อีไล ลิลลี่ เตือนชายไทยระวังโรคหย่อนฯ และโรคเกี่ยวเนื่อง

ข่าวทั่วไป Tuesday July 6, 2004 10:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
บริษัท อีไล ลิลลี่ เอเชีย อิงค์ (สาขาประเทศไทย) บริษัทผู้ผลิต และค้นคว้าเกี่ยวกับยาชั้นนำของโลก ส่งสัญญาณเตือนชายไทยให้ใส่ใจรักษาสุขภาพสม่ำเสมอ พร้อม ทั้งเข้ารับการตรวจรักษาให้ทันท่วงที เผยสถิติผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มักมีปัญหาสุขภาพ และโรคเกี่ยวเนื่องร้ายแรงอื่นๆ อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือการบาดเจ็บ ที่ไขสันหลัง
มร. อัง ไค เม็ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทย บริษัทอีไล ลิลลี่ เอเชียอิงค์ (สาขาประเทศไทย) เปิดเผยว่า “โรคหย่อน สมรรถภาพทางเพศ เป็นโรคที่คุกคามชายไทยอายุ 40 — 70 ปี ถึง 42% ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับ ผู้ชายอายุ 35 ปีขึ้นไปประมาณ 40% ทั่วโลกประสบ โดยโรคดังกล่าวหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ยังก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว และปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาอีกด้วย”
ดร.คริส จี แมคมาน ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพทางเพศ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เปิดเผยว่า “เดิมทีเข้าใจกันว่าโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นจากสาเหตุทางจิตใจ แต่ในปัจจุบัน พบว่าผู้ป่วยโรคหย่อนฯ มีสาเหตุมาจากความเครียดหรือจิตใจ มีเพียงร้อยละ 20 — 25 เท่านั้น โดย สาเหตุส่วนใหญ่ที่แท้จริงเกิดจากสภาวะ และความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติ ของหลอดเลือด และเส้นประสาทของอวัยวะที่มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ โดยความบกพร่อง ดังกล่าวอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำผิดปกติ รวมถึงโรคเกี่ยวเนื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง”
การรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ของอาการ และความต้องการของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดฝังแกนองคชาตเทียม การสอดยาเพื่อ ขยายหลอดเลือดเข้าทางท่อปัสสาวะ การเสริมฮอร์โมน การใช้เครื่องปั๊มสูญญากาศ หรือแม้แต่การ ฉีดยาเข้าองคชาตก่อนการมีเพศสัมพันธ์ แต่วิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การใช้ยา รับประทาน เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด
สำหรับยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบบรับประทาน ซึ่งจำเป็นต้องมีสิ่งกระตุ้นทาง เพศประกอบด้วยจึงสามารถแข็งตัวได้นั้น เป็นยาในกลุ่ม PDE5 Inhibitor ที่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน หลายยี่ห้อ มีคุณสมบัติและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้ตามความต้องการ ในการใช้ โดยบางยี่ห้อก็มีข้อจำกัดน้อย และมีความสามารถในการออกฤทธิ์ได้นานถึง 24-36 ชั่วโมง
“สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศวิธีที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการ ตรวจ และการรักษาที่ถูกต้อง เพราะผลพลอยได้ที่สำคัญในการรับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญ คือการที่ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโรคเกี่ยวเนื่องอื่นๆที่ผู้เข้ารับการรักษาอาจจะไม่ทราบมาก่อน เช่น โรคเบาหวาน หรือความดันโลหิต ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการจะหนักเกินแก้ไข” ดร.แม็คมาน กล่าวเสริม
มร. อัง ไค เม็ง กล่าวว่า “การปรึกษาปัญหา และรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศกับแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะช่วยลดปัญหาสุขภาพจากโรคที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แล้ว ยังเป็นการลดโอกาสในการได้รับยาปลอม หรือยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งมีขายทั่วไปตามท้องตลาด อีกด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงจาก อัลกอฮอล บุหรี่ และอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ รวมทั้งรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันโรคภัยอื่นๆ อีกด้วย”
อนึ่ง ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของอีไล ลิลลี่ ได้รับการรับรองจากองค์การอาหาร และยา(อย.) และเปิดตัวอย่างเป็นทางการกับสาธารณชนเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สามารถสอบถามเกี่ยวกับยา ของบริษัทอีไล ลิลลี่ ได้จากแพทย์ ที่ผู้ป่วยรับคำปรึกษา หรือ โทร. 0-2686-9123
เกี่ยวกับอีไล ลิลลี่
อีไล ลิลลี่ เป็นองค์กรเกี่ยวกับยาชั้นนำของโลกที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ผลิตภัณฑ์ยาของบริษัท ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกกลุ่มยาอย่างต่อเนื่อง โดยการประยุกต์การวิจัย ล่าสุดจากห้องปฏิบัติการของบริษัทฯ ซึ่งตั้งอยู่ทั่วทุกมุมโลกและจากความร่วมมือขององค์กรด้านวิทยา ศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเข้าด้วยกัน ปัจจุบัน อีไล ลิลลี่ มีพนักงานทั้งหมดกว่า 41,000 คน ทั่วโลก และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในกว่า 159 ประเทศ โดย อีไล ลิลลี่ มีศูนย์วิจัยและพัฒนาใน 9 ประเทศ และมีการดำเนินการทดลองด้านการแพทย์ในกว่า 30 ประเทศ
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ:
จรินธร ธนาศิลปกุล (ริน), ปัทมา เปรมปรี (หญิง)
สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
โทรศัพท์ 0-2653-2717-9, โทรสาร 0-2653-2720
Email: rin@spark.co.th, pattama@spark.co.th--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