พม.เผยการสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อการติดตามรับชมรายการฟุตยูโร ๒๐๑๒

ข่าวทั่วไป Thursday July 5, 2012 16:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--พม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ร่วมกับศูนย์เครือข่ายวิชาการและสังเกตการณ์วิจัยความสุขชุมชน(ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อการติตามรับชมรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร ๒๐๑๒) เพื่อศึกษาสถานการณ์การติคตามการแข่งขันฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ ของเด็กและเยาวชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังปัญหาทางสังคม และสามารถนำไปใช้ในการกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อเด็กและเยาวชนในการติดตามรับชมรายการฟุตบอลต่างๆ การสำรวจครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กและเยาวชนที่มีอายุ ๑๒-๒๕ ปีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน ๑,๓๐๙ คน ซึ่งได้ดำเนิการสำรวจในช่วงระหว่างการแข่งขันฟุตบอลถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ สรุปผลการสำรวจที่ได้ ดังต่อไปนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๖๙.๓ ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ และร้อยละ ๓๐.๗ ไม่ได้ติดตาม และบุคคลที่ใกล้ชิดของตัวอย่างที่ติดตามรับชมการแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้ กว่าครึ่งหรือร้อยละ ๕๙.๖ เป็นเพื่อน/ คนรู้จัก รองลงมาร้อยละ ๔๐.๒ เป็นในครอบครัว ร้อยละ ๒๘.๐ เป็นญาติพี่น้อง และร้อยละ ๑๔.๖ เป็นคู่รัก/แฟน ตามลำดับ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๘๐.๔ เป็นห่วงหรือวิตกกังวลต่อบุคคลใกล้ชิดในการติดตามรับชมการแข่งขันฟุตบอล ในเรื่อง การนอนดึก/อดนอน รองลงมาหรือร้อยละ ๓๖.๑ เรื่องเสียงงาน/เสียการเรียน ร้อยละ ๓๒.๘ เรื่องการเล่นพนันทายผลฟุตบอล ร้อยละ ๑๗.๖ ปัญหาหนี้สินจากการพนัน ตามลำดับ นอกจากนี้เป็นเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งประเด็นที่น่าพิจารณา คือ ตัวอย่างกว่า ๑ ใน ๓ หรือร้อยละ ๓๖.๕ เคยพบเห็นหรือรับรู้ว่ามีคน ในครอบครัว หรือเพื่อน/คนรู้จักใกล้ชิดเล่นพนันทายผลฟุตบอล โดยบุคคลที่พบมากที่สุด คือ เพื่อน/คนรู้จัก คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๑ รองลงมาเป็นญาติพี่น้อง คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๗ คนในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๖ และคู่รัก/แฟน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๕ ตามลำดับ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๘๔.๖ ไม่เคยเล่นพนันทายผลฟุตบอล แต่มีจำนวนร้อยละ ๙.๖ ระบุว่าเคยเล่น แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว และร้อยละ ๕.๘ ระบุว่าเคยเล่นและปัจจุบนยังเล่นอยู่ ซึ่งผู้ที่เคยเล่นให้เหตุผล กล่าวคือ อันดับที่หนึ่งหรือ ร้อยละ ๕๙.๙ ระบุทำให้การเชียร์ฟุตบอลสนุกตื่นเต้น อันดับที่สองหรือร้อยละ ๓๐.๗ เล่นตามเพื่อน อันดับที่สามหรือร้อยละ ๒๓.๘ อยากลอง อันดับที่สี่หรือร้อยละ ๑๗.๓ ระบุบมั่นใจว่ามีโอกาส “ได้เงิน” มากกว่า “เสียเงิน” และอันดับที่ห้าหรือร้อยละ ๑๔.๙ ระบุชอบการเล่นพนัน และเหตุผลอื่นๆ คือ เพื่อหาเงินล้างหนี้ มีแหล่งพนัน/โบอลในชุมชนที่พักอาศัย มีคนในครอบครัวหรือคนรู้จักใกล้ชิด รับแทงพนันบอล และเล่นตามคนในครอบครัว ตามลำดับ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๖๑.๐ ระบุได้เงิน จากการเล่นพนันทายผลฟุตบอลครั้งล่าสุด โดยเฉลี่ย ๓,๒๐๘.