มทร.ธัญบุรี สืบสานวัฒนธรรมไทย สู่ AEC

ข่าวทั่วไป Friday August 31, 2012 15:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--มทร.ธัญบุรี ราชมงคลธัญบุรี ก้าวสู่ AEC อย่างเลิศล้ำ สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้นำสู่สากล แนวคิดเข้าร่วมโครงการ “9 ราชมงคลร่วมใจสืบสานวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นความร่วมมือของทั้ง 9 มทร. ในการร่วมใจสืบสานวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขอสืบสานโครงการดีๆ ส่งการแสดงชุดใหญ่ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดงานในครั้งนี้ “เอ” นายทศพร แก้วศรีสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าว่า 9 ราชมงคลร่วมใจสืบสานวัฒนธรรม จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง “ราชมงคลธัญบุรี ก้าวสู่ AEC อย่างเลิศล้ำ สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้นำสู่สากล” แนวคิดในการจัดนิทรรศการทางวิชาและวัฒนธรรมในครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วยการนำเสนอผลงานทางวิชาการและวัฒนธรรม ผลงานทางวิชาประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีการเกษตร และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ทางด้านการแสดงศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้เตรียมการแสดงมา 2 ชุด ได้แก่ นาฏยาราชมังคลาสู่อาเซียน และ โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามยกรบได้รับการควบคุมการแสดง โดยอาจารย์ชวลิต สุทรานนท์ นักวิชาการ ละครและดนตรี ผู้เชี่ยวชาญ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มทร.ธัญบุรี ต้องการนำเสนอในรูปแบบที่ล้ำคุณค่าทางวัฒนธรรมและสามารถนำไปสู่คุณค่าสากล ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นที่รู้จักในวงการศึกษา “เคน” นายจอมพล สังข์เงิน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ประธานฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มทร.ธัญบุรี เล่าว่า ในการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมในครั้งนี้ ต้องการสื่อถึงอารยะธรรมของวัฒนธรรมไทยในภาคกลาง ไม่ว่าจะในเรื่องของการแต่งกาย อาหาร ประเพณี การละเล่นแบบไทยจนถึงการแสดงชั้นสูงอย่างโขน ชุดการแสดง นาฏยาราชมังคลาสู่อาเซียน สร้างสรรค์โดยอาจารย์ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสานสัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ วัฒนธรรม แต่ละประเทศ ความร่วมมือในประชาคมอาเซียน ในรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์เชิงสร้างสรรค์ ส่วนในแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามยกรบ โดยทาง มทร.ธัญบุรี เป็นแห่งเดียวใน 9 มทร. ที่มีการเปิดสอนศาสตร์ทางด้านนี้ นำเสนอความเป็นไทยผ่านท่วงท่าลีลาการแสดงและเสื้อผ้าที่เป็นศิลปะชั้นสูงคู่ไว้ในสังคมไทย “แนน” นางสาวพัชราภรณ์ วงษ์จ่อน รับบท เสนาลิง และ “เจน” นางสาวบุษกร ยงบรรทม รับบท องคต นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า ดีใจที่ได้ร่วมงานในครั้งนี้ เป็นตัวแทนนักศึกษา ในการแสดงโขน ชอบการแสดงโขน ท้าทายความสามารถ ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย ขอให้อาจารย์ที่สาขาสอนให้ เนื่องจาก เรียนรำ จึงเรียนนอกเวลาเรียน ท่วงท่าในการสื่ออารมณ์ ฝึกการหายใจในหัวโขน และที่สำคัญได้ร่วมการสืบสานวัฒนธรรม การแสดงโขน ซึ่งในปัจจุบันจะเลือนหายไปจากสังคมไทย ตัวลิง เป็นตัวแสดงที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่ทำให้การดำเนินเรื่องสนุกสนาน ท่าทางของลิงน่ารัก ทางด้านพระราม “ตุลย์” นายนเรศพงศ์ วงศ์วินิจศร นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และพระลักษณ์ “เต๋า”นายทัศนัย พิมพ์รัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า