กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--ARiP
น้ำท่วม แผ่นดินไหว ม็อบ หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และในทุกองค์กร คงเหมือนฝันร้าย หากข้อมูลสำคัญต้องสูญหายหรือเสียหายอย่างไม่มีวันกู้คืนกลับมาได้
ดังนั้นองค์กรหลายแห่งพยายามเตรียมแผนรับมือกับเหตุภัยพิบัติ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งภายใต้แผนรับมือด้านต่างๆ นั้น แน่นอนว่าไอทีเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญยิ่งที่องค์กรต้องทุ่มเทอย่างมาก เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดตราบเท่าที่ทำได้ ซึ่งรวมไปถึงทำอย่างไรให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
นิตยสาร eENTERPRISE ในเครือ ARiP ขอเชิญร่วมสัมนา “Disaster Recovery Plan Strategies and Processes : รู้ลึก...ยุทธศาสตร์กระบวนการสำรองและกู้คืนข้อมูลที่ไม่มีวันสูญหาย”
เข้าร่วมฟรีพร้อมลุ้นรับ NEW iPAD 16GB 1 เครื่อง
พบผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำของเมืองไทย อาทิ
ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม
ในเรื่อง "เทคโนโลยี 3G ความจำเป็นกับการรับมือภัยพิบัติ"
ทำอย่างไรให้ท่านและองค์กรของท่านได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อต้องประสบกับภัยพิบัติ และท่านต้องเตรียมแผนรับมืออย่างไรบ้าง ในขณะที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เอื้อกับปัญหานี้อย่างไร และภาครัฐมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างไร โดยเฉพาะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระมีภารกิจในการดูแลทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) รับหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อภัยพิบัติ และมาตรฐานในการบูรณาการโทรคมนาคมเพื่อบรรเทาสาธารณภัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป และองค์กรธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี 3G มีบทบาทสำคัญด้านการสื่อสารและวงการโทรคมนาคมไทย ทั้งในยามปกติและในยามวิกฤติ 3G ทำให้ท่านสามารถติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานการณ์
คุณภูริต มิตรสมหวัง
CAT Datacom
Strategic planning for disaster recovery
การวางยุทธศาสตร์ให้องค์กรพร้อมรับกับสถานการ์พิบัติที่สามารถเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว เหตุจราจล ฯลฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ ดังนั้นองค์กรจะต้องวางกลยุทธ์อย่างไร กำหนดนโยบายอย่างไร และบริหารจัดหารอย่างไร เพื่อให้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
Khun Attachai Asawalarp
Partner Technology Consultant
EMC Information Systems, Thailand
วิธีการวางแนวทางปฏิบัติในการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งกล่าวถึงกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และประเด็นสำคัญด้านปัญหาในการบริหารจัดการ
ซึ่งองค์กรจะต้องเตรียมตัวด้านใดบ้าง ปัญหาและอุปสรรคของการเตรียมตัวมีอะไรบ้าง ฝ่ายใดบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องและปัญหาของแต่ละฝ่าย การกำหนดบทบาทของบุคคลในแผนฉุกเฉิน รวมทั้งปัญหาของการกำดหนดบทบาทบุคคล เป็นต้น
และเรื่องอื่นๆ ที่ต้องรู้ อาทิ
- National Disaster Warning Center’s Direction (ภารกิจกับการบริหารจัดการภัยพิบัติของ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ)
- Panel Discussion : “Key success to build DR/BCP ” (เสวนาที่ให้ความรู้ลึก รู้จริงกับ การเตรียมตัวและวางแผนรับมือภัยพิบัติ เพื่อไม่ได้องค์กรต้องหยุดการดำเนินธุรกิจ และไม่ได้เกิดข้อมูลสูญหาย)
- โครงข่ายโทรคมนาคมไทย พร้อมรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ ถนนรัชดาภิเษก ห้องซาลอน A
วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2555 เวลา 9.00 น. — 16.00 น.
www.arip.co.th/seminar/dr_plan