กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--สปินเลอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
การตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงของโรชช่วยพลิกโฉมหน้ามาตรฐานการตรวจคัดกรองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อลดอัตราโรคมะเร็งปากมดลูกซึ่งยังคงสูงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพศหญิงจากทั่วโลก ร่วมประชุมในงาน Asia Oceania Research Organization on Genital Infections and Neoplasia (AOGIN) ที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ในฮ่องกง และมีความเห็นร่วมกันให้ทบทวนนโยบายการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในทวีปเอเชีย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยในแต่ละปี สตรีทั่วโลกเกือบ 500,000 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก1 และครึ่งหนึ่งของสตรีเหล่านี้ต้องเสียชีวิตลง โดยส่วนใหญ่เป็นสตรีที่อยู่ในทวีปเอเชีย1และสำหรับในประเทศไทย ข้อมูลสำรวจประชากรไทยปี พ.ศ. 2553 พบว่าสตรีไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกและเสียชีวิตเฉลี่ย 14 รายต่อวัน2และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ที่พบอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกสูงสุด3
สาเหตุหลักของโรคมะเร็งปากมดลูกคือเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุเกือบทั้งหมดของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 994,5,6เชื้อ HPV นั้นมี 14 สายพันธุ์ที่เป็นชนิดมีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งในจำนวนนั้น คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด และก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกถึงร้อยละ 70 ในกลุ่มสตรีทั่วโลก7
ในปัจจุบัน วิธีการตรวจคัดกรองจะเป็นการใช้การตรวจแบบแพปเสมียร์ (Pap smear) ซึ่งมีการใช้มายาวนานกว่า 60 ปี การตรวจแบบแพปเสมียร์นี้เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ในปากมดลูก มากกว่าการตรวจหาเชื้อ HPV และต้องการเจ้าหน้าที่ห้องแลปที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการแปลผลให้ถูกต้องเพื่อบ่งชี้ว่าสตรีท่านนั้นเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ การตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงคือเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการตรวจวินิจฉัยที่จะช่วยตรวจหาว่ามีเชื้อ HPV ในร่างกายหรือไม่ และไม่ต้องใช้ความคิดเห็นส่วนบุคคลในการแปลผลหรือวิเคราะห์ผล
นโยบายของ American Society for Colposcopy and Cervical Pathology (ASCCP) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ขณะนี้ได้แนะนำให้ทำการตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงควบคู่ไปกับการตรวจแพปเสมียร์ ผู้เชี่ยวชาญในระดับภูมิภาคจึงได้เรียกร้องให้มีการทบทวนนโยบายการตรวจคัดกรองในประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปตามหลักการที่ทันสมัย เพื่อไม่ให้สตรีในภูมิภาคนี้ต้องเสียชีวิตโดยไม่จำเป็นจากโรคที่สามารถป้องกันได้เช่นนี้
ศาสตราจารย์ แอนนี เชิง ประธานร่วมของงาน AOGIN 2012 และพยาธิแพทย์ ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยาปากมดลูก มหาวิทยาลัยฮ่องกง เชื่อว่าหากเรามีทรัพยากรต่างๆ อย่างเพียงพอ ซึ่งรวมถึงทีมผู้ปฏิบัติการในห้องแลปที่มีความเชี่ยวชาญ และระบบพื้นฐานที่ดีด้านสาธารณสุขที่ทำให้เกิดการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ การตรวจแพปเสมียร์ก็จะสามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ แต่อย่างไรก็ตาม หลายประเทศในเอเชียแปซิฟิกยังขาดทรัพยากรอันเป็นปัจจัยสำคัญต่างๆ เหล่านี้
“ด้วยเทคโนโลยีอันก้าวล้ำในการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีพร้อมให้บริการแล้วและสามารถบ่งชี้ถึงสตรีที่มีความเสี่ยงสูงก่อนจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เราจึงมีโอกาสและถือเป็นความรับผิดชอบของเราด้วยเช่นกันในการร่างนโยบายระดับภูมิภาคที่มีผลให้สตรีได้ตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เพื่อเพิ่มความไวในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงยังเป็นทางเลือกในการตรวจที่เหมาะสำหรับประเทศต่างๆ ที่ขาดทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานในการจัดทำให้การตรวจแพปเสมียร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” ศาสตราจารย์เชิงกล่าวเสริม
โรคมะเร็งปากมดลูกยังคงเป็นมะเร็งในสตรีที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ในหลายประเทศในภูมิภาค และเป็นอันดับที่ 3 สำหรับสตรีทั่วโลก1มีการคาดการณ์ว่าอัตราโรคมะเร็งปากมดลูกในทวีปเอเชียจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ภายในปีพ.ศ. 25681หากไม่มีการตรวจคัดกรองและการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ การตรวจเชื้อ HPV ของโรชถือเป็นการตรวจเชื้อสายพันธุ์เสี่ยงสูงเพียงรายเดียวที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและสามารถตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 และอีก 12 สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงได้ในการตรวจเพียงครั้งเดียว
