อินเทล: โปรเซสเซอร์กินไฟต่ำ พร้อมรองรับนวัตกรรมการใช้โมบายล์ คอมพิวติ้งแห่งอนาคต

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday September 12, 2012 11:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--คาร์ลบายร์แอนด์แอสโซซิเอทส์ ระบบประมวลผลแบบสัมผัสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และอุปกรณ์ ประเด็นข่าว - ในปี 2556 โปรเซสเซอร์ตระกลู อินเทล? คอร์? เจนเนอเรชั่น 4 ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม “แฮสเวลล์” (Haswell) จะนำคุณสมบัติที่เร็วขึ้น บางลง เบาลง ก่อให้เกิดความร้อนลดลงเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น และมีระบบกราฟิกฝังอยู่ภายในเครื่องออกสู่ตลาด - โปรเซสเซอร์กินไฟต่ำรุ่นใหม่ จะช่วยลดการใช้พลังงานและเป็นแรงบันดาลใจสำหรับอัลตราบุ๊ก? ซึ่งมีความล้ำสมัย ทั้งแบบคอนเวิร์ทิเบิล และแทบเล็ตดีไซน์ ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพอันเหนือชั้นจากสถาปัตยกรรม “แฮสเวลล์” (Haswell) - Intel Perceptual Computing Software Development Kit Beta (ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบประมวลผลแบบสัมผัสเบต้าของอินเทล) จะเปิดประสบการณ์การใช้งานแบบธรรมชาติ ที่เรียนรู้ได้เอง โดยใช้การเคลื่อนไหวและระบบสั่งการด้วยเสียงมาสู่แพลตฟอร์มของอินเทล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของอินเทลเปิดเผยถึงโปรเซสเซอร์แบบกินไฟต่ำรุ่นใหม่ นำโดยโปรเซสเซอร์ ตระกูลอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ซึ่งพร้อมวางจำหน่ายในปีหน้า จะเข้ามายกระดับมาตรฐานในการประมวลผลสำหรับโมบายล์ คอมพิวติ้ง และต่อยอดนวัตกรรมสำหรับอัลตร้าบุ๊ก แบบคอนเวิร์ทิเบิล และแทบเล็ตดีไซน์ใหม่ นายเดวิด (ดาดี) เพิร์ลมัตเตอร์ แถลงในช่วงเปิดงานอินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ณ เมืองซานฟรานซิสโก โดยกล่าวว่า โปรเซสเซอร์ ตระกูลอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม “แฮสเวลล์” รุ่นต่อไป จะช่วยลดการใช้พลังงานมากกว่าโปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ถึงกว่า 20 เท่า โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานที่เหนือชั้น และการตอบสนองที่รวดเร็ว นอกจากนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2556 อินเทลมีแผนที่จะทยอยเปิดตัวโปรเซสเซอร์ที่กินไฟต่ำซึ่งใช้สถาปัตยกรรมไมโครอาคิเทคเจอร์รุ่นเดียวกันรวมทั้งสิ้น 11 ตัว ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้คือความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของอินเทลที่ต้องการลดการใช้พลังงาน เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ พร้อมนำเสนอดีไซน์โมบายล์รูปแบบใหม่ โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ การรับชมกราฟิก และการทำงานของมิเดียอื่นๆได้เป็นอย่างดี “โปรเซสเซอร์ ตระกูล อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 และโปรเซสเซอร์กินไฟต่ำรุ่นใหม่ของเราจะนำไปสู่ยุคการประมวลผลอุปกรณ์พกพา ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การนำเสนอโปรเซสเซอร์กินไฟต่ำแต่ยังเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยม เป็นสิ่งที่อินเทลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะตั้งแต่ปี 2544 เราไม่ได้พัฒนาโดยเน้นที่ความเร็วเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ผลลัพธ์ที่ได้คือเราเห็นบริษัทผู้ผลิตสามารถพัฒนาคอนเวิร์ทิเบิล ดีไซน์ ที่มีความบางเบาและโดดเด่น พร้อมกับนำเสนอประสบการณ์การใช้งานอันล้ำสมัย จากจำนวนอุปกรณ์โมบายหลากหลายชนิด ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง” เพริล์มัตเตอร์กล่าว อินเทล สร้างรูปแบบการใช้งานโมบายหลากหลายชนิดและ คอนเวิร์ทิเบิลดีไซน์ นับตั้งแต่ปีที่แล้ว อินเทลได้สร้างและลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบของอัลตร้าบุ๊ก จนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการสรรสร้างนวัตกรรมแห่งการประมวลผล ทำให้มีอัลตร้าบุ๊กกว่า 140 ดีไซน์อยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยมีจำนวนหนึ่งเป็นแบบคอนเวิร์ทิเบิล และอีกกว่า 70 รุ่นที่ใช้อินเทล? คอร์? