กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--สกว.
ประเด็นสำคัญสำหรับการพิจารณาปรับปรุงระบบการเฝ้าระวัง และควบคุมโรค: เรียนรู้จากกรณีไข้หวัดนก
จากกรณีไข้หวัดนกระบาดทำให้เกิดคำถามถึงการจัดระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อทั้งในคนและในสัตว์(รวมทั้งที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้) ว่าควรมีการปรับปรุงหรือไม่ใน 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ รูปแบบของระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาด โครงสร้างหรือสถานะภาพของกลไกหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบระบบงบประมาณ และการจัดการ (ซึ่งรวมทั้งงบเพื่อการเฝ้าระวัง การควบคุมโรคและการชดเชยกรณีที่ต้องมีการฆ่าทำลาย) ตลอดจน กม. ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากมีการพิจารณาวิเคราะห์จากบทเรียน และจุดอ่อนของการทำงานที่ผ่านมาน่าจะนำไปสู่การทำแผนเพื่อพัฒนาระบบ โดยการแก้กฎหมาย การจัดระบบงบประมาณ การปรับปรุงองค์กร และการพัฒนากำลังคน รวมทั้งศักยภาพในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งหากแยกประเด็นพิจารณาในรายละเอียด อาจประกอบด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
1.ระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อในสัตว์ในปัจจุบันมีจุดที่ต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง เช่น
a. การแจ้งข่าวการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์กระทำโดยบุคคลใดและมีโอกาสรับรู้การระบาดของโรคในสัตว์ได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด(ได้ยินข่าวว่าต้องแจ้งให้เจ้าของมาแจ้งจดทะเบียนและเฝ้าระวังพร้อมแจ้งข่าวเมื่อพบว่าเป็นโรค ซึ่งน่าจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรแม้จะมีบทลงโทษตาม กฎหมาย)
b. การตรวจเพื่อวินิจฉัย หรือหาเชื้อก่อโรค มีประสิทธิภาพหรือความทันสมัย(พร้อมตรวจโรคใหม่ๆ) เพียงใด โดยเฉพาะในส่วนของห้องปฏิบัติการต้องพึ่งพิงต่างประเทศมากน้อยเพียงใด
c. การเข้าควบคุมไม่ให้โรคระบาดมีมาตรการอย่างไร ใช้บุคลากรส่วนใดและมีปัญหาในส่วนของบุคลากรเพื่อทำหน้าที่นี้หรือไม่ ทั้งในเรื่องจำนวนคนและในเรื่องของศักยภาพในการปฏิบัติงาน
d. หากต้องใช้มาตรการฆ่าทำลาย จะมีกลไกการทำงานอย่างไรจึงจะเข้าถึงแหล่งเลี้ยงสัตว์และทำลายได้ หรือต้องอาศัยเจ้าของเป็นส่วนใหญ่ และมาตราการชดเชยมีระบุไว้ชัดเจนใน กม. อย่างไร ว่าใครเป็นผู้ตัดสินใจและจะใช้เงินจากแหล่งไหน และมีการบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้ได้ผลในการควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว
e. ในภาพรวม กม.ที่มีอยู่ (พรบ ควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พศ 2499)มีจุดใดที่ควรปรับปรุงเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
f. ในส่วนของกลไกและกำลังคน รวมทั้งระบบงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมโรค (โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการจ่ายค่าชดเชย)มีจุดอ่อน หรือควรปรับปรุงอย่างไร
2. ระบบการเฝ้าระวังโรคระบาดในคนควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนาเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร เช่น
a. ควรมีการเพิ่มระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วสำหรับโรคกลุ่มใดบ้าง และจะจัดระบบอย่างไร จะเป็นระบบ sentinel surveillanceหรือเป็นระบบ rapid response หรือทั้งคู่ และควรจัดระบบเพื่อเฝ้าระวังเชื้อโรคใด หรือกลุ่มโรคใดและในแง่ของระบบงบประมาณควรเป็นอย่างไร เพราะการรวมงบประมาณสาธารณสุขส่วนใหญ่เข้าในงบเหมาจ่ายของระบบ 30 บาท
จะไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการจ่ายเพื่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการเฝ้าระวังโรค ควรมีการจัดสรรงบประมาณโดยเฉพาะและมีระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพอย่างไร
b. การแจ้งให้ทราบว่ามีผู้ป่วยเกิดขึ้นแล้วควรมีการปรับปรุงหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะเพื่อให้สามารถมีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจอย่างทันเวลาเพราะระบบปัจจุบันใช้การแจ้งผู้ป่วยโดยการรายงานผ่านแบบรายงานโดยไม่มีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ ยกเว้นบางโรคที่มีการระบุอย่างชัดเจน(เช่นอุจจาระร่วงอย่างแรง)
