นายกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงผลการเจรจาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทย-เวียดนาม

ข่าวเทคโนโลยี Monday July 19, 2004 10:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.ค.--กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแถลงผลการเจรจาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทย-เวียดนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนดงลยีแห่งประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และคณะ ได้เดินทางมาเยือนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทยเพื่อประชุมหารือความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทย-เวียดนาม
คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและเวียดนามได้ร่วมปรึกษาหารือถึงแนวทางการดำเนินโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดต่อไปในอนาคต ซึ่งประเด็นในการหารือ ได้แก่ การริเริ่มโครงการความร่วมมือสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ และการสำรวจระยะไกล ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมายาวนาน ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ ได้แก่ ความ
ใกลัชิดทางภูมิศาสตร์ สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ตลอดจนนโยบายที่ต่อเนื่องของไทยที่เน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว
มีการดำเนินความร่วมมือด้านวิชาการด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างดี
การประชุมครั้งนี้ จะเป็นโอกาสอันดีสำหรับเราทั้งสองประเทศ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์และข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อจะนำไปสู่การสร้างสรรค์โครงการความร่วมมือให้ขยายเครือข่ายต่อไปมากยิ่งขึ้นด้านแรก ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ดร.มรกต ตันติเจริญ ได้กล่าวถึงรายละเอียดดังนี้
1. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม(CLMV) โดยมี
โครงการจัดการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับนักวิจัยของทั้ง 4 ประเทศดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2001 สำหรับปี 2004 มีการฝึกอบรมให้แก่ประเทศ เวียดนาม อันได้แก่
1. Mr. Le Tan Hung Institute of Tropical Biology, Vietnam course 1
2. Mr. Vu Dang Khanh Institute of Tropical Biology, Vietnam course 2
3. Mr. Phan Huyen Xuan Dalat Institute of Biology, Vietnam course 3
4. Ms. Vu Hong Minh Vietnam Marine Science and Technology Association,Vietnam course 4
5. Mr. Nguyen Van Hien National Fisheries Quality Assurance and Veterinary course 5
Dieetorate Branch V, Vietnam
Course 1 : Lactic Acid Bacteria : Development of Strain / Innoculum
and Cultivtion (at CRS)
Course 2 : Collection, Indentitfication and Preservation of Fungi
Course 3 : Disesearch-free Plant Production through Biotechnology
Course 4 : Research-based Training on Starter Culture Development
Course 5 : Pathogenic Risk Assessment of Cultured Fermented Food
Course 6 : Fungal Enzyme Screening
2. ในปี 2003 Ms. Thuy Thanh Tran, นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศเวียดนาม ได้รับการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในการสะสมสายพันธุ์จุลินทรีย์ ,การเก็บตัวอย่างยีสต์และรา ฝึกทักษะและศักยภาพเทคนิคทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยีชีวภาพ
การฝึกอบรมขั้นพื้นฐานและเทคนิคขั้นสูงทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การเยี่ยมชมโรงงาน การดูงานภายนอกสถานที่ โดยมีการฝึกอบรมและให้คำแนะนำแบบตัวต่อตัว
3. การประชุมคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้ความร่วมมือของประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เป็นองค์กรหลักของประเทศไทย ที่นำเสนอต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต
โดยจะมีการทำวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่จะเกิดประโยชน์ต่อแหล่งข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ประเทศไทยยินดีที่จะสนับสนุนและให้ความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีกับประเทศเวียดนามต่อไป
ด้านที่สอง ความร่วมมือด้านมาตรวิทยา มีดังนี้
กิจกรรมที่ 1 เป็นการฝึกอบรมของทั้งสองฝ่าย
กิจกรรมที่ 2 เป็นการวัดเปรียบเทียบด้านมาตรวิทยาของทั้งสองฝ่าย
กิจกรรมที่ 3 เป็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการ และประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมการวิจัยร่วมกันทางมาตรวิทยา
ทั้ง 4 กิจกรรมได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว
ด้านที่สาม ความร่วมมือด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ได้กล่าวถึงกิจกรรมความร่วมมือด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ประเทศไทยมีแผนงานที่จะดำเนินโครงการร่วมกับประเทศเวียดนาม 2 โครงการ ดังนี้
1. โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด (opensource software)
2. โครงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด
