สถาบันเอไอทีฉลองสถานะความเป็นนานาชาติ ในวาระครบรอบ 53 ปีแห่งการก่อตั้ง

ข่าวทั่วไป Friday September 7, 2012 14:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--Midas PR เป็นมหาวิทยาลัยของเอเชียทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ฉลองครบรอบ 53 ปีของการเปิดดำเนินการในประเทศไทยเมื่อวันที่ 7-8 กันยายน ศกนี้ โดยเน้นความเชื่อมโยงเป็นพิเศษกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออก อีกทั้งความเกี่ยวข้องกับประเทศที่กำลังพัฒนาในทวีปต่างๆของซีกโลกอื่น องค์การระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐบาลทางด้านการศึกษาระดับสูงแห่งเดียวของประเทศไทย ได้เปิดประตูสู่สาธารณชนในวันที่ 7 กันยายน ด้วยการแสดงถึงความเป็นนานาชาติที่เน้นเรื่องราวความสำเร็จในอดีตและความมุ่งมั่นในอนาคต คณะทูตานุทูตและแขกผู้มีเกียรติพิเศษในกรุงเทพฯ อีกทั้งศิษย์เก่า คณาจารย์ พนักงานและนักศึกษา เอไอที ร่วมงานฉลองครบรอบ 53 ปีนี้ โดยมีแขกกิตติมศักดิ์สองท่านคือ H.E. Mr. Kazi Imtiaz Hossain เอกอัครราชทูตบังคลาเทศ ประจำประเทศไทย และ H.E. Mr. Jabor Ali A.H. Al-Dosari เอกอัครราชทูตกาตาร์ ประจำประเทศไทย H.E. Mr. Kazi Imtiaz Hossain ในนามของ AIT Council ได้แสดงความยินดีด้วยความรู้สึกจากใจต่อสถาบันฯ สำหรับความสำเร็จอันมากมายในช่วง 53 ปีที่ผ่านมา และท่านยังเรียกร้องให้มีการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ของนักศึกษานานาชาติ ไปสู่ “ความฝันอันยิ่งใหญ่” ในขณะที่กล่าวต้อนรับแขกผู้ร่วมงาน อธิการบดีสถาบันเอไอที Prof. Said Irandoust ได้แสดงความขอบคุณต่อ AIT Council และทุกคนที่ร่วมงานวันครบรอบการก่อตั้งสถาบันเอไอที ต่อมาแขกผู้มีเกียรติได้รวมตัวเพื่อเป็นประจักษพยานในพิธีเชิญธงสถาบันเอไอทีขึ้นสู่เสา ซึ่งเป็นกิจกรรมไฮไลท์ของงาน “สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นมหาวิทยาลัยของเอเชีย” Prof. Said Irandoust อธิการบดีสถาบันเอไอทีกล่าว และเน้นว่าความสามัคคีและความหลากหลายของคนชาติต่างๆ ตลอดจนการเรียนรู้ที่สถาบันฯเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่แท้จริง และควรจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในคำกล่าวต้อนรับ อธิการบดีสถาบันเอไอทียังเตือนเกี่ยวกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเอเชีย เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศ และความยั่งยืน ไม่ได้หยุดอยู่ที่แนวพรมแดนของชาติต่างๆ ความเชื่อมโยงระหว่างกันของทุกวันนี้ต้องการความร่วมมือที่มีหลากหลาย เพื่อสามารถเข้าถึงการแก้ปัญหาให้ก้าวข้ามการแบ่งแยกทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมือง และนี่คือสถานที่ๆสถาบันเอไอทีสามารถหาจุดแข็งได้อย่างน่าอัศจรรย์ อธิการบดีสถาบันเอไอทีกล่าวอีกว่า “พวกเราทั้งหมดมีส่วนได้ส่วนเสียในการมีน้ำที่สะอาดไว้ดื่ม อากาศที่บริสุทธิ์ไว้หายใจ อาหารที่เพียงพอสำหรับบริโภค และพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานให้กับชีวิตของเรา เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการพิทักษ์โลกของเราอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นได้อีกต่อไป” อธิการบดีอิรานดุสยังให้ความเห็นเกี่ยวกับความทุ่มเทพิเศษของสถาบันเอไอทีต่อภูมิภาคเอเชียว่า “คนสถาบันเอไอทีคิดและปฏิบัติงานในระดับที่อยู่เหนือพรมแดนต่างๆ จากหลักสูตรการเรียนการสอนแบบนานาชาติด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ และงานวิจัยของเราที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาของสถาบันเอไอทีผลักดันความรู้และความเข้าใจใหม่ออกไปภายนอกข้ามพรมแดนประเทศ ในเวลาเดียวกับที่ความท้าทายต่างๆต่อความเป็นอยู่และความมั่นคงของประชาชนกำลังรุนแรงขึ้น” “นี่คือการที่สถาบันเอไอทีทำให้ตัวเองแตกต่างจากมหาวิทยาลัยในประเทศหลายแห่ง โดยการเชื่อมโยงกับคนในเอเชีย ให้เป็นส่วนหนึ่งของฐานความรู้ระดับภูมิภาคและระดับโลกที่กำลังเติบโตขึ้น สถาบันเอไอทีพบจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่ในการค้นหาความคิดต่างๆเพื่อประนีประนอมกับความจำเป็นของโลกทุกวันนี้ในการบรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจแบบครอบคลุมกับความยั่งยืนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม” “เช่นเดียวกับช่วงเวลากว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ยุคปัจจุบันแสดงถึงโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับการเปลี่ยนสถาบัน