กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--เนคเทค
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)จัดพิธีมอบทุนสนับสนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมที่ผ่านการพิจารณาจาก
คณะผู้เชี่ยวชาญและผ่านการพิจารณาคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 8 โครงการรวมวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 76,839,089 บาท
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2547 ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการเนคเทคกล่าวถึงกิจกรรมด้าน การสนับสนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม โดยจัดพิธีมอบทุนสนับสนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม จำนวน 8 โครงการซึ่งทุกโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนในครั้งนี้เนคเทคได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมเพราะจะเกิดประโยชน์สอดคล้องตามแนวทางการสนับสนุนการวิจัยและสามารถเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต ต่อไปโดยแต่ละโครงการมีรายละเอียด ดังนี้
1.โครงการพัฒนาระบบกลั่นกรองเว็บไซต์อนาจารอัตโนมัติ ดำเนินการวิจัยโดยนางรพีพร ช่ำชอง จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อพัฒนาระบบตนแบบของการกลั่นกรองเว็บไซตอนาจารและอัลกอริทึมที่ใช้ในการวิเคราะหภาพอนาจารเน้นศึกษาเทคนิคการกลั่นกรองภาพอนาจารโดยการประมวลผลรูปภาพ เชน การวิเคราะห์สีผิวเพื่อจำแนกความแตกตงระหวงพิกเซลสีผิวของมนุษยและพิกเซลสีอื่นๆการวิเคราะหรูปร่างมนุษย์ Human Composite matrixเพื่อตรวจสอบภาพอนาจารบนเวิลดไวดเว็บ
และเทคนิคการกลั่นกรองข้อความที่สื่อไปในทางอนาจารบนเวิลดไวดเว็บเพื่อการประยุกต์ใช้งานจริงระยะเวลา 2 ปี งบประมาณที่สนับสนุน 2,090,341 บาท
2. โครงการระบบไบโอเมตริกและฮาร์ดแวร์ประมวลผลภาพดิจิทัลซึ่งเป็นระยะที่สองของโครงการ (ปีที่ 2 และ 3) ดำเนินการโดย ผศ.ดร.วุฒิพงศ์อารีกุล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อพัฒนาสร้างชุดฮาร์ดแวร์ประมวลสัญญาณดิจิทัลขึ้นเองทั้งหมด
โดยเป้าหมายให้ได้อุปกรณ์ไบโอเมตริกตรวจสอบลายนิ้วมือที่ทำงานเป็นอิสระที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์เข้าระบบฐานข้อมูลกลางผ่านทางช่องสัญญาณสื่อสารแบบใช้สายได้ผลผลิตที่ได้ทั้งหมดจะเป็นขั้นตอนวิธีและฮาร์ดแวร์เครื่องต้นแบบที่เป็นฝีมือของคนไทยงบประมาณที่สนับสนุนจำนวน 3,777,122 บาท ระยะเวลา 2 ปี
3.โครงการการประดิษฐ์จอแสดงผลแบบบางไดโอดเปล่งแสงสารอินทรีย์โครงสร้างบ่อควอนตัม
ดำเนินการโดย รศ.ดร.จิติ หนูแก้ว ภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังโครงการนี้เป็นงานวิจัยที่ศึกษาโครงสร้างบ่อควอนตัมเพื่อนำมาประยุกต์เป็นจอแสดงผลแบบบางโดยใช้สารกึ่งตัวนำอนินทรีย์ผลึกระดับขนาดนาโนเมตรอาทิ Nanocrystal-ZnSe ที่มีแถบพลังงานต้องห้ามกว้างกว่าเป็นกำแพงศักย์ส่วนสารกึ่งตัวนำอินทรีย์โมเลกุลที่แถบพลังงานต้องห้ามแคบกว่าอาทิ Alq3
เป็นบ่อศักย์ทำการเตรียมสารโดยประกบเป็นแบบแชนวิทธ์ความหนาระดับนาโนเมตรเข้ากับสารกึ่งตัวนำอินทรีย์โมเลกุลเป็นโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำแบบบ่อควอนตัม(Quantum well)โดยทฤษฎีทางกลศาสตร์ควอนตัมพบว่าสามารถเปลี่ยนความยาวคลื่นแสงของตัวเปล่งแสงได้เมื่อเปลี่ยนความหนาของชั้นโมเลกุลของฟิล์มบางสารอินทรีย์