c. ความพร้อมของบุคลากรในระบบมีมากน้อยเพียงใด และควรมีการจัดระบบอย่างไร จึงจะมีหน่วยรับแจ้งที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว หน่วยนี้ควรอยู่ที่ใด และมีระบบการจัดการอย่างไร เพราะปัจจุบันมอบให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งค่อนข้างมีงบประมาณ และบุคคลากรจำกัด ส่วนโรงพยาบาลเป็นเพียงให้ความร่วมมือ ควรมีการจัดระบบโดยมีองค์กรรับผิดชอบเฉพาะที่สามารถรับรายงานและออกสืบสวนโรคพร้อมเก็บตัวอย่างเองโดยตรง หรือไม่อย่างไร และควรจะพิจารณาควบคู่กับระบบเฝ้าระวังที่อยู่ภายใต้การดูแลของกองระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรคอย่างไร
d. ระบบงบประมาณเพื่อการควบคุมโรคระบาดควรเป็นอย่างไร เพราะปัจจุบันดูเหมือนจะอาศัยโรงพยาบาลรัฐในฐานะผู้ได้รับงบประมาณผ่านระบบ 30บาท แต่หน่วยงานรับผิดชอบอยู่ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่วนกรมควบคุมโรคก็มีเพียงงบประมาณพัฒนาวิชาการมากกว่าการปฏิบัติการเพื่อควบคุมโรคเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น
3. เมื่อเกิดโรคระบาดในสัตว์ที่มีข้อมูลหรือความรู้ชัดเจนอยู่ก่อนแล้วว่าสามารถติดต่อไปยังมนุษย์ได้ควรมีการปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังและการเข้าควบคุมการระบาดของโรคในสัตว์อย่างไร หรือไม่ เช่น กรณีไข้หวัดนกซึ่งมีตัวอย่างก่อนหน้านี้แล้วว่าติดต่อจากสัตว์ไปสู่คนได้
หากมีการระบาดของไข้หวัดในสัตว์ปีกควรมีการส่งทีมนักระบาดจากสาธารณสุขเข้าร่วมด้วยเพื่อสอบสวนโรคที่อาจเกิดกับคนที่สัมผัสสัตว์ในทันที หรือไม่อย่างไร หรือในกรณีที่ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการควรมีการร่วมมือช่วยกันหรือไม่(โดยเฉพาะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่พร้อมหรือควรแยกกันอย่างเด็ดขาดเพื่อป้องกันโอกาสที่เชื้อไวรัสจะมีการผสมข้ามสายพันธุ์เพราะไปอยู่ในห้องปฏิบัติการเดียวกัน
4. การจัดองค์กรเพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพควรเป็นอย่างไร ปัจจุบันกลไกทั้งหมดอยู่ภายใต้ระบบราชการที่มีความคล่องตัวไม่มากและมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ การจัดองค์กรที่มีการบริหารที่คล่องตัวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานหรือไม่อย่างไร
และควรพิจารณาปรับปรุงทั้งในส่วนที่รับผิดชอบโรคติดต่อในสัตว์ และส่วนที่รับผิดชอบโรคติดต่อในคน ทั้งสองส่วนหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ในส่วนของระบบห้องปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวังโรคควรมีการปรับปรุงหรือไม่ทั้งในส่วนของรูปแบบขององค์กร (ให้มีความคล่องตัวในการจัดการมากขึ้น)
เทคโนโลยี และระบบงบประมาณ
5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องควรมีการปรับปรุงอย่างไรบ้าง เช่นการให้อำนาจในการยึดทำลายสัตว์ติดเชื้อ ความรับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชย การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ มาตรฐานความปลอดภัยของระบบห้องปฏิบัติการ ระบบงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน หรือการจัดองค์กรในรูปแบบใหม่เพื่อการทำงานที่คล่องตัวเป็นต้น
6. ความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องรอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเท่านั้น แต่สามารถสอบสวนโรคที่เกิดใหม่ๆ และทำการวิจัยที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคได้โดยรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ และการพัฒนาวัคซีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาในระดับโลก
เวทีร่วมคิดร่วมสร้าง “ระบบเฝ้าระวังโรคเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย”
วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ณ ห้องแกรน ฮอล 2 ชั้น เอ็ม
โรงแรมรามาการ์เดนส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
จัดโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สนับสนุนโดย เครือข่ายวิจัยสุขภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
08.00 -09.00 น.