การศึกษาที่มีชื่อว่า ATHENA เป็นการศึกษาวิจัยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาและใช้กลุ่มประชากรขนาดใหญ่ด้วยสตรีจำนวน 47,000 คน พบว่าสตรีที่มีเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 มีความเสี่ยงสูงกว่าสตรีทั่วไปถึง 35 เท่าในการพัฒนารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก8,9
การตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 แบ่งสตรีออกตามความเสี่ยงของการพัฒนารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นแพทย์จึงสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น สตรีที่ไม่มีเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงถือว่าเป็นกลุ่มที่ปลอดภัยและไม่จำเป็นต้องรับการตรวจอีกในรอบ 3-5 ปี
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ หัวหน้าสาขาวิชามะเร็งนรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อว่าการตรวจเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงมีความสำคัญมากในการลดอัตราโรคมะเร็งปากมดลูกในภูมิภาค
“การตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ 16 และ 18 ถือเป็นยุคสมัยใหม่ของการตรวจหาและป้องกันมะเร็งปากมดลูก นโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใหม่จากสมาคม ASCCP ที่ถูกเผยแพร่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แนะนำให้สตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปเพิ่มการตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง แทนการตรวจแพปเสมียร์เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มุ่งหวังที่จะป้องกันไม่ให้สตรีเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น และขยายช่วงห่างของการตรวจครั้งต่อไปให้นานขึ้นซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมทางสาธารณสุขได้” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิชัยกล่าว
การศึกษา ATHENA ยังพบว่า 1 ใน 10 ของสตรีที่ตรวจพบเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ด้วยการตรวจของโรชพัฒนาเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก แม้ว่าผลการตรวจของแพปเสมียร์เป็นปกติ10
ทามิกา เฟลเดอร์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในนาม “ทามิกาและเพื่อน” ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกในวัย 25 ปี และได้รับการรักษาโดยการตัดมดลูก การฉายรังสี และการทำคีโม ซึ่งช่วยรักษาชีวิตของเธอไว้ได้ แต่ทำให้เธอไม่สามารถมีบุตรได้อีกต่อไป
“ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย ดิฉันไม่มีสัญญานหรืออาการใดๆ จึงรู้สึกตกใจและกลัวมากที่ได้ทราบว่าดิฉันเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ดิฉันทราบดีว่าตนเองโชคดีเพียงใดที่สามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้ แต่ดิฉันก็อยากจะเห็นวันนึงที่ไม่มีผู้หญิงคนใดต้องพบเจอประสบการณ์เดียวกับดิฉัน มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ ผู้หญิงทุกคนควรรู้ว่าเชื้อ HPV มีความเกี่ยวโยงกับโรคมะเร็งปากมดลูก และควรดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการตรวจคัดกรอง” เฟลเดอร์กล่าว
แต่น่าเสียดายที่ทามิกาไม่ใช่เพียงคนเดียวที่ประสบกับโรคร้ายเช่นนี้ สตรีร้อยละ 75 ได้รับเชื้อ HPV ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อนี้จะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด ทำให้การตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ 16 และ 18 มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากตรวจพบได้เร็วและได้รับการรักษาในช่วงรอยโรคก่อนมะเร็ง ก็จะมีโอกาสหายได้สูงถึงร้อยละ 98 แต่หากปล่อยให้เชื้อพัฒนากลายเป็นมะเร็ง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่น จะมีเพียงสตรีจำนวน 1 ใน 5 คนเท่านั้นที่มีชีวิตรอดมาหลังจาก 5 ปี11
การเปิดตัว ‘ก้าวใหม่’ ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกเพื่อพลิกโฉมหน้าแนวทางการป้องกันและดูแลรักษามะเร็งโรคปากมดลูกในปี พ.ศ.2556 ถือเป็นการตอกย้ำถึงความจำเป็นของการร่างนโยบายใหม่ด้านการตรวจคัดกรอง ตามนโยบายของ ASCCP สตรีที่ไม่พบความผิดปกติจากการตรวจแพปเสมียร์และตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 16 หรือ 18 แพทย์จะให้อยู่ในระยะเฝ้าระวังอาการและกลับมาตรวจอีกครั้งในช่วง 1 ปี การตรวจใหม่ล่าสุดของโรช ไดแอกโนสติกส์ จะเข้ามาเสริมให้การตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยใช้ตัวชี้วัดทางชีววิทยา P16 และ Ki67 เพื่อบ่งชี้ว่าสตรีเหล่านี้ที่ติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 หรือ 18 ควรได้รับการส่องกล้องทางนรีเวชทันทีหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อลดความกังวลในการเฝ้าระวังอาการและช่วยให้มั่นใจได้ว่าแพทย์จะตรวจพบรอยโรคก่อนที่จะพัฒนาเป็นมะเร็ง