และโดยโครงสร้างนี้จะไม่ทำให้ชั้นโมเลกุลสารอินทรีย์ของฟิล์มบางเปลี่ยนแปลงสภาพได้เพราะถูกประกบอยู่กับผลึกขนาดนาโนเมตรของสารกึ่งตัวนำ อนินทรีย์เพื่อเพิ่มอายุการใช้และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตัวเปล่งแสงที่สร้างขึ้นอีกทั้งทำให้ฟิล์มบางที่เตรียมได้มีคุณภาพสูงกว่าวิธี spin coatingที่ทำวิจัยกันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับโครงสร้างฟิล์มบางสารอินทรีย์แบบบ่อควอนตัมนี้ยังไม่พบว่ามีรายงานการวิจัยในวารสารต่างประเทศนับว่าเป็นโครงสร้างใหม่ที่สุดที่น่าสนใจอีกโครงการหนึ่งงบประมาณที่สนับสนุน จำนวน 15,468,320 บาท ระยะเวลา 2 ปี
4.โครงการประดิษฐ์ก๊าซเซ็นเซอร์โดยใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ ดำเนินการโดย ดร.สุธิชัย ชัยสิทธิศักดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเพื่อการสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดก๊าซแบบใหม่ที่มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงโดยใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ซึ่งจะถูกสังเคราะห์โดยวิธี Chemical vapor deposition (CVD)เพื่อให้ได้ก๊าซเซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงตัวเซ็นเซอร์จะถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีการสร้างไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาคงานวิจัยนี้จะมีส่วนในการสนับสนุนงานวิจัยสาขานาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์การแพทย์ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป งบประมาณที่ได้รับสนับสนุน จำนวน5,959,406 บาท ระยะเวลา 2 ปี
5.โครงการการพัฒนาระบบทำนายน้ำท่วมสำหรับการปฏิบัติการ-พื้นที่ศึกษา:ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดำเนินการโดย ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุลภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำและการจัดการ สำนักวิชาวิศวกรรมโยธา สังกัดสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยมีความร่วมมือกับสถาบันทรัพยากรน้ำเพื่อพัฒนาระบบทำนายน้ำฝน โดยทำการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ 2 แบบ คือแบบจำลองอุทกวิทยา (Distributed Hydrological Model)
และแบบจำลองด้านน้ำท่วม (AIT River Network Model)จากนั้นดำเนินการพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากแบบจำลองเข้ากับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการนำข้อมูลเข้าวิเคราะห์และแสดงผลการคำนวณจากแบบจำลองในรูปของข้อมูลรูปภาพ เช่นกราฟระดับน้ำและแผนที่น้ำท่วมโดยจะทำการประยุกต์ใช้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งลุ่มน้ำ
นอกจากนั้นทีมนักวิจัยจะพัฒนาระบบทำนายน้ำฝนโดยใช้ภาพจากเรดาร์เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลนำเข้าของแบบจำลองทำนายน้ำท่วมซึ่งจะทำให้แบบจำลองทำนายน้ำท่วมสามารถทำนายสภาวะน้ำท่วมได้ล่วงหน้าเร็วยิ่งขึ้นมีความถูกต้องสูง และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support Syste) ต่อไป
โครงการนี้จะมีความสำคัญในการลดผลกระทบหรือความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ในอนาคตอันใกล้งบประมาณที่ได้รับสนับสนุน จำนวน 5,027,400 บาท ระยะเวลา 2 ปี