ในฐานะที่ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นองค์กรนำในการพัฒนาซอฟต์แวร์รหัสเปิด (opensource software) ของประเทศไทย เนคเทค มีความยินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยและเวียดนามจะมีความร่วมมือกันในด้านนี้ แม้ว่าประเทศเวียดนามจะเพิ่งใช้ซอฟต์แวร์ประเภท opensource software หลังจากประเทศไทย แต่เป็นที่น่ายินดีที่รัฐบาลได้สนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์opensource software อย่างชัดเจนมากขึ้นในประเทศเวียตนาม ประเทศไทยและประเทศเวียดนามต่างก็มีกิจกรรมสนับสนุนซอฟต์แวร์ opensource ในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นมีส่วนร่วมอยู่ด้วย เรามุ่งเป้าการใช้ซอฟต์แวร์ให้ถูกกฎหมาย โดยเน้นการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ Linux กับ Open Office
ทั้งนี้เนคเทค ได้เคยจัดอบรม opensource software ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประเทศเวียดนามได้หารือกันในสิ่งที่เป็นยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ โดยมีผลสรุปเบื้องต้นดังนี้
1. โครงการฝึกอบรมผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญด้าน opensource software กิจกรรมโครงการนี้ประเทศไทยจะจัดวิทยากรไปสอน จัดหลักสูตรการสอน จัดทำเนื้อหาการสอน และออกใบวุฒิบัตรให้กับประเทศเวียดนาม
2. การจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างมาตรฐานการใช้เอกสารของแต่ละประเทศ ในกิจกรรมนี้จะมีการวิจัยร่วมกันเพื่อสนับสนุนให้ภาษาเวียดนามเป็นภาษาสากลภาษาหนึ่ง ที่ใช้งานได้กับระบบ Linux
3. การจัดประชุมร่วมกันทางด้าน opensource software ภายใต้กิจกรรมนี้ จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในเรื่อง opensource software เพื่อทำให้เกิดเครือข่ายของผู้ชำนาญการ
นอกจากนี้ประเทศไทยโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยินดีที่จะสนับสนุนโครงการคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดของประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเครือข่ายข้อมูลของประเทศเวียดนามได้ เนื่องจากจะทำให้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในประเทศเวียดนามราคาลดลงอย่างมาก
ด้านที่สี่ ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ กล่าวถึงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ 2 ส่วนดังนี้
โครงการความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กของประเทศเวียดนาม
1. โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) ที่ได้พูดคุยกันตั้งแต่ปี 2545 เป็นโครงการความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีโครงการ ITAP เป็นความร่วมมือในการให้คำแนะนำทางด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประเทศไทยจะใช้แนวคิดนี้
ในการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศเวียดนามได้ ประเด็นที่สำคัญก็คือจะต้องขอข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของอุตสาหกรรม SME จากประเทศเวียตนามว่ามีความต้องการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม SME ประเภทใด เพื่อที่จะได้จัดเตรียมโปรแกรมและผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
2. ความร่วมมือด้านการจัดสัมมนาของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ ประเทศไทย-ประเทศเวียดนามได้ร่วมเป็นคณะทำงานในเครือข่ายของเอเปค ในการประเมินเทคโนโลยีทางด้านวัสดุ เพื่อจะร่วมกันพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุของไทยและเวียดนาม เมื่อประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงต้นมกราคมทางเวียตนามได้ส่งผู้แทน 3 ท่าน มาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทดลองที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) หลังจากนั้น ได้มีการร่างความร่วมมือที่จะมีการลงนามร่วมกัน ซึ่งข้อตกลงทั้ง 2 ด้านคือ อันได้แก่ ความร่วมมือที่เป็นทางการ จะต้องส่งให้กับกระทรวงการต่างประเทศของไทยพิจารณา ส่วนข้อตกลงย่อย คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในไม่ช้าในระยะเวลาอีก 2 เดือนข้างหน้านี้หลังจากนั้นจะได้ดำเนินการต่อไป
ด้านที่ 5
ความร่วมมือในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมและภูมิสารสนเทศดำเนินการโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ของประเทศไทย ขณะนี้มีการดำเนินการใน 2 เรื่องคือ
1. การให้บริการข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
2. การฝึกอบรม
ศูนย์เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ความร่วมมือมีดังนี้
1. สืบเนื่องจากประเทศไทยมีดาวเทียมในการสำรวจทรัพยากรหลายดวง วัตถุประสงค์คือการส่งข่าว สารข้อมูลถึงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภูมิภาคแถบนี้
2. การใช้ข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร เป็นความร่วมมือโครงการนำร่องของทั้งสองประเทศ อาทิ
โครงการบริหารจัดการและการติดตามอุทกภัยโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ภายหลังการจัดทำโครงการ นำร่องแล้วจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลข่าวสาร ในระหว่างการดำเนินโครงการจะมีการทัศนศึกษาทางวิชาการของนักวิจัยทั้งสองฝ่ายด้วย ในโอกาสอันใกล้จะมีการปรึกษาหารือของทั้งสองฝ่ายเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจและลงนามต่อไป--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