ดร. คริสตอฟ มาจิวสกี ตำแหน่ง Lifecycle Leader HPV and Microbiology ของโรช ไดแอกโนสติกส์ เชื่อมั่นว่าโซลูชั่นการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างครบวงจรจะเป็นก้าวสำคัญไปสู่การขจัดโรคร้ายนี้ให้หมดสิ้นไป
“โรช ไดแอกโนสติกส์ กำลังสร้างนิยามใหม่ของมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก นอกจากการตรวจเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงซึ่งสามารถตรวจเชื้อสายพันธุ์ 16 และ 18 และสายพันธุ์เสี่ยงสูงอีก 12 สายพันธุ์ได้แล้ว โรชยังได้ควบรวมกิจการและนำเสนอการตรวจมะเร็งปากมดลูกซึ่งใช้ตัวชี้วัด P16 ตัวใหม่อีกด้วย” ดร. มาจิวสกีกล่าว
“การตรวจ P16 ใหม่นี้ สามารถขจัดความกังวลใจในระยะเฝ้าระวังอาการและช่วยเพิ่มโอกาสการรักษารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกให้หายขาดได้ การเปิดตัวการตรวจใหม่นี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขในระดับภูมิภาคต้องกำหนดมาตรฐานที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก” ดร. มาจิวสกีกล่าวสรุป
เกี่ยวกับ Roche
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โรช (Roche) เป็นผู้นำทางการวิจัยที่มุ่งเน้นในการดูแลรักษาสุขภาพโดยมีการผสมผสานจุดแข็งทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ยา และด้านการวินิจฉัยเข้าด้วยกัน โรช (Roche) เป็น บริษัท Biotech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมาพร้อมกับยาที่มีความหลากหลายในเรื่องของการรักษาเนื้องอก, โรคที่เกี่ยวกับไวรัส, การอักเสบ,การเผาผลาญอาหารและ CNSอีกทั้ง Roche ยังเป็นผู้นำของโลกในการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยโรคมะเร็งจากเนื้อเยื่อ และเป็นผู้บุกเบิกในการจัดการโรคเบาหวาน กลยุทธ์การดูแลสุขภาพส่วนบุคคลของ Roche มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายยาและเครื่องมือวินิจฉัยให้เข้าถึงทุกความต้องการเพื่อปรับปรุงสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความอยู่รอดของผู้ป่วย ใน พ.ศ. 2553Roche มีพนักงานทั่วโลกกว่า 80,000 คนและจัดสรรงบประมาณลงทุนมากกว่า 8,000ล้านฟรังก์สวิสส์เพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะ โดยมียอดรายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทเป็นจำนวนเงินกว่า 42,500 ล้านฟรังก์สวิสส์ สำหรับบริษัท Genentech ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นบริษัทในกลุ่ม Roche ที่ทาง Roche ถือหุ้นทั้งหมด อีกทั้งบริษัทยังถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Chugai Pharmaceutical ประเทศญี่ปุ่น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม:www.roche.co.th
เครื่องหมายการค้าทั้งหมดที่ใช้หรือกล่าวถึงในเอกสารข่าวชุดนี้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
1. Ferlay J et al. GLOBOCAN 2008 Cancer Incidence and Mortality Worldwide. IARC CancerBase No10; Lyon, France 2010
2. IARC, Globocan 2008.
3. WHO/ICO Information Centre on HPV and Cervical Cancer, Thailand Human Papillomavirus and Related Cancer Factsheet 2010 (Sep 15, 2010)
4. Burd, Eileen M. Human Papillomavirus and Cervical Cancer. Clinical Microbiology Reviews. 2003; 16:1-17
5. Walboomers, Jan M.M., Marcel V. Jacobs, M. Michele Manos, et al. Human Papillomavirus is a Necessary Cause of Invasive Cervical Cancer Worldwide. Journal of Pathology. 1999; 189:12-19
6. zurHausen, H. Papillomavirus and Cancer: From Basic Studies to Clinical Applications. Nat Rev Cancer. 2002; 2(5): 342-50
7. Bosch FX, et al. J Natl Cancer InstMonogr2003; 31:3-13.
8. Stoler M, et al. cobas 4800 HPV Test Performance for ?CIN2 and ?CIN3 detection in women with ASC-US: ATHENA results. 26th International Papillomavirus Conference. Montr?al, Canada, July 3—8, 2010; P-417.
9. Wright T, et al. 26th IPV Conference. Montr?al, Canada, July 3—8, 2010. Abstract O-506.
10. Stoler, M, et al. (2011) ‘High-Risk Human Papillomavirus Testing in Women With ASC-US Cytology. Results From the ATHENA HPV Study’ Am J ClinPathol no.135 pp468-475
11. Cancer Research UK. Cervical cancer statistics and outlook, available at http://www.cancerhelp.org.uk/type/cervical-cancer/treatment/cervical-cancer-statistics-and-outlook, last accessed 15 June 2011
ติดต่อ:
วรลักษณ์ องค์รัตนะคณา
บริษัท สปินเลอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
โทร. 02 — 241-0088
e-mail: spintrue@truemail.co.th