กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 ดังนี้
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 มีจำนวน 4,791,536.28 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.34 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,506,349.20 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,028,750.26 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 246,436.82 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 10,000 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 123,436.73 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เพิ่มขึ้น 76,197.75 ล้านบาท 51,206.75 ล้านบาท และ 1,180 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 5,147.77 ล้านบาท ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555
1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 43,345.58 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 403.77 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 342.67 ล้านบาท และการชำระคืนสกุลเงินยูโร และการเบิกจ่ายสกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 61.10 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาทหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกันความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 43,749.35 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 42,891.23 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 497.83 ล้านบาท เนื่องจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 3) ก่อนกำหนดโดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 33,350 ล้านบาท เนื่องจาก การกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) จำนวน 33,350 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของพันธบัตร FIDF 3 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 2 กันยายน 2555 วงเงิน 206,023.25 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จะนำไปให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อ การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศบริหารลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้เกิดผลตอบแทนและลดต้นทุนในการทำ Pre-funding
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ในประเทศ
2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4,433.88 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- การไถ่ถอนพันธบัตรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2,000 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1,500 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 1,240 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ 1,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 900 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ 370.28 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,665.30 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 3,800 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 233 ล้านบาท และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 98.3 ล้านบาท
2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,726.06 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 1,358.02 ล้านบาท และการชำระคืนสกุลเงิน ยูโรและเงินเหรียญสหรัฐ และการเบิกจ่ายมากกว่าชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 368.04 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาทหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 653.13 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลง ของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 112.16 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้สกุลเงินยูโร และสกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 765.29 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาทหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 51,250 ล้านบาท โดยเกิดจาก
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตร 20,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ 33,250 ล้านบาท
3.2 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 43.25 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 19.83 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้สกุลเงินยูโรและสกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 23.42 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาทหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1,180 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินระยะสั้นในประเทศของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
หนี้สาธารณะ จำนวน 4,791,536.28 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 335,198.39 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.00 และหนี้ในประเทศ 4,456,337.89 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.00 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 4,582,272.38 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.63 และหนี้ระยะสั้น 209,263.90 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.37 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512