กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
ปัจจุบัน แทปเล็ตกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและถูกมองว่าน่าจะมีการนำมาให้ความบันเทิงแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินแทนระบบสารบันเทิงเดิม หรือระบบ IFE ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการบำรุงรักษาเป็นอย่างมาก โดยเฉลี่ยแล้วอุตสาหกรรมการบินมีค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ประมาณ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
นายราวี มาดาวาราน ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมการบิน บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกเปิดเผยว่า โดยปกติแล้วสายการบินระดับห้าดาวจะมีการอัพเกรดระบบสารบันเทิงบนเครื่องบินทุกๆ 4-5 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้โดยสาร
สายการบินแอร์เอเชีย เป็นสายการบินแรกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการนำแทปเล็ตมาให้บริการให้ความบันเทิงบนเครื่องบิน ซึ่งถือเป็นบริการเสริมให้กับลูกค้า
“สำหรับตลาดการให้บริการระบบสารบันเทิงบนเครื่องบิน (IFE) นี้ มีพานาโซนิคเป็นผู้นำตลาด ในขณะที่ซัมซุงผู้ผลิตแทปเล็ตชื่อดังอย่าง ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด IFE เท่าที่ควร แต่คาดว่า จากเทรนด์ดังกล่าว จะทำให้ซัมซุงสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของตนเองในเซ็กเมนท์นี้ได้ในอนาคตอันใกล้” นายราวี กล่าว
นอกจากนี้ การนำแท็ปเล็ตมาให้บริการเพื่อความบันเทิงแก่ผู้โดยสารยังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน Value chain ทั้งหมด ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสายการบินต้นทุนต่ำนอกเหนือไปจาก การให้บริการอาหาร การทำประกัน และการเลือกที่นั่ง ดังนั้น การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้พัฒนาจึงเป็นไปอย่างรวดเร็วในสายการบินต่างๆ ไม่ว่าจะสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ และสายการบิน แอร์เอเชีย ที่ได้มีการนำเครื่อง ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ 10.1 มาเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร ในขณะที่ สายการบิน แควนตัส ได้นำ ไอแพด มาให้บริการ