บทบาทพระราม พระลักษณ์ เด่นมาก จะต้องมีการ “ขึ้นลอย” ซึ่งเป็นท่าทางที่สง่าและงดงามมากในการแสดงตอนนี้ พระรามพระลักษณ์ ถือว่าเป็นตัวแสดงเอก ที่ต้องสื่อถึงความสง่า ท่าทางที่สุขุม ดังนั้น รูปร่าง หน้าตา ต้องได้สัดส่วน กว่าที่จะมาแสดงความสง่าบนเวทีให้ผู้ชมได้รับชม ต้องผ่านการฝึกฝนที่หนักมาก แต่ความชอบที่เรียนโขนพระมาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 “รักในการเล่นโขน รักในความเป็นไทย ต้องการที่จะรักษาไว้ในลูกหลาน” ทุกครั้งที่ขึ้นแสดงโขน รู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติ ได้แสดงความเป็นศิลปะไทย ซึ่งน้อยคนที่จะมีความสามารถและได้แสดงโขน “ทศกัณฑ์” ตัวเอกของการแสดงโขน รับบทโดย “แบงค์” นายอรรถพล ดุเหว่าดำ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า อารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องถอดทอดให้ผู้ชม ผ่านออกทางศรีษะ กำลังในการเล่นโขนต้องแข็งแรง ความเป็นเอกลักษณ์ของโขน ที่ได้เรียนรู้มาตลอดตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 การฝึกฝนที่ถูกปลูกฝังโดยอาจารย์ และประสบการณ์ในการออกแสดงตามงานต่างๆ ทำให้รักในการแสดงโขน รู้สึกภูมิใจที่ได้สืบสานศิลปะแขนงนี้ โขนมีเสน่ห์ แต่น่าเสียดายที่ศิลปะแขนงนี้กำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย กว่าที่โขนหนึ่งตอนจะทำการแสดงต้องผ่านการฝึกฝน สะสมประสบการณ์ จนผู้แสดงได้รับเลือกให้แสดงบทบาทนั้น ตัวแทนจากการแสดงนาฎยาราชมังคลาสู่อาเซียน “ใบเฟิร์น” นางสาวชมพิชาน์ ศรีภักดี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ เล่าว่า ในการแสดงนี้รับผิดชอบในส่วนของประเทศสิงคโปร์ นำเสนอในรูปแบบศาสนาอิสลาม ซึ่งศาสนาอิสลามเป็นอีกศาสนาหนึ่งที่คนในประเทศสิงคโปร์นับถือ ซึ่งท่าทางการแสดงคิดขึ้นโดยอาจารย์ ช่วยกันคิดขึ้นมาใหม่ ใช้ทุกส่วนของร่างกาย ดีใจที่ได้ร่วมแสดงในการแสดงครั้งนี้ เป็นการประยุกต์วัฒนธรรมของประเทศอื่น เข้ากับศิลปะไทยได้อย่างลงตัว “โจ้” นายนที ใยบัว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ อุปนายกคนที่ 1 คณะเทคโนโลยีการเกษตร เล่าว่า โดยทางคณะเทคโนโลยีการเกษตรเปิดสอนทั้งหมด 7 สาขา สาขาการผลิตพืช สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ สาขาประมง สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ งานในครั้งนี้ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้นำเสนอรูปแบบวิถีอาชีพของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ จนสามารถทำให้ชาวโลกได้รู้ว่าคนไทยสามารถยึดอาชีพเกษตรกรรมจนหล่อเลี้ยงประเทศให้มีความมั่นคงได้และยังเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีการสาธิตวัฒนธรรมความเชื่อของการเพาะปลูก เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีทำขวัญข้าว หรือแม้แต่การปศุสัตว์ในครัวเรือนเพื่อ เลี้ยงภายในครอบครัว “ณุ” นายภานุมาตร อินทร์เมือง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย นำการจัดการรักษาแบบไทยสายราชสำนัก มาจัดแสดงซึ่งถือว่าเป็น ต้นแบบการรักษาของชาวไทยอย่างแท้จริง หรือแม้แต่การดูแลความงามดูแลสุขภาพผิว ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ทั้งภายในและภายนอก เครื่องดื่มสุขภาพ รวมถึงการดูแลรักษาของแต่ละธาตุตามศาสตร์โบราณ การนวดและการกดจุดของไทย ศาสตร์ของความเป็นไทยสมัยโบราณ ตำรายา ร่วมถึงการนวด เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ควรร่วมกันสืบทอดไว้ให้ลูกหลาน 9 ราชมงคลร่วมใจสืบสานวัฒนธรรม นิทรรศการทางวิชาการและวัฒนธรรม องค์การนักศึกษามทร.ธัญบุรี หนึ่งในสถาบันการศึกษาร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย ความงดงาม เอกลักษณ์ของชาติไทย ไว้ให้ลูกหลานสืบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