6.โครงการการพัฒนาระบบวิเคราะห์ทางไกลทางการแพทย์โดยอาศัยการสัมผัสของอุปกรณ์สร้างและตรวจวัดรวมแรงระยะทางสำหรับการวิเคราะห์โรคเกี่ยวกับก้อนผิดปกติในบริเวณช่องท้องปีที่ 2 ดำเนินการโดย รศ.ดร.มนูกิจ พานิชกุล คณะเทคโนโลยีชั้นสูงสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย งบประมาณที่สนับสนุน จำนวน 1,674,200 บาทเพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์ทางไกลทางการแพทย์ขึ้นซึ่งประกอบด้วย 2 ระบบย่อย
คือ ระบบทางฝั่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและระบบทางฝั่งคนไข้รวมทั้งการสร้างระบบข้อมูลอัตโนมัติที่จะช่วยแพทย์ที่ยังขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์โรคและช่วยในการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์หรือแพทย์ที่มีประสบการณ์น้อยอีกด้วยโครงการนี้มีจะช่วยแก้ปัญหาด้านขาดบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะโรคในการวิเคราะห์โรคเกี่ยวกับก้อนผิดปกติในบริเวณช่องท้องและองค์ความรู้ที่ได้ยังสามารถนำมาใช้ในการควบคุมระยะทางและแรงทางไกลของขบวนการต่างๆได้อีกด้วย
7.โครงการการพัฒนาเครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาคแขวนลอยในอากาศแบบใช้หลักการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าดำเนินการโดย ดร.นคร ทิพยาวงศ์ จากภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องวัดขนาดอนุภาคแขวนลอยในอากาศสำหรับวัดการกระจายตัวขนาดอนุภาคเชิงจำนวนสำหรับอนุภาคในช่วงขนาดระหว่าง10 — 1000 นาโนเมตร ขึ้นเองภายในประเทศซึ่งการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีอนุภาคขนาดเล็กและการใช้เครื่องมือทันสมัยในการตรวจวิเคราะห์ควบคุมปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และสภาพแวดล้อม ในอุตสาหกรรมการผลิต
อิเล็กทรอนิกส์ อาหารเภสัชกรรมและการแพทย์สาธารณสุขต่อไป งบประมาณที่สนับสนุน จำนวน 1,696,700
บาท ระยะเวลา 2 ปี
8.โครงการชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบโทรคมนาคมสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่ 3 หรือ ระบบโทรศัพท์ 3G :ระยะที่ 2 (ปีที่ 2 และ 3) โดย ศ.ดร.สวัสดิ์ตันตระรัตน์ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิริธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เป็นหัวหน้าชุดโครงการ และมีทีมนักวิจัยจากสถาบันต่างๆเข้าร่วม 8 สถาบัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยศิลปากรและ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติโครงการอยู่ระยะที่ 2 ซึ่งมีแผนดำเนินการต่ออีก 2 ปี โดยแบ่งทีมวิจัยเป็น 6 กลุ่มย่อย
เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบ WCDMA โดยครอบคลุมในส่วนของเครื่องรับ—เครื่องส่งในการทำวิจัยกลุ่มย่อยต่างๆ จะถูกนำมารวมเป็นทั้งระบบ (systemintegration)และทดสอบการทำงานระบบรวมเพื่อใช้งานจริงต่อไป
โดยงบประมาณที่ได้สนับสนุนอีก 2 ปี รวมทั้งสิ้น 41,145,600.00 บาท
ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมว่าจะมุ่งเน้นในการสนับสนุนโครงการที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริงนอกเหนือจากการทำงานวิจัยด้านวิชาการและต้องพยายามผลักดันผลงานวิจัยสู่การผลิตภาคอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้นโดยต้องสอดคล้องกับเครือข่ายวิสาหกิจที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ด้วยเน้นการสร้างเครือข่ายการวิจัยและทีมวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับประเทศไทยต่อไป--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--