กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--ชินแซทเทลไลท์
บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) แถลงว่า บริษัทฯ ได้รับแจ้งจาก บริษัท สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล ผู้ผลิตดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร) ในประเทศ สหรัฐ อเมริกาว่า ดาวเทียมไทยคม 4 ได้ผ่านการทดสอบภายในห้องควบคุมอุณหภูมิ และสูญญากาศในสภาพเสมือนจริง แล้ว ดาวเทียมจะถูกทดสอบขั้นสุดท้ายต่อไปก่อนที่จะถูกส่งมอบ
ดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมพานิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงมีการทดสอบหลายขั้นตอน โดย สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของดาวเทียมในห้องสูญญากาศเสมือนจริง ห้องฯ จะถูกควบคุมด้วยอุณหภูมิที่ร้อนและเย็นจัด สลับกันไปเสมือนกับสภาพอุณหภูมิที่ดาวเทียมฯ ต้องประสบเมื่ออยู่ในวงโคจร ที่สูงกว่าพื้นโลกถึง 35,000 กิโลเมตร ความ สำเร็จของการทดสอบครั้งนี้ จะลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของดาวเทียม
การทดสอบขั้นสุดท้ายของดาวเทียมไทยคม 4 คือ การทดสอบภาวะสั่นสะเทือน (Dynamic Test) โดยเป็นการจำลอง สภาวะการสั่นสะเทือนเสมอเหมือนดาวเทียมถูกยิงออกจากฐานยิง โดยสเปซ ซิสเต็ม ลอรัล จะทำการติดตั้ง จานสายอากาศ และ แผงพลังงานแสงอาทิตย์กับตัวดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมอยู่ในสภาพเดียวกับขณะที่จะถูกจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร หลังจากนั้นดาวเทียม ไอพีสตาร์จะถูกนำไปทดสอบการรับสภาวะการสั่นสะเทือน ทั้งทางด้านแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากทั้งดาวเทียมและเสียง จากนั้นดาวเทียมจะ ถูกนำไปทดสอบความสามารถในการรับส่งสัญญาณ (Compact Antenna Range Test: CART) และ ทดสอบการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ จานสายอากาศแผงพลังงานแสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่ จะถูกติดตั้งกับตัวดาว เทียมอย่างถาวร เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าวแล้ว ดาวเทียมพร้อมที่จะถูกจัดส่ง ไปยังฐานยิงที่ French Guiana ซึ่งคาดว่า กระบวนการดังกล่าว จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี พ.ศ. 2547 และจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในการจัดส่งดาวเทียมไปยังฐานยิง และประกอบดาวเทียม เข้ากับตัวจรวด ที่จะใช้ในการจัดส่ง และจะถูกทดสอบโดย เอเรียนสเปซ อีกครั้งก่อนการยิงสู่วงโคจร
ดร. ดำรง เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชินแซทเทลไลท์ เปิดเผยว่า “บริษัทฯ พึงพอใจกับผลการทดสอบในครั้งนี้ เนื่องจากจะทำให้บริษัทฯ มีความชัดเจนในการประมาณการ วันส่งดาวเทียมสู่วงโคจร เนื่องจากดาวเทียมฯ ได้ผ่านการทดสอบที่สำคัญที่สุดแล้ว บริษัทฯ ยินดีที่จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้น และลูกค้าทราบว่าการส่งมอบดาว เทียมจะเกิดขึ้น ภายในปีนี้ บริษัทฯ คำนึงถึงผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ เรายืนยันที่จะให้รอผลการทดสอบสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากดาวเทียมไม่สามารถ นำกลับมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลังจากส่งเข้าสู่วงโคจร บริษัทฯ มีความแน่วแน่ ที่จะทำให้โครงการ ดาวเทียมไอพีสตาร์ประสบความสำเร็จผ่านการทดสอบอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน” ดร. ดำรง กล่าวเสริมว่า “สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล ได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่า จะสามารถส่งมอบดาวเทียมฯ ภายในปีนี้ และบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถให้บริการได้ทันที หลังจาก ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร”
สอบถามเพิ่มเติม ส่วนประชาสัมพันธ์ 02-591-0736-49 ต่อ 5085--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นห)--