ลาวใช้สิ่งแวดล้อมเดิมพัน เดินหน้าสร้างเขื่อนไซยะบุรี

ข่าวทั่วไป Thursday July 26, 2012 10:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--WWF WWF เตือนถึงการเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีทางตอนเหนือของลาว ว่าเป็นการท้าทายมติที่ประชุมของประเทศลุ่มน้ำโขงเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่จะชะลอการสร้างเขื่อนเพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คณะผู้แทนนานาชาติ ผู้บริจาคและองค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้ง WWF ร่วมประชุมกับรัฐบาลลาวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อรับฟังการนำเสนอโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรี และเพื่อตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างเขื่อน ซึ่งที่ประชุมแสดงความวิตกและไม่เห็นด้วยในการถางพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง ดร. เจี้ยน หวา เมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านเขื่อนพลังน้ำเพื่อความยั่งยืนของ WWF กล่าวว่า การลงตรวจพื้นที่ก่อสร้างของรัฐบาลลาวเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งได้เห็นพร้อมกันแล้วว่า การก่อสร้างเขื่อนกำลังดำเนินต่อไป ตามรายงานของนายวีราโพน วีราวง รองรัฐมนตรีพลังงานและเหมืองของลาว ระบุไว้ว่า จะมีการสร้างเขื่อนขนาดเล็กกั้นลำน้ำไว้ชั่วคราว เพื่อใช้เปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำจากพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะสร้างขึ้นภายในปลายปีนี้ และเขื่อนขนาดเล็กที่กล่าวถึงนี้จะเป็นการแทรกแซงเส้นทางที่น้ำไหลผ่านโดยตรงเป็นครั้งแรก และยังเป็นการสร้างหลักไมล์ของการก่อสร้างเขื่อนที่กำลังดำเนินอยู่ด้วย “ขณะนี้จึงเป็นเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของรัฐบาลทุกประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่จะต้องแสดงจุดยืนในการไม่เอาเขื่อนไซยะบุรี” ตามคำกล่าวอ้างของนายวีราวง และ บริษัท ช.การช่าง โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีมีมูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐนี้กำลังเดินหน้าต่อไปตามแผนที่วางไว้ และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ จะดำเนินไปพร้อมกับการก่อสร้าง การออกเยี่ยมสถานที่ก่อสร้าง ข้อมูลข่าวสารที่สับสนเกี่ยวกับสถานะการสร้างเขื่อน รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศของลาวเพิ่งประกาศชะลอการก่อสร้างระหว่างเป็นเจ้าภาพต้อนรับนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ แต่นายอัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการบริษัท ช.การช่าง อ้างว่า การก่อสร้างมีการชะลอจริงแต่โครงการก่อสร้างต้องแล้วเสร็จตามกำหนดในปี 2563 ดร.เมิง กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลลาวกำลังคาดหวังให้ประเทศเพื่อนบ้านให้การสนับสนุนคำมั่นสัญญาปากเปล่า เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อน ก่อนที่ประเทศอื่นๆ จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริง ผู้แทนนานาชาติที่เข้าเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างยังได้รับฟังการบรรยายสรุปของP?yryซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านน้ำของฟินแลนด์ที่ให้การปรึกษาด้านวิศวกรรมการก่อสร้างเขื่อนP?yry รายงานว่า การศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบการก่อสร้างเขื่อนอยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งจะทำถึงสิ้นปี 2555 และสรุปว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีจะไม่มีผลกระทบด้านลบใดๆ ที่ยอมรับกันไม่ได้ Poyryได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่ให้รัฐบาลลาวเดินหน้าสร้างเขื่อนต่อทั้งที่ขัดต่อข้อมูลสำคัญทางชีววิทยา นิเวศวิทยา และการฟื้นฟูความเป็นอยู่ เช่นเดียวกับการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่อความวิตกที่มีต่อเส้นทางการอพยพของปลาในลุ่มน้ำโขง ซึ่งพบว่า มีมากกว่า 700 สายพันธุ์ รวมทั้งสัญลักษณ์ของแม่น้ำโขง คือ ปลาบึก ดร.