กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
ไอบีเอ็มปฏิวัติวงการยูนิกซ์ เปิดตัว IBM eServer p5 ใหม่ เป็นเซิร์ฟเวอร์ระดับสูง ทำงานด้วยระบบยูนิกซ์และลีนุกซ์ ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ POWER5 ที่มาพร้อมไมโครพาร์ทิชัน (Micro-Partitioning) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี IBM Virtualization Engine ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยลดค่าใช้จ่าย เหมาะกับงานทั้งทางธุรกิจและวิทยาศาสตร์ IBM eServer p5 ใช้เวลาพัฒนาและวิจัยถึงสามปีโดยรับแรงบันดาลใจจากคุณสมบัติของเมนเฟรม จึงมีคุณสมบัติเหนือเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ทั่วไป IBM eServer p5 ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาธุรกิจ ด้วยการใช้งานที่คุ้มค่า ให้พลังการทำงานมหาศาล มีความคล่องตัวสูง และประหยัดค่าใช้จ่ายการดูแลระบบไอที
IBM eServer p5 ใช้ขุมพลังจากไมโครโปรเซสเซอร์ POWER5 ที่มีให้เลือกตั้งแต่แบบ 2-way ไปถึง 16-way โดยยึดตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของ POWER ArchitectureTM และยังถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถถ่ายทอดพลังและขยายระดับการทำงานให้สูงกว่าเครื่องยูนิกซ์ในระดับเริ่มหรือระดับกลางทั่วไป โดยยึดตามเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) ในอุตสาหกรรม
จากการทดสอบเกณฑ์มาตรฐาน TPC-C ของ Transaction Processing Performance Council ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการเปรียบเทียบความสามารถในการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พบว่า IBM eServer p5 ทิ้งห่างเซิร์ฟเวอร์ของ HP ด้วยจำนวนโปรเซสเซอร์ที่น้อยกว่าถึง 4 เท่า IBM eServer p5 ทำลายสถิติโลกด้านการประมวลผลทางธุรกรรม ความเร็วในการสร้างเว็บ ประสิทธิภาพด้านจาวา รวมทั้งแอพ-พลิเคชันทางธุรกิจอื่นๆ อย่างน่าทึ่ง และ IBM eServer p5 ยังมีประสิทธิภาพเหนือกว่าเครื่อง HP หรือ Sun อยู่ 2 ถึง 3 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องรุ่นใหม่จากไอบีเอ็มนี้ ออกแบบมาเพื่อช่วยลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไอทีได้อย่างมหาศาล
นายศุภกิจ ติยะวัชรพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจ System and Technology Group บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “วันนี้ไอบีเอ็มประกาศเปิดตัว IBM eServer p5 ที่ได้ปฏิวัติโลกของยูนิกซ์ ด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลที่ทรงพลัง มีประสิทธิภาพสูง และมีความยืดหยุ่นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไอบีเอ็มใช้เงินลงทุนมหาศาลในการพัฒนาเทคโนโลยีของไมโครโปรเซสเซอร์ POWER5 และไมโครพาร์ทิชัน หนึ่งในเทคโนโลยีระดับสูงของ IBM Virtualization Engine ที่สืบทอดนวัตกรรมอันยาวนานกว่า 40 ปีของเมนเฟรม ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าวงการเทคโนโลยี รวมถึงมาตรฐานด้านค่าใช้จ่ายและการดูแลระบบยูนิกซ์ ส่งผลให้ธุรกิจตอบสนองต่อเงื่อนไขทางการตลาดที่แปรผันได้อย่างรวดเร็วในยุคของธุรกิจแบบออนดีมานด์”
เทคโนโลยีชิป POWERของไอบีเอ็มมียอดจำหน่ายเติบโตอย่างต่อเนื่องนับแต่การประกาศตัวไมโคร โปรเซสเซอร์ POWER4 เมื่อปี พ.ศ.2544 ปัจจุบันนี้ สถาปัตยกรรม POWER เป็นผู้นำในระดับ 64 บิตใน ตลาด เซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ของไอบีเอ็มมีส่วนแบ่งการตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาของบริษัทไอดีซี
ระบุว่า อัตราการเติบโตสูงกว่าบริษัทอื่นติดต่อกัน 8 ไตรมาส และ ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2547 ไอบีเอ็มมีอัตราการเติบโตของยอดขายยูนิกซ์สูงสุดเมื่อเทียบกับ Sun และ HP โดยมีอัตราการเติบโตของรายได้จากยูนิกซ์แบบปีต่อปี และมีการขยายส่วนแบ่งรายได้ในตลาด 15 % ในขณะที่ Sun และ HP ต่างเสียส่วนแบ่งรายได้ไป เซิร์ฟเวอร์ p5 ใหม่จากไอบีเอ็มสามารถทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์รุ่นปัจจุบัน eServer pSeries ได้อย่างลงตัว ช่วยให้การถ่ายโอนระบบงานมาที่เซิร์ฟเวอร์ใหม่เป็นไปได้ง่ายและต่อเนื่อง
ขุมพลังจาก POWER5, AIX 5L และเทคโนโลยีไมโครพาร์ทิชันที่เป็น IBM Virtualization Engine POWER5 ภายในโปรเซสเซอร์ POWER5 ใหม่หนึ่งตัว ประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์ถึง 276 ล้านตัว ผลิตด้วยเทคโนโลยีการเดินเส้นทองแดงขนาด 0.13 ไมครอนและ SOI (Silicon-on-Insulator) ของไอบีเอ็ม POWER5 ท้าทายความเชื่อในอดีตเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพกับความเร็วของนาฬิกาโปรเซสเซอร์ อีกทั้งยังรองรับระดับการรวมประสานที่ยอดเยี่ยม ซึ่ง POWER5 ได้รวมเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำและส่วนจัดการงานที่เคยอยู่นอกชิปมายาวนาน เข้ามาไว้ในส่วนเดียวกับไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลอีกด้วย
IBM Virtualization Engine เทคโนโลยีไมโครพาร์ทิชันจากไอบีเอ็ม คือหนึ่งใน IBM Virtualization Engine ที่ช่วยแบ่งย่อยโปรเซสเซอร์ให้กลายเป็น “เซิร์ฟเวอร์เสมือน” ได้มากถึง10 ตัว ทำให้ eServer p5 สามารถควบรวมงานที่มีโหลดแยกอิสระไว้ด้วยกัน เหมือนเป็นการควบคุมกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ (Server Farm) จากจุดเดียวอย่างง่ายดาย IBM Virtualization Engine ยังเอื้อให้การควบคุมการทำงานระบบทั้งในส่วนงานระบบ งานการกระจายและการจัดสรรโหลดงาน สามารถทำได้จากคอนโซลเดียว--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--