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ทางด้านเทคนิคและสังคมไว้ด้วยกันทำให้นักวิจัยสามารถพัฒนาผลงานวิจัยของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการนำแนวทางการศึกษาที่เน้นการนำประสบการณ์จริง (experience-drivenapproach) มาใช้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต จนถึงเทคโนโลยีที่กำลังมีการพัฒนาในอินเทล แล็ป ปัจจุบัน งานวิจัยของอินเทล แล็ปในอดีตได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสิ่งของที่เป็นประโยชนต่อชิวิตประจำวันของเรา และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต”
ศูนย์วิจัย ISTC Social จะเน้นการวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอล มิเดีย ที่จัดเป็นปรากฏการณ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือที่ในแวดวงการศึกษาเรียกว่า “คลื่นลูกที่ 3” แห่งโซเชียล คอมพิวติ้ง ซึ่งวิถีชีวิตบนโลกดิจิตอลและโซเชียลจะเข้ามาเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่โอกาสในการพัฒนานวัตกรรมในด้านต่างๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรผ่านการเชื่อมโยงของข้อมูล โดยนักวิจัยสามารถนำอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่โลกของเราได้ เป้าหมายของการก่อตั้งศูนย์วิจัย ISTC-Social คือความเป็นผู้นำในการศึกษาวิธีการที่มนุษย์สามารถนำเครือข่ายขนาดใหญ่การติดต่อผ่านอุปกรณ์โมบายล์ และคลาว์ดคอมพิวติ้งมาใช้ในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น
นิทรรศการ "Facets of Future Life"
การจัดแสดงผลงานวิจัยภายในงาน Research at Intelถูกแบ่งออกเป็นโซนอินเตอร์ แอคทีฟทั้งหมด 4 โซนที่นำหลากหลายสาขาวิจัยมาเชื่อมต่อกันภายใต้คอนเซ็ปท์ “ศูนย์การใช้ชีวิตแบบยั่งยืน” (Sustainable Living Center) ที่นำเสนอเมืองอัจฉริยะ รวมไปถึงบ้านและออฟฟิศแห่งอนาคต แต่ละโซนประกอบด้วย :
ชีวิตของฉัน ( My Life):จัดแสดงเทคโนโลยีที่นำการเคลื่อนไหวและประหยัดพลังงานมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตภายในบ้าน เช่นตัวเซนเซอร์ภายในบ้านเพื่อยกระดับการรักษาความปลอดภัยแทนการใช้กุญแจ ไปจนถึง “กระจกวิเศษ” (Magic Mirror) ที่กลายเป็นห้องแต่งตัวแบบเสมือนจริงด้วยการนำเทคโนโลยีมาสร้างหุ่นอวาตาร์ 3 มิติที่มีรูปร่างและเคลื่อนไหวได้เสมือนจริง รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่น มีเดียคอนเท้นท์ต่างๆได้บนพื้นที่เรียบ บนผนัง หรือเคาน์เตอร์ภายในบ้าน
รถของฉัน (My Car):นำเสนอนวัตกรรมที่เชื่อมต่อผู้คน ข้อมูลเกี่ยวกับไฮเวย์ และ ข้อมูลการเดินทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่ให้ดียิ่งขึ้น โดยหนึ่งในผลงานที่ถูกนำมาจัดแสดงคือระบบสัญญาณไฟต้นแบบที่ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และ Intel? architecture ในการจับภาพ (imaging) ฉายแสง (illuminating) และการคำนวณ (computation)ช่วยให้คนขับรถมองเห็นสัญญาณไฟแม้ในเวลาที่ฝนตกหนัก
งานของฉัน (My Job): เพิ่มประสิทธิภาพในการประชุม พร้อมกับบริการคลาว์ดเซอร์วิสที่มีคุณภาพ รวมถึงระบบการวิเคราะห์แบบเสมือนจริงที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างที่นำมาจัดแสดงเช่นเทคโนโลยีผู้ช่วยการประชุมแบบอัจฉริยะ (Smart Meeting Assistant) ที่ผสานเทคโนโลยีจากหลากหลายแขนงช่วยให้ผู้ใช้สามารถถอดเทป ทำคำบรรยาย และแปลระหว่างการประชุมกลุ่มแบบเรียล ไทม์ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดง เทคโนโลยีการมองเห็น (visualization) อีก 3 แบบ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจัดการ“ข้อมูลขนาดใหญ่” ด้วยการทำ Data Visualization และ ใช้ประโยชน์จากสูตรอัลกอรธึมมาเพื่อหารูปแบบและความสัมพันธ์(ของข้อมูลเพื่อ) ต่อยอดการเรียนรู้และสนับสนุนวิธีการตัดสินใจ
