กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ
คลื่นการเดินของกิ้งกือ…จัดแสดง
ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)
ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคม 2547
โครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรื่อง คลื่นการเดินของกิ้งกือ (Walking with a millipede) ประกอบด้วยนักเรียนผู้จัดทำโครงงาน 3 คน ได้แก่ 1. นายจารุพล สถิรพงษะสุทธิ (สอบได้ที่ 1 ทุนเล่าเรียนหลวง ปัจจุบันศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา) 2. นายณัฐดนัย ปุณณะนิธิ ศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้รับทุน พสวท. ด้านชีววิทยา ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จนถึงระดับปริญญาเอก) 3. นายภูมิยศ วิมลกิตติวัฒน์ (ตัวแทนนักเรียนไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก และสอบเอนทรานซ์คะแนนสูงสุดของสายวิทยาศาสตร์ ปี 2547 ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยมี อาจารย์นิพนธ์ ศรีนฤมล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน โครงงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติในงาน The 2004 Intel International Science and Engineering Fair (ISEF) ณ เมือง Portland รัฐ Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2547 ระหว่างวันที่ 8-15 พฤษภาคม 2547 ได้รับรางวัล First Award จากสมาคม Sigma Xi The Scientific Research Society ประเภททีม ซึ่งมีการบูรณาการหลายสาขาวิชา (Interdisciplinary) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิกกว่า 70,000 คน ทั้งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร โดยสมาชิกดังกล่าวมีนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก เป็นสมาคมที่จัดพิมพ์วารสาร American Scientst จึงนับเป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ที่สำคัญระดับโลก
จากการเข้าร่วมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือ The 2004 Intel International Science and Engineering Fair (ISEF) รัฐ Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลและการยอมรับจากองค์กรและสมาคมต่าง ๆ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะสื่อสารและจุดประกายการศึกษาหาความรู้โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และอาชีพนักวิทยาศาสตร์ ผ่านสื่อทุกแขนง อันจะมีผลให้เด็กและเยาวชนเกิดแรงบันดาลใจที่จะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นดั่งการจุดประกายเพื่อส่องทางอนาคตของวงการวิทยาศาสตร์ของไทยให้สว่างไสวยิ่งขึ้น--จบ--
--อินโฟเควสท์ (พห)--