A-FAB จัดเต็มกิจกรรมรณรงค์ "ปกป้องสภาพภูมิอากาศ ปกป้องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ข่าวทั่วไป Thursday September 6, 2012 12:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--กรีนพีซ นักกิจกรรมแนวร่วมแห่งอาเซียนเพื่อข้อตกลงที่เป็นธรรม มุ่งมั่นและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย (Asean for a Fair, Ambitious and Binding Global Climate Deal) หรือ A-FAB ซึ่งเป็นการรวมตัวเฉพาะกิจระหว่างกรีนพีซ (Greenpeace) และอ็อกซ์แฟม (OXFAM) ได้ทำกิจกรรมรณรงค์สื่อสารโดยตรงกับผู้เข้าร่วมการประชุม Bangkok Climate Change 2012 ที่หน้าอาคารสหประชาชาติประจำประเทศไทย โดยเมื่อค่ำวันจันทร์ที่ 3 ก.ย. 2555 เวลา 19.30 น. นักกิจกรรม A-FAB ได้ทำกิจกรรมรณรงสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการฉายโปรเจคเตอร์ข้อความว่า "Save the Climate หรือ ปกป้องสภาพภูมิอากาศ Save Southeast Asia หรือ ปกป้องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ไปที่หลังคาอาคารสหประชาชาติ ต่อจากนั้น วันนี้ ( 4 ก.ย. 2555 )เวลา 09.00 น. นักกิจกรรม A-FAB ยังได้จัดกิจกรรม สื่อสารโดยตรงกับผู้เข้าร่วมการประชุม ด้วยการชูป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "Save the Climate, Save Southeast Asia” หรือ “ ปกป้องสภาพภูมิอากาศ ปกป้องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และแสดงภาพผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บริเวณหน้าอาคารสหประชาชาติ ทั้งนี้กิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นเพื่อเรียกร้องต่อตัวแทนประเทศเจรจาและผู้ร่วมการประชุมให้หาทางออกร่วมกันในการเจรจาแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความล่อแหลมและยังไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้กรุงเทพฯ ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมย่อยรอบสุดท้ายของการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ ก่อนที่จะมีการเริ่มการประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ ในเดือน ธันวาคมนี้ ภาพ โดย วินัย ดิษฐจร/กรีนพีซ/อ็อกซ์แฟม แคปชั่นรูปฉายโปรเจคเตอร์ นักกิจกรรมแนวร่วมแห่งอาเซียนเพื่อข้อตกลงที่เป็นธรรม มุ่งมั่นและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย (Asean for a Fair, Ambitious and Binding Global Climate Deal) หรือ A-FAB ซึ่งเป็นการรวมตัวเฉพาะกิจระหว่างกรีนพีซ (Greenpeace) และอ็อกซ์แฟม (OXFAM) ได้ทำกิจกรรมรณรงค์สื่อสาร สัญลักษณ์ ด้วยการฉายโปรเจคเตอร์ข้อความว่า "Save the Climate หรือ ปกป้องสภาพภูมิอากาศ Save Southeast Asia หรือ ปกป้องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ไปที่หลังคาอาคารสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2555 กิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นเพื่อเรียกร้องต่อตัวแทนประเทศเจรจาและผู้ร่วมการประชุมให้หาทางออกร่วมกันในการเจรจาแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความล่อแหลมและยังไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้กรุงเทพฯ ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมย่อยรอบสุดท้ายของการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ ก่อนที่จะมีการเริ่มการประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ ในเดือน ธันวาคมนี้ ภาพ โดย วินัย ดิษฐจร/กรีนพีซ/อ็อกซ์แฟม แคปชั่นรูปถือภาพเรื่องวิกฤตโลกร้อน นักกิจกรรมแนวร่วมแห่งอาเซียนเพื่อข้อตกลงที่เป็นธรรม มุ่งมั่นและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย (Asean for a Fair, Ambitious and Binding Global Climate Deal) หรือ A-FAB ซึ่งเป็นการรวมตัวเฉพาะกิจระหว่างกรีนพีซ (Greenpeace) และอ็อกซ์แฟม (OXFAM) ได้ทำกิจกรรมรณรงค์สื่อสารโดยตรงกับผู้เข้าร่วมการประชุม Bangkok Climate Change 2012 ที่หน้าอาคารสหประชาชาติประจำประเทศไทย ด้วยการชูป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "Save the Climate, Save Southeast Asia” หรือ “ ปกป้องสภาพภูมิอากาศ ปกป้องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และแสดงภาพผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บริเวณหน้าอาคารสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 ก.ย.2555 ทั้งนี้กิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นเพื่อเรียกร้องต่อตัวแทนประเทศเจรจาและผู้ร่วมการประชุมให้หาทางออกร่วมกันในการเจรจาแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความล่อแหลมและยังไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้กรุงเทพฯ ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมย่อยรอบสุดท้ายของการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ ก่อนที่จะมีการเริ่มการประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ ในเดือน ธันวาคมนี้ ภาพ โดย วินัย ดิษฐจร/กรีนพีซ/อ็อกซ์แฟม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