เทคโนโลยีที่จำเป็น (Tech Essentials): รากฐานของนวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์แห่งอนาคตและเว็บไซต์ โดยผู้ใช้สามารถสัมผัสได้ถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคต โซนนี้จะมีการจัดแสดงเทคโนโลยีต่างๆสำหรับการเพื่อใช้ในการทำงาน วิชวล คอมพิวติ้ง รวมถึงเทคโนโลยีเด่นอื่นๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิจัย ISTC โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะคำนึงถึงคุณสมบัติ high fidelity, ขนาด และการใช้งานแบบเรียล ไทม์ รวมถึงพัฒนาแคแรกเตอร์แบบเสมือนจริงเพื่อสะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาบราวเซอร์แบบ 3 มิติที่นำเทคโนโลยีที่ชื่อ “River Trail” มาใช้รวมกับเทคนิคที่ช่วยป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนคลาวด์ด้วยระบบจดจำใบหน้าและเซิร์ฟเวอร์อัจฉริยะที่ใช่สตรีม หรือ แชร์วิดีโอไปยังอุปกรณ์หลายๆเครื่องได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถสตรีมวิดีโอให้เข้ากับอุปกรณ์ที่รองรับได้อีกด้วย
การใช้ชีวิตแบบยั่งยื่น (Sustainable Living) :นำเทคโนโลยีและบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้งานและผู้ให้บริการ ผู้ควบคุม และอุปการณ์ต่างๆเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่ติดขัดภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย อินเทล แล็ป ได้พัฒนาเซนเซอร์, ซอฟต์แวร์ แอกกรีเกเตอร์(software aggregator) ซึ่งช่วยจัดระเบียบซอฟต์แวร์ชนิดต่างๆ, แอคซูเอเตอร์(actuators)และ อินเตอร์เฟส ที่เมื่อใช้งานร่วมกันสามารถแก้ไขปัญหาต่างได้ เทคโนโลยีที่นำมาจัดแสดง เช่น เทคโนโลยีที่ช่วยจัดการและควบคุมการใช้พลังงาภายในบ้าน เทคโนโลยีที่ช่วยสร้างออฟฟิศอัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่อินเทลพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร คุณภาพน้ำและอากาศ หรือแม้กระทั่ง electric charging station infrastructure
ฉลองครบรอบ 10 ปีแห่งการวิจัยสู่ Hall of Fame
ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยประจำอินเทล แล็ปได้พัฒนาเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานคอมพิวเตอร์มากมาย ในปีพ.ศ.2544 อินเทล ได้จัดตั้งอินเทลแล็ปขึ้น และในปีพ.ศ. 2546 ได้จัดงานงานResearch at Intelเป็นครั้งแรกเพื่อจัดแสดงผลงานทางวิจัยที่หลากหลายซึ่งอยู่ระหว่างการค้นคว้าวิจัยจากทั่วโลก ซึ่งจะครบรอบปีที่ 10 ในปีนี้ ทั้งนี้เพื่อร่วมฉลองการก่อตั้งอินเทล แล็ป จึงได้มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานเทคโนโลยี 10 ชิ้น ที่ถูกจินตนาการและพัฒนาโดยนักวิจัยของอินเทล แล็ป จนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ของอินเทล อาทิ เทคโนโลยี ThunderboltTM,โปรเซสเซอร์Intel? AtomTM, เทคโนโลยีIntel? Wireless Displayและอีกมากมายที่นำไปสู่การสรรค์สร้างและเปิดประสบการณ์ พร้อมเพิ่มสมรรถนะภาพของผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิด
อินเทลเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผลรวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand