กรมศิลปากรจัดงาน Creative Fine Arts 2012 พัฒนาคุณค่าทุนทางวัฒนธรรม

ข่าวทั่วไป Wednesday August 29, 2012 15:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--กรมศิลปากร กรมศิลปากรจัดงาน “Creative Fine Arts 2012 : เศรษฐกิจ สร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม” เพื่อพัฒนาคุณค่าทุนทางวัฒนธรรมโดยการสร้างสรรค์ ต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมที่เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม กิจกรรมประกอบด้วย การจัดนิทรรศการ การสาธิตผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงของที่ระลึก และการแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ — ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๐๐ — ๒๑.๓๐ น.ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ชั้น G นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรจัดงาน“Creative Fine Arts 2012 : เศรษฐกิจ สร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่กำลังจะ สูญหายให้คงอยู่สืบไป ส่งเสริมให้ชุมชนนำองค์ความรู้จากมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไปใช้ในการสร้างสรรค์ พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ หรือบริการอื่นๆตามความเหมาะสมของเอกลักษณ์ในแต่ละชุมชน การสร้างต้นแบบและต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากทุนทางมรดกศิลปวัฒนธรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มจากแหล่ง มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ให้เกิดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย กิจกรรมประกอบด้วย การจัดนิทรรศการ การสาธิตผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงของที่ระลึก และการแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า การจัดงาน Creative Fine Arts 2012 มีเนื้อการนำเสนอผลงานใน ๓ ประเด็นหลัก คือ ๑. การส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์แก่ชุมชน ได้แก่ - โครงการส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์แก่ชุมชน : พัฒนาผลิตภัณฑ์ดินเผาสมัยหริภุญไชย โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย - โครงการศิลปะจากแหล่งโบราณคดีสู่งานผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วย กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน - โครงการส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์แก่ชุมชนจากทุนมรดกศิลปวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ : เครื่องแก้วโบราณจากฐานความรู้โบราณคดี โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี - โครงการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากมรดกศิลปวัฒนธรรม “ศิลาจารึก ลวดลายพฤกษา เยี่ยมหน้ากุฑุ สิงห์คู่ดงเมืองเตย” โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี - โครงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยทุนทางวัฒนธรรมจากแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยพิพิธภัณสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ๒. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมรดกศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมรดกศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบใหม่ ได้แก่ - โครงการผลิตของที่ระลึก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Art Collections from the National Gallery, Bangkok) - โครงการของที่ระลึกพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร - โครงการจัดทำของที่ระลึกเครื่องประดับจี้ทองคำฝังพลอยสมัยทวารวดี โบราณวัตถุ ชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณสถานแห่งชาติ อู่ทอง - โครงการศึกษาออกแบบต้นแบบผลิตภัณฑ์จากโบราณวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ชุด “ลวดลายมงคลจากศิลปะล้านนา” - โครงการสืบสานงานศิลป์ก่อนประวัติศาสตร์สู่ชีวิตประจำวัน: Prehistory in Daily Life (PHID) กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด - โครงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากมรดกศิลปวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ชุดหนังสือ ๓ มิติ (pop up book) โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม และประติมากรรมหินทรายประยุกต์เพื่อทำที่เสียบปากกา - โครงการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากมรดกทางวัฒนธรรม โดยสำนักช่างสิบหมู่ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานในกลุ่มของงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา งานประติมากรรม งานจิตรกรรมและงานประณีตศิลป์ ๓. การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม เกี่ยวกับการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม ที่มีการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวใหม่เป็นการบูรณาการแหล่งวัฒนธรรม มรดกศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อภาษาวรรณกรรม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องตามเส้นทาง ได้แก่ โครงการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ในประเทศไทย”เยี่ยมเยือนวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ๓๖๐ องศา”(Cultural Routes of Ethnic Groups in Thailand — A Circular Map for Visiting Ethnic Groups) โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก นอกจากนี้ อธิบดีกรมศิลปากร ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ องค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เยาวชน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน Creative Fine Arts 2012 เพื่อร่วมสัมผัสกับชิ้นงานทางมรดกศิลปวัฒนธรรม ที่สร้างสรรค์มาจากบรรพบุรุษไทยที่เป็นทุนให้คนรุ่นหลังนำมาต่อยอดสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างชื่อ ให้ประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ — ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๐๐ — ๒๑.๓๐ น. ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ชั้น G ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ๐ ๒๒๒๑ ๓๑๗๒ และ ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