เมิง เพิ่มเติมว่า การทำให้อนาคตของแม่น้ำโขงหยุดชะงักด้วยการวิเคราะห์ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องและข้อมูลที่เต็มไปด้วยช่องโหว่น่าจะส่งผลที่เลวร้ายต่อความเป็นอยู่ของประชาชนหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำโขง การที่ต้องขึ้นอยู่กับผลการวิจัยที่ไม่มีความน่าเชื่อถือของ P?yry เป็นการแสดงออกถึงการไร้ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บรรดาผู้นำนานาชาติที่ลงพื้นที่ยังมีโอกาสรับฟังการนำเสนอจาก CompagnieNationale du Rh?ne (CNR) บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ที่รัฐบาลลาวจ้างทำการวิจัย CNR ตีพิมพ์รายงานอธิบายถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ตะกอนเคลื่อนผ่านเขื่อน อย่างไรก็ตาม รายงานทำขึ้นบนพื้นฐานของทฤษฎีที่ไม่เคยปรากฎว่าเป็นผลสำเร็จเลยสักครั้งในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ บริษัท CNR เองยังได้สรุปว่า ข้อมูลสนับสนุนทฤษฎีที่ว่านี้ ยังต้องรวบรวมต่อไปเพื่อหาความเป็นไปได้ ดร.เมิง กล่าวว่า ทรายจำนวนมหาศาลมีความจำเป็นในการรักษาความสมดุลให้กับระบบนิเวศและความสมบูรณ์ของสามเหลี่ยมลุ่มน้ำโขงเกิดจาการไหลผ่านของแม่น้ำโขง ผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากต่อโครงการสร้างเขื่อน ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เป็นหนึ่งในแม่น้ำธรรมชาติสายหลักที่ยังหลงเหลืออยู่ของโลก ให้การเลี้ยงดูประชากรโลกเกือบ 60 ล้านคนจากอาชีพการประมง แต่การอพยพของปลาในสายน้ำที่เคยกระโดดขึ้นลงตามแนวคลื่นในแม่น้ำโขง ต้องว่ายผ่านเขื่อนด้วยการกระโดดข้ามบันไดปลาโจนแทน ดร.เอริก บาราน แห่งศูนย์อนุรักษ์ปลาโลกในกรุงพนมเปญ กล่าวว่า ไม่มีที่ใดในโลกเขตร้อน ที่จะทำทางผ่านให้ปลาข้ามได้ ในความสูงขนาดเท่าเขื่อนไซยะบุรี มันเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลที่คิดกันเอาเองว่า การสร้างบันไดปลาโจนเป็นทางผ่านให้ปลาที่เสนอกันนั้นมีประสิทธิภาพ ความคิดนี้ไม่อยู่บนพื้นฐานความจริงที่ได้จากการศึกษาสายพันธุ์ของปลาท้องถิ่นเลยสักนิดเดียว ในฐานะที่โครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีเป็นโครงการแรกที่เข้าสูกระบวนการให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ MRC เขื่อนไซยะบุรีจึงจะเป็นบททดสอบประสิทธิภาพของ MRC และมติเอกฉันท์ของบรรดารัฐมนตรีจะเป็นตัวกำหนดแนวทางที่สำคัญของโครงการก่อสร้างเขื่อนอีก 10 โครงการบนลุ่มน้ำโขงตอนล่าง “ประเทศในลุ่มน้ำโขงทั้ง 4 ประเทศควรจะร่วมตัดสินใจว่า จะเดินหน้าต่อ หรือ หยุดเขื่อน โดยควรตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาตร์ที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่การคาดคะเนที่หวังแต่ผลเลิศ” ดร.เมิง กล่าว WWF เรียกร้องให้บรรดารัฐมนตรียืดเวลาการตัดสินใจออกไปอีก 10 ปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่า มีข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ประกอบการตัดสินใจ WWF แนะนำให้ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่างพิจารณาโครงการสร้างเขื่อนพลังน้ำเป็นทางออกในการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขงซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบและความเสี่ยงน้อยกว่ามาก ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ เอื้อพันธ์ ชำนาญเอื้อ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร WWF ประเทศไทย โทร.+662 619 8534-37 Ext 106, +668 19282426, Email uchamnanua@wwfgreatermekong.org www.wwfthai.org Downloads: Download photos from WWF’s visit the Xayaburi dam site. http://www.mediafire.com/?h7eiwe09kht5y Please credit: ? Marc Goichot / WWF-Greater Mekong
แท็ก เขื่อน   ลาว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