เอไอทีให้เป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญเพื่อความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การฝึกอบรม การพัฒนาด้านการศึกษาและวิชาชีพ ซึ่งตั้งอยู่นอกประเทศไทย แต่เชื่อมต่อกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียใต้มากขึ้น โดยสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดใหม่” อธิการบดีสถาบันเอไอทีกล่าวสรุปในท้ายสุด นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่างชาติจากประเทศปากีสถาน เนปาล และจีน ซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยของไทย 5 แห่ง ยังเข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 53 ปีของสถาบันเอไอทีอีกด้วย นักศึกษาเหล่านี้มาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งร่วมงานปะปนกับนักศึกษาเอไอที และชมอาณาบริเวณเกือบหนึ่งพันไร่ ของสถาบันเอไอที ซึ่งตั้งอยู่ ทางเหนือของกรุงเทพฯไป 40 กม. ทุกคนต่างอิ่มเอมกับเทศกาลอาหารนานาชาติและสนุกไปกับการแสดงวัฒนธรรมนานาชาติซึ่งจัดโดยกลุ่มนักศึกษา 15 ชาติของสหพันธ์นักศึกษาเพื่อเฉลิมฉลองงาน AIT Day 2012 ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นนานาชาติของสถาบันเอไอที - นักศึกษาจำนวน 2300 คนจาก 50+ ประเทศ/อาณาเขต - ศิษย์เก่าระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 19,000+ คน จาก 88 ประเทศ/อาณาเขต - ศิษย์เก่าเอไอทีใช้ชีวิตและทำงานใน 108 ประเทศ/อาณาเขต - 28% ของศิษย์เก่าเอไอทีคือคนไทย - ผู้ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นจำนวน 28,000 คนจาก 70+ ประเทศ/อาณาเขต - คณาจารย์ระดับโลกจำนวน 120 คนจาก 20+ ประเทศ ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันเอไอที สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 ทางเหนือของกรุงเทพฯ เป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงชั้นนำของเอเชีย สถาบันเอไอทีซึ่งเป็นมากกว่ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐบาล ซึ่งเน้นในระดับภูมิภาค ด้วยทัศนคติระดับโลกและมีความเป็นนานาชาติ สถาบันฯผลิตคนที่มาจากทั่วโลกซึ่งมีมุมมองเกี่ยวกับเอเชีย โดยมีคณาจารย์จากกว่า 20 ประเทศ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจากกว่า 50 ประเทศ และศิษย์เก่าระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 19,000+ จาก 88 ประเทศ สถาบันเอไอทีดำเนินพันธกิจหลักของสถาบันฯโดยการสนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการศึกษาและงานวิจัยระดับนานาชาติอย่างเข้มงวด และหลักสูตร societal outreach ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ หลักสูตรปริญญาของสถาบันเอไอทีเปิดสอนในสามสำนักวิชาคือ สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนา และสำนักวิชาวิทยาการการจัดการ นอกจากเปิดสอนในหลักสูตรปริญญา (ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก) แล้ว สถาบันเอไอทียังจัดหลักสูตรระยะสั้น/หลักสูตรฝึกอบรม ผ่าน AIT Extension และมีบริการด้านการให้คำปรึกษาผ่าน AIT Consultancy สถาบันเอไอทียังเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยและศูนย์ outreach ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น Yunus Center at AIT ซึ่งจัดตั้งด้วยความร่วมมือกับ Prof. Muhammad Yunus ผู้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพใน พ.ศ. 2549 ศูนย์ CSR Asia Center at AIT และศูนย์ Center of Excellence on Sustainable Development in the Context of Climate Change (SDCC) สถาบันฯยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ 3R (Reduce, Reuse and Recycle) Regional Knowledge Hub ซึ่งสนับสนุนโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB, UNEP และ UNESCAP สถาบันเอไอทียังเป็นที่ตั้งของ UNEP’s Regional Resource Center for Asia and Pacific (AIT-UNEP RR.CAP) ซึ่งเป็นศูนย์ร่วมกับ UNEP ศูนย์ Regional Integrated Multi-hazard Early Warning System for Asia and Africa (RIMES) และ Asia office of T?l?coms Sans Fronti?res. ข้อมูลสำคัญ จำนวนพันธมิตร: 330 จำนวนศูนย์วิจัยและศูนย์ Outreach: 15 จำนวนโครงการวิจัยและ Outreach: 400 จำนวนสาขาวิชาที่เปิดสอน: 32 จำนวนวิชาที่เปิดสอน: 1000+ จำนวนเจ้าหน้าที่วิจัย: 100+

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