๒๖ บาท ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ ๓๙.๐ ระบุเสียเงินจากการเล่นพนันทายผลฟุตบอล โดยเฉลี่ย ๓,๑๙๑.๑๑ บาท และมีตัวอย่างร้อยละ ๗.๔ เป็นหนี้สินจากการเล่นพนันทายผลฟุตบอล สำหรับบุคคลที่เคยเล่นทายพนันบอล พบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหรือร้อยละ ๕๖.๒ เล่นกับเพื่อน รองลงมาหรือร้อยละ๓๖.๓ เล่นกับโต๊ะบอล ร้อยละ ๑๒.๙ เล่นกับญาติ/พี่น้อง และร้อยละ ๘.๕ เล่นผ่านทางอินเตอร์เน็ตมีกลุ่มตัวอย่างกว่า ๑ ใน ๔ หรือร้อยละ ๒๕.๔ เคยชักชวนญาติพี่น้อง/เพื่อน/คนรู้จัก ให้เล่นทายพนันบอล จากผลการการสำรวจความคิดเห็น พบว่า ที่น่าเป็นห่วง คือ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ระบุว่าจะไม่เล่นพนันบอล (ร้อยละ ๘๗.๒) แต่มีจำนวนตัวอย่างถึงร้อยละ ๔.๕ ที่ตั้งใจจะเล่นพนันบอล และร้อยละ ๘.๓ ยังไม่แน่ใจ โดยผู้ที่ตั้งใจจะเล่นพนันบอลมีช่องทางต่างๆ กล่าวคือ ตัวอย่างเกือบครึ่งหรือร้อยละ ๔๗.๕ ตั้งใจจะแทงที่โต๊ะบอล ร้อยละ ๓๓.๙ ตั้งใจจะเล่นกับพื่อนร่วมสถาบัน/เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ ๑๓.๖ ตั้งใจจะเล่นกับญาติ/พี่น้อง นอกจากนี้ ตั้งใจจะเล่นกับคนรู้จักในละแวกบ้าน/ชุมชน เล่นผ่าน / /ทางอินเตอร์เน็ต..... ทางอินเตอร์เน็ต/ออนไลน์ เล่นกับโต๊ะบอลผ่านทางโทรศัพท์ เล่นกับโต๊ะบอลผ่านเด็กเดินโพย และตั้งใจเล่นกับผู้ที่มาชมการถ่ายทอดฟุตบอลตามสถานบันเทิงที่มีการถ่ายทอดสด ทั้งนี้ มีถึงร้อยละ ๖.๘ ที่ตั้งใจจะรับเป็นเจ้ามือ/รับแทงเอง สำหรับวงเงินที่ตั้งใจเตรียมไว้เล่นทายพนันฟุตบอล เฉลี่ยประมาณ ๕,๐๘๖ บาท ส่วนแหล่งที่มาของเงิน พบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหรือร้อยละ ๖๕.๕ ได้จากการทำงานหาเงินเอง ร้อยละ ๒๒.๔ จากเงินออม และร้อยละ ๑๒.๑ จากพ่อ-แม่/ผู้ปกครอง/คนในครอบครัว และสำหรับการเล่นทายพนันฟุตบอลในกรณีเงินที่เตรียมไว้เล่นหมด แต่ยังมีการแข่งขันอยู่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจว่าจะเล่นพนันบอลจำนวนร้อยละ ๑๓.๖ จะกู้ยืมเงินมาเล่นเพิ่ม และร้อยละ ๒๐.๓ จะหาเงินจากแหล่งอื่นมาเพิ่ม อาทิ จากเงินออม หางานทำเสริม ทำงานผิดกฏหมาย และตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๖๖.๑ ระบุจะเลิกเล่น ตามลำดับ ประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจว่าจะเล่นพนันบอลเป็นเพศหญิงถึงร้อยละ ๖.๘ และกลุ่มตัวอย่างตั้งใจว่าจะเล่นพนันบอลทั้งเพศหญิง และเพศชาย เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ ๕๕.๒ ระบุเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า “การเล่นทายพนันบอลเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในสังคมไทย” สำหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นทายผลพนันฟุตบอล พบว่า กลุ่มตัวอย่าง (ที่ตั้งใจจะเล่นและยังไม่แน่ใจว่าจะเล่น) จำนวนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ ๕๐.๐ ระบุให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติอย่างเคร่งครัด/ตำรวจตรวจตรามากขึ้น ร้อยละ ๓๕.๗ ระบุให้ออกกฏหมายเข้มกว่าเดิม/เพิ่มบทลงโทษหนีกกว่าเดิม/ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ร้อยละ ๑๔.๓ ระบุให้มีการรณรงค์ช่วยต่อต้านการพนันบอล และร้อยละ ๗.๑ ให้ช่วยสอดส่องดูแลคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมากชึ้น ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการกำหนดมาตรการในการร่วมกันป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเล่นทายผลพนันฟุตบอลในกลุ่มเด็กและเยาวชนต่อไป.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