ลงทะเบียน
ช่วงเช้า : แลกเปลี่ยนข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็นภาพรวม
ประธานที่ประชุม ศ.นพ.ประเวศ วะสี
เลขานุการที่ประชุม นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
09.00 -10.00 น.
นำเสนอข้อมูลและผลการศึกษา
(1) วิวัฒนาการของระบบเฝ้าระวังโรคในประเทศไทย (10 นาที)
โดย นพ.ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์
(2) ระบบห้องปฏิบัติการ (10 นาที)
โดย นพ.สมชาย แสงกิจพร
(3) แนวทางใหม่ของระบบเฝ้าระวังโรคในสัตว์ (10 นาที)
โดย ส.พญ.ดร.ฉันทนี บูรณะไทย
(4) ข้อเสนอทางเลือกรูปแบบเพื่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค (15 นาที)
โดย นพ.ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์
(5) ข้อเสนอเชิงระบบ: บทเรียนจากโรคซาร์และไข้หวัดนก (15 นาที)
โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
10.00 -12.00 น. แลกเปลี่ยนข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็นภาพรวม
อภิปรายนำโดย:
ส.พญ.นงลักษณ์ ชลสินธุ์ (ระบบห้องปฏิบัติการในสัตว์)
นพ.อนันต์ ศิริมงคลเกษม (ระบบสนับสนุนภาครัฐ)
ผศ.น.สพ.ดร.ศิริชัย วงษ์นาคเพ็ชร์ (การเฝ้าระวังและควบคุมโรคในสัตว์)
สว.พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ (ระบบกฎหมาย)
นพ.ปรีดา มาลาสิทธิ์ (ระบบห้องปฏิบัติการในคน)
ดร.พงษ์พิสิฎฐ์ วิเศษกุล (ระบบงบประมาณ)
นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ (หน่วยปฏิบัติการในระดับจังหวัด)
นพ.เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ (การเฝ้าระวังและควบคุมโรคในระดับจังหวัด)
12.00 -13.30 น
รับประทานอาหารกลางวัน
ช่วงบ่าย : แลกเปลี่ยนในประเด็นเชิงระบบเฉพาะเรื่อง (กลุ่มย่อยและสรุปรวม)
13.30 — 15.00 น.
ประชุมกลุ่มย่อย
กลุ่มที่ 1: การสร้างระบบเฝ้าระวัง Emerging — Reemerging Infectious Diseases
ดำเนินรายการโดย นพ.ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์
กลุ่มที่ 2: การพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการ
ดำเนินรายการโดย รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
กลุ่มที่ 3: การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับระบบการเฝ้าระวังโรค (skill,capacity building)
ดำเนินรายการโดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
15.00 -15.30 น
รับประทานอาหารว่าง
15.30 — 17.00 น.
สรุปรวม
(1) นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย
(2) อภิปรายในประเด็นเชิงยุทธศาสตร์และการจัดการ
(3) สรุปแผนการทำงานในอนาคต
ดำเนินรายการโดย นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
17.00 น.
ปิดการประชุม--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--