อินเทล ซิป้า และนิตยสารเมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดีย เปิดตัว การประกวดผลงานคอมพิวเตอร์กราฟิก กระตุ้นการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

ข่าวเทคโนโลยี Friday July 30, 2004 09:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ก.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และบริษัท อาร์ททูคอม จำกัด ผู้ผลิตนิตยสารเมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดีย เปิดตัว “My Portfolio Contest” งานประกวดผลงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดียสำหรับนักศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งการแข่งขันจะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยตามภาคต่างๆ รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง เริ่มจากภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบันทั่วโลกต่างมีความต้องการบุคลากรด้านการผลิตดิจิตอลคอนเทนต์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทุกวันนี้ผู้บริโภคสามารถรับสื่อที่เป็นดิจิตอลคอนเทนต์ได้ทุกที่
ทุกเวลา ประเทศไทยเองมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดซอฟต์แวร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกได้เช่นกัน หากมีการสนับสนุนให้บุคลากรของประเทศได้รับการพัฒนาทักษะให้มีมาตรฐานในระดับสากล การประกวดครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกที่จะมีส่วนช่วยผลักดันให้นักศึกษาไทยมีส่วนร่วมในการพัฒนา
อุตสาหกรรมด้านนี้ของประเทศให้เติบโตต่อไปได้
นายเอกรัศมิ์ กล่าวเสริมอีกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทล? เพนเทียม? โฟร์ โปรเซสเซอร์ ที่มีเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง จะช่วยให้ผู้ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย สามารถสร้างสรรค์งานดิจิตอลได้อย่างมากมาย เพราะเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้งได้รับการออกแบบให้ช่วยเพิ่มสมรรถนะของโปรเซสเซอร์ในการทำงานบนแอพพลิเคชั่นหลายตัวพร้อมกันแบบมัลติเธรดได้ อีกทั้งยังช่วยให้ทำงานหลายชิ้นพร้อมๆ กันแบบมัลติทาสกิ้งให้สำเร็จลงได้โดยใช้เวลาน้อยลง
นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางไอซีทีแห่งอาเซียนภายในปี 2551 โดยส่วนหนึ่งต้องเป็นพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการสร้างสรรค์เทคโนโลยี ไม่ใช้ใช้เทคโนโลยีอย่างเดียว การเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีนั้น ในด้านฮาร์ดแวร์อาจจะยาก แต่ด้านซอฟท์แวร์นั้นต้องการใช้สมองและความคิดมากกว่าซึ่งคนไทยมีศักยภาพในตัวอยู่แล้ว สิ่งที่ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและพร้อมจะพัฒนาได้อีกมากคือด้านแอนิเมชั่น เว็บเซอร์วิส และงานด้านเอ้าท์ซอสซิ่งต่างๆ แต่ที่สำคัญคือการเร่งผลิตบุคลากรสู่ภาคอุตสาหกรรม การจัดประกวด My Portfolio Contest นี้เป็นเวทีที่สำคัญสำหรับนักศึกษาที่จะเสนอพอร์ตโฟลิโอของตนได้โดยตรง เป็นการยกระดับบุคลากรของไทยแบบก้าวกระโดด”
ทางด้านนางเครือวัลย์ สมณะ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ได้กล่าวเสริมว่า “เป้าหมายของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ คือ การผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่เวทีโลกในฐานะ “ฮอลลีวู้ดแห่งเอเชีย” ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากดิจิตอลคอนเทนท์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆ วงการ ไม่ว่าจะเป็น e-learning ธุรกิจโฆษณา และด้านการบันเทิง ขณะนี้เราประมาณว่ามีบุคลากรด้านมัลติมีเดีย และแอนิเมชั่นอยู่ในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 1,000 คน จะต้องสร้างขึ้นให้มีถึงประมาณ 20,000 คน การประกวดครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับทิศทางที่เรามุ่งไปอย่างยิ่ง ผลงานของการประกวด My Portfolio Contest นี้ หากมีคุณภาพดีมากๆ ก็สามารถส่งประกวดระดับเมืองนอกได้ด้วย”
“โครงการประกวด My Portfolio Contest เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีทักษะด้านการออกแบบได้แสดงศักยภาพของพวกเขาให้สาธารณชนได้รับรู้ และยังเป็นการสร้างโอกาสให้
พวกเขาเหล่านี้ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำงานในวงการนี้ด้วย ทั้งนี้ โอกาสดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะผู้ชนะการประกวดเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคนอีกด้วย เพราะเราจะจัดส่งผลงานทุกชิ้นให้แก่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ เพื่อเป็นตัวกลางในการนำเสนอต่อบริษัทในอุตสาหรรมนี้ที่สนใจในผลงานต่างๆ ดังกล่าว” นายศุภชัย บุญสุวรรณ์ กรรมการผู้จัดการของ บริษัท อาร์ททูคอม จำกัด กล่าว
