กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--กรีนพีซเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้เข้าร่วมงานเสวนา “จิบชา ปฏิวัติพลังงาน” เห็นพ้องในหลักการประเทศไทยต้องมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เข้มแข็งเพื่อลดละเลิกพลังงานฟอสซิลที่สกปรกและพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นอันตรายเพื่อสร้างรากฐานให้กับเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
ทั้งนี้งานเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อปิดท้ายมหกรรมปฏิวัติพลังงานผ่านกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่โดมกู้วิกฤตโลกร้อนซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการการรณรงค์ของกรีนพีซที่มาประจำการในประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาณ ลานราชมังคลากีฬาสถานพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในการจัดกิจกรรมที่โดมกู้วิกฤตโลกร้อนมาจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และกังหันลมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนนั้นทำได้จริงนอกจากงานเสวนาปฏิวัติพลังงานแล้วกรีนพีซยังจัดฟรีคอนเสิร์ตปฏิวัติพลังงานโดยมีนักร้องชื่อดังเช่นสิงโต นำโชคและศิลปินอื่นๆอีกมากเข้าร่วม
นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุลผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่ากฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เข้มแข็งเป็นกลไกที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและเพื่อเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้ชุมชนและครัวเรือนผลิตพลังงานจากแหล่งทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่นอกจากนี้ยังช่วยกู้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกทั้งการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนยังเพิ่มการจ้างงานและลดมลพิษที่เป็นอันตรายได้อีกด้วย
ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการยกร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของประเทศไทย กรีนพีซได้เชิญชวนคนไทยร่วมลงชื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ให้เกิดขึ้นจริงและมีความเข้มแข็งกรีนพีซเรียกร้องให้ออกกฎหมายพลังงานที่เข้มแข็งโดยเร็วบนหลักการขั้นพื้นฐาน5 ข้อ คือ 1.รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนเป็นอันดับแรกผู้ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถเข้าถึงระบบสายส่งก่อนพลังงานอื่นๆ 2. ทุกคน ทุกบ้าน ทุกหย่อมหญ้าสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้และขายเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้และผลิตพลังงานหมุนเวียน3.การบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าต้องมีความโปร่งใสและราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีความเป็นธรรม4.ต้องมีการจัดตั้งกองทุนและพัฒนาศักยภาพและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในทุกจังหวัด และเพิ่มอัตราการจ้างงานจากการลงทุนและการดำเนินงานระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนและ5.ผู้ใช้ไฟฟ้ามีสิทธิเลือกใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนแทนไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล เพื่อสร้างจิตสาธารณะร่วมกันลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม
นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กทม.ซึ่งติดตามตรวจสอบนโยบายพลังงานของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องกล่าวตอนหนึ่งในระหว่างการเสวนาว่าการยกร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียนถือว่าเป็นเรื่องที่มีความก้าวหน้าและเห็นว่าควรมีการรื้อโครงสร้างกระทรวงพลังงานใหม่โดยแบ่งเป็นกระทรวงพลังงานด้านปิโตรเลียม และกระทรวงพลังงานที่ดูแลเรื่องพลังงานหมุนเวียนอื่นๆไม่เช่นนั้นพลังงานปิโตรเลียมซึ่งมีขนาดใหญ่มากก็จะควบคุมทุกอย่างทำให้พลังงานหมุนเวียนไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะปัจจุบันปลัดกระทรวงพลังงานไปนั่งเป็นบอร์ดของบริษัทพลังงานปิโตรเลียมต่างๆดังนั้น หากโครงสร้างยังเป็นแบบเดิมกระทรวงพลังงานจะไม่มีทางส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนแน่นอนเพราะจะทำให้ธุรกิจปิโตรเลียมที่มีมูลค่าเป็นล้านๆ บาทเสียประโยชน์
กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ
หมายเหตุ:
ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทยสามารถผลิตได้ 8,272.08 เมกะวัตต์หรือ 9.4% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในประเทศ
โดยกระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 25% ภายใน10 ปี ( 2555-2564)
กรีนพีซเชื่อว่าถ้าประเทศไทยมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เข้มแข็งตามหลักการพื้นฐานที่ระบุไว้ ประเทศไทยจะสามารถเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียนตามเป้าที่กระทรวงพลังงานตั้งไว้ได้ในเวลาไม่ถึง10 ปี
รายละเอียดที่http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Renewable-Energy-Law/
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม
ณัฐวิภา อิ้วสกุลผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
อีเมล์ : natwipha.ewasakul@greenpeace.org โทร 085 843 7300
สุขทวี สุวรรณชัยรบ หัวหน้าทีมสื่อ ประเทศไทย กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีเมล์: ssuwanna@greenpeace.org โทร 083 8412798
ชลธิชา เหลิมทอง ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีเมล์: clermton@greenpeace.org โทร085 479 4900
www.greenpeace.or.th
www.greenpeace.or.th/GoRenewable
www.facebook.com/greenpeaceseath