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 3 ซึ่งวางจำหน่ายแล้วในปัจจุบัน เมื่อโปรเซสเซอร์ ตระกลู อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 4 ขนาด 22 นาโนเมตรถูกนำมาใช้สำหรับอัลตร้าบุ๊ก และพีซีรุ่นอื่นในปี 2556 จะสามารถรองรับภาพกราฟิกระดับไฮเดฟฟินิชั่นจาก Intel HD graphics พร้อมด้วยชุดคำสั่งใหม่ ที่ช่วยให้การเข้ารหัสเร็วขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยใหม่ในรูปของฮาร์ดแวร์ และโปรเซสเซอร์กินไฟต่ำเพื่อยืดอายุการใช้แบตเตอรี่ นอกจากนั้นเพื่อเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับโมบายล์ คอมพิวติ้ง ชิปกินไฟต่ำของอินเทลที่ใช้สถาปัตยกรรม “แฮสเวลล์” รุ่นต่อไป จะขยายแผนการพัฒนาอุปกรณ์โมบายของอินเทลจากเดิม โดยใช้ไฟเพียง 10 วัตต์ เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น ภายใต้ อัลตร้าบุ๊กแบบ คอนเวิร์ทิเบิล และแท็บเล็ตดีไซน์ที่บางเบากว่าเดิม เพิร์ลมัตเตอร์ยังได้อธิบายเพิ่มเติมถึงอุปกรณ์โมบายล์ในวงกว้างว่า อินเทลจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการประมวลผลบนโมบายล์ทุกรูปแบบ ในเร็วๆนี้ อินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่นต่อไป (ชื่อรหัส “โคลเวอร์ เทรล” Clover Trail) จะเป็นซิสเต็มส์ออนชิป (SoC) ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับ วินโดวส์ 8* โดยเฉพาะ โปรเซสเซอร์รุ่นนี้จะใช้กระบวนการผลิตขนาด 32 นาโนเมตร เพื่อเป็นขุมพลังให้กับแท็บเล็ตและ คอนเวิร์ทิเบิลที่มีน้ำหนักเบา มาพร้อมกับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น และ เทคโนโลยี always-on ภายใต้ดีไซน์ที่เพรียวบางอีกด้วย เพริล์มัตเตอร์กล่าวต่อถึงประโยชน์จากอุปกรณ์ที่รองรับวินโดวส์ 8* ที่ใช้ชิปของอินเทล โดยยกตัวอย่าง แท็บเล็ตและคอนเวิร์ทิเบิลที่ใช้อินเทล อะตอม และ อินเทล คอร์ ซึ่งจะมาพร้อมกับคุณสมบัติใหม่ๆ อีกมากมาย เช่น เพิ่มสมรรถนะในการรับชมมิเดีย ไปจนถึงระบบรักษาความปลอดภัยในตัวสำหรับโซลูชั่นเฉพาะทางเพื่อการใช้งานในระดับองค์กร และคุณสมบัติในการรองรับแอพลิเคชั่นที่หลากหลายซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับสถาปัตยกรรมการผลิตโปรเซสเซอร์ ของอินเทล ที่มีอยู่แล้วทำให้สามารถควบคุมการลงทุนใหม่ของไอทีซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าอีกด้วย “เราเชื่อว่าวินโดวส์8* ที่ใช้สถาปัตยกรรมของอินเทล จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบที่สุด มอบประสิทธิภาพที่ดีที่สุด อีกทั้งสามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม และระบบประมวลผลอื่นๆ ได้อีกด้วย” เพิร์ลมัตเตอร์กล่าว ยุคแห่งประสบการณ์การประมวลผลแบบสัมผัสที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวว่า รูปแบบการประมวลผลได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม สู่การประมวลผลที่เน้นการใช้ประสาทสัมผัส ที่อุปกรณ์จะมีสัมผัสแบบเดียวกับมนุษย์ เพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ โดยอินเทลมีความมุ่งมั่นในการนำเสนอคุณสมบัติเหล่านี้บนแพลตฟอร์มของอินเทลทั้งในรุ่นปัจจุบันและรุ่นใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพิร์ลมัตเตอร์เรียกร้องให้เหล่านักพัฒนาหันมาทำงานร่วมกับอินเทลเพื่อนำเอาระบบประมวลผลแบบสัมผัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มที่ใช้ อินเทล คอร์ โดยได้เปิดตัวชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบประมวลผลแบบสัมผัสเบต้าของอินเทล (Intel Perceptual Computing Software Development Kit Beta - SDK) SDK ซึ่งมีแผนที่จะเปิดตัวในต้นไตรมาสที่ 4 จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ สามารถพัฒนาระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวของร่างกาย ใบหน้า ระบบสั่งการด้วยเสียง รวมถึงความสามารถในการนำโลกเสมือนจริงสู่โลกแห่งความเป็นจริงบนระบบอัลตร้าบุ๊กและพีซีที่ใช้ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น รุ่นปัจจุบัน เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวทิ้งท้าย ถึงความก้าวหน้าของอินเทลในการพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียง บนอัลตร้าบุ๊ก ที่ใช้ Nuance Dragon Assistant* Beta เพื่อรองรับ อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ โดยเดลล์มีแผนที่จะนำเอา Dragon Assistant* Beta มาติดตั้งในเครื่อง Dell* XPS13 เพื่อจำหน่ายในที่สหรัฐอเมริกา ภายในไตรมาสหน้านี้ อินเทลเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผลรวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand นายเดวิด เพิร์ลมัตเตอร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์พูดถึงอินเทล? อะตอม? โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่นต่อไป ชื่อรหัส “โคลเวอร์ เทรล” (CloverTrail)เพื่อเป็นขุมพลังให้กับแท็บเล็ตและ คอนเวิร์ทิเบิลที่มีน้ำหนักเบา มาพร้อมกับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นและ เทคโนโลยี always-on

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