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดในครั้งนี้คือการรวบรวมชิ้นงานที่ตนเองถนัด ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก หรือภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชั่น หรือมัลติมีเดียรูปแบบอื่นๆ นักศึกษาต้องสามารถนำชิ้นงานต่างๆ ของตนเหล่านั้นมานำเสนอให้น่าสนใจในรูปของวีซีดีมัลติมีเดียความยาว 60 วินาที ผลงานทุกชิ้นจะได้รับการพิจารณาจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และคณะกรรมการตัดสินซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทชั้นนำในวงการแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย เกณฑ์การตัดสินหลักๆ ประกอบด้วยเกณฑ์ทางด้านศิลปะ เทคนิคคอมพิวเตอร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอผลงาน
สำหรับคณะกรรมการตัดสินของโครงการประกวดฯ ประกอบด้วย ตัวแทนจากมหาวิทยาลัย5 แห่งที่เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันในแต่ละภาค ผู้ทรงคุณวุฒิในวงการแอนิเมเชั่นและมัลติมีเดียประกอบด้วย นายลักษณ์ เตชะวันชัย รองประธานกลุ่มบริษัท อิเมจิน กรุ๊ป บริษัท R.X.I. Motion Studio จำกัด ซึ่งเป็นผู้กำกับการ์ตูน 3 มิติเรื่อง “แก้วจอมแก่น” นายคมภิญญ์ เข็มกำเนิด Animation Supervisor ของบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และผู้ผลิตภาพยนตร์ 3 มิติเรื่อง “ก้านกล้วย” นายสุรเชษฐ เฑียรบุญเลิศรัตน์ กรรมการผู้อำนวยการบริษัท บลู แฟรี่ จำกัด และ ผู้กำกับเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิกของภาพยนตร์เรื่อง “ปักษาวายุ” นายชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ผู้กำกับการ์ตูน 3 มิติเรื่อง “ปังปอนด์ ดิ แอดเวนเจอร์” และนายศุภชัย บุญสุวรรณ์ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร เมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดีย จากบริษัท อาร์ททูคอม จำกัด
การประกวดจะคัดเลือกผู้ชนะของแต่ละเขตการแข่งขันเขตละสามคน ผู้ชนะอันดับหนึ่งและรองทั้งสองอันดับจะได้รับถ้วยรางวัลจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สมาชิกนิตยสารเมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดียเป็นเวลา 1 ปี และรางวัลจากผู้สนับสนุนรายอื่นๆ โดยผู้ชนะอันดับหนึ่งของทั้งห้าเขตการแข่งขันทั่วประเทศจะได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี อินเทล เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ ที่สนับสนุนเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง คนละหนึ่งเครื่อง
การประกวดจะเริ่มต้นที่ภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่)
จ.สงขลา วันที่ 18-19 สิงหาคม ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา วันที่ 9-10 กันยายน ภาคเหนือที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ วันที่ 23-24 กันยายน ภาคกลางที่มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี วันที่ 11-12 พฤศจิกายน และเขตกรุงเทพมหานครแข่งขันที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (วิทยาเขตบางนา) วันที่ 25-26 พฤศจิกายน
ข้อมูลเกี่ยวกับอินเทล
อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบเครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีพันธกิจในการสร้างทักษะให้กับบุคลากร ขับเคลื่อนการสร้างงาน และการสร้างตลาดทั้งในและต่างประเทศให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ผู้สนใจสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.sipa.or.th
ข้อมูลเกี่ยวกับ นิตยสารเมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดีย
นิตยสารเมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดียเป็นนิตยสารคอมพิวเตอร์กราฟิกเล่มเดียวในประเทศไทยที่สอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับทุกสื่อในการออกแบบที่สอดคล้องไปกับสาระความรู้ด้านการตลาด และข่าวสารไอที ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.menucom.net
Intel, Intel Inside และ Centrino เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
*ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ
**เทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทล? เพนเทียม? โฟร์ โปรเซสเซอร์ ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ชิปเซ็ตและไบออสที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ตลอดจนระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนเทคโนโลยี สมรรถนะจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เฉพาะอย่างที่คุณใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูจากเว็บไซต์ www.intel.com/info/hyperthreading
*** ประสิทธิภาพอาจผันแปรไปตามค่าคอนฟิกูเรชั่นของเครื่อง ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อินเทลได้ที่ http://www.intel.com/performance/resources/limits.htm
ติดต่อ:
คุณเพชราภรณ์ เจริญนิพนธ์วานิช คุณกรรภิรมย์ อึ้งภากรณ์
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 654-0654 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
e-Mail: petch.charoennibhonvanich@intel.com e-Mail: kanpirom.ungpakorn@carlbyoir.com.hk--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