กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--โตโยต้า มอเตอร์
นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการถนนแห่งรอยยิ้ม 2” จังหวัดชุมพร โดยมี นายวุฒิกร สุริยะฉันทนา-นนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดร่วมด้วย พันตำรวจเอกจักรัช สาริกาพันธ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ดร.ดนัย เรืองสอน ผู้อำนวยการแขวงการทางจังหวัดชุมพร และหัวหน้า สอจร. ภาคกลาง นายอุทัย กันทะวงศ์ สอจร. และหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายพิสนธ์ ธนาศรี ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดชุมพร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “ถนนแห่งรอยยิ้ม” แห่งที่ 2 ปรับปรุงถนนให้ปลอดภัยในเขตภาคใต้ จังหวัดชุมพร บริเวณแยกปฐมพร ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมครบรอบ 50 ปี โตโยต้า ที่จะร่วมส่งความสุข สร้างรอยยิ้มให้แก่คนไทย พร้อมเครือข่ายถนนสีขาวและเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในจังหวัดชุมพร และผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าชุมพร โดยจัดพิธีฯในวันเสาร์ที่ 8 กันยายน ศกนี้ ณ ตลาด 100 ร้าน แยกชุมพรราม่า จ.ชุมพร
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยยึดหลักปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของ มร.ซากิชิ โตโยดะ ผู้ก่อตั้งโตโยต้า “ร่วมมือกันทำงานให้บรรลุความสำเร็จ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตเคียงคู่ไปด้วยกัน” ทำให้โตโยต้าได้รับการยอมรับทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ และในโอกาสครบรอบ 50 ปี โตโยต้าขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแทนสังคมไทยที่ได้ร่วมทางตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อส่งมอบความสุขและสร้างรอยยิ้มให้ปี 2555 เป็นปีแห่งความสุขของทุกคน ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมจากภายในองค์กร ขยายไปสู่ชุมชนรอบข้าง และออกไปยังทั่วประเทศ
หนึ่งในกิจกรรมครบรอบ 50 ปี โตโยต้ามีความตั้งใจที่จะบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ลูกค้า ชุมชน และผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า รวมทั้งส่งเสริมนโยบายภาครัฐเกี่ยวกับ “ทศวรรษแห่งการลงมือทำเพื่อความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Road Safety : Time for Action) และ “สังคมคาร์บอนต่ำ” (Low Carbon Society) ผ่านการสร้างสรรค์โครงการ ถนนแห่งรอยยิ้ม (Smiling Road) มีแนวคิดในการดำเนินงาน คือ “ถนนต้นแบบที่มีความปลอดภัยผสานด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชน” หรือ Eco Safety Road ถนนต้นแบบ 5 เส้นทาง 5 ภูมิภาค ภายในปี 2555 โดยจังหวัดที่ 2 ได้ดำเนินงานที่จังหวัดชุมพร บริเวณแยกปฐมพร (สี่แยกทางตัน) ซึ่งเป็นจุดที่มีการจราจรติดขัดและเกิดอุบัติเหตุในทางกลับรถเป็นประจำ ดังนั้น โตโยต้าจึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายถนนสีขาว (Toyota White Road Society) และเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Toyota Eco Network) ในจังหวัดชุมพร ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
- เทศบาลนครชุมพร
- สถานีตำรวจภูธรจังหวัด
- สาธารณสุขจังหวัด
- ขนส่งจังหวัดชุมพร
- แขวงการทาง
- สำนักงานทางหลวงชนบท
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร
- บริษัท โตโยต้าชุมพร จำกัด
ในการปรับปรุงถนนและเส้นทางจราจร โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน ผนวกกับการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมกับพื้นที่และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยถนนแห่งรอยยิ้มในจังหวัดชุมพร จะประกอบไปด้วย
- วงเวียนบริเวณแยกปฐมพร (สี่แยกทางตัน) จะช่วยลดความเร็วของผู้ใช้รถ และเกิดการหมุนเวียนของรถได้สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
- ติดตั้งป้ายจราจร พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร เพื่อให้คนในชุมชนรู้จักวินัยในการใช้รถใช้ถนน รวมถึงความมีน้ำใจให้กับคนเดินเท้าและผู้ใช้รถด้วยกัน
- วัสดุในการก่อสร้าง เลือกใช้วัสดุรีไซเคิล และมีจำหน่ายในท้องถิ่น เพื่อลดการเกิดมลพิษจากการขนย้าย
- การเลือกใช้สี “Photo Catalytic” ซึ่งจะช่วยดูดอากาศเสียเปลี่ยนเป็นอากาศดี โดยการช่วยปล่อยก๊าซอ๊อกซิเจน ช่วยให้ชุมชนได้รับอากาศที่ดี
- การปลูกต้นไม้ภายในวงเวียนและรอบโครงการ เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามหลักการของ ดร.อาคิระ มิยาวากิ โดยจะเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้การเจริญเติบโตเร็ว ดูแลง่าย และมีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ
การดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 เป็นการเปิดโครงการถนนแห่งรอยยิ้ม ผ่านพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ระหว่างโตโยต้า หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน เครือข่ายความปลอดภัยบนท้องถนนในจังหวัดชุมพร และผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าชุมพร พร้อมทั้งเป็นการเปิดตัวโครงการฯ โดยให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างถนนแห่งรอยยิ้ม ผ่านกิจกรรม
- ประกวดวาดภาพถนนแห่งรอยยิ้ม ถนนในจินตนาการของเยาวชนในท้องถิ่น
- ปลูกต้นไม้ เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ช่วยดูดซับอากาศเสียและสร้างอากาศดีให้กับคนในชุมชน
- สาธิตการใช้วงเวียนอย่างถูกต้อง เพื่อรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงการใช้รถใช้ถนนอย่างมีวินัยและน้ำใจ
- จัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ถึงปัญหาและวิธีการลดอุบัติเหตุจากโครงการฯ
โดยในงานมีศิลปินนักแสดงเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ โก๊ะตี๋-อารามบอย น็อต-วรฤทธิ์ และ เนย-โชติกา ที่จะมาร่วมให้ความสุขและความรู้ของการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
หลังจากพิธีลงนามฯ จะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน คือ เดือนมีนาคม 2556
ช่วงที่ 2 เป็นการส่งมอบถนนแห่งรอยยิ้มให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ ชุมชน และเครือข่ายความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งถือเป็นถนนต้นแบบของภาคใต้ที่มอบให้กับชาวชุมพร เพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินทาง และช่วยลดอุบัติเหตุ
นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า “ผมขอแสดงความชื่นชมต่อบริษัท โตโยต้าฯ องค์กรภาคเอกชนที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง และขอขอบคุณแทนพี่น้องชาวชุมพรที่ได้เลือกจังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดต้นแบบในภูมิภาคนี้ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนนแห่งรอยยิ้ม เพื่อเป็นต้นแบบถนนแห่งวินัย น้ำใจ และมีความปลอดภัยควบคู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชน อีกทั้งยังเป็นถนนที่ขับเคลื่อนพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ตลอดจนภาคเอกชนอย่างเป็นเอกภาพ และสอดคล้องกับพันธกิจหลักกับทุกภาคส่วนได้อย่างสร้างสรรค์ ในนามของจังหวัดชุมพร ขอขอบคุณและมีความยินดีที่โตโยต้าได้ดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องกว่า 50 ปี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโตโยต้า จะสร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนกับสังคมไทยตลอดไป”
พันตำรวจเอก จักรัช สาริกาพันธ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในนามของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร เราให้การสนับสนุนและเข้าร่วมโครงการ ถนนแห่งรอยยิ้ม ในฐานะกำกับดูแล อำนวยความสะดวกด้านการจราจรแก่ประชาชน ตลอดจนกวดขันวินัยกับผู้ใช้รถใช้ถนนให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด สำหรับผมและเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน มีความภาคภูมิใจที่จังหวัดชุมพร ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการและถือเป็นตัวแทนของภาคใต้ ซึ่งโครงการล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเยาวชน และพี่น้องประชาชนชาวชุมพรโดยรวมอย่างแท้จริง และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ถนนแห่งรอยยิ้มจะเป็นต้นแบบที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างมีวินัยถูกต้องตามกฎจราจร และช่วยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างต่อเนื่องตลอดไป”
ดร. ดนัย เรืองสอน ผู้อำนวยการแขวงการทางชุมพร และ หัวหน้า สอจร. กล่าวว่า ”ในวาระครบรอบ 50 ปี โตโยต้าได้ดำเนินโครงการดีๆ ที่มีชื่อว่า “ถนนแห่งรอยยิ้ม” เป็นโครงการที่สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ทั้งในส่วนกลางและแขวงการทางตลอดจนภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ด้วยการนำแนวคิด ECO SAFETY ROAD เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนควบคู่กับการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีความเป็นระเบียบและสวยงาม และสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือนจากต่างถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผมในฐานะตัวแทนจากแขวงการทางจังหวัดชุมพร และ สอจร. ขอขอบคุณบริษัทโตโยต้าฯ อย่างจริงใจ และยินดีที่จะให้ความร่วมมือ ในการสร้างสรรค์กิจกรรมที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อม และการเดินทางบนท้องถนนด้วยความปลอดภัยอย่างแท้จริง”
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “โตโยต้า มีความมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กรที่ดี มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยถือเป็นพันธกิจหลักของโตโยต้า ผ่านความร่วมมือตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐและภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ และในโอกาสครบรอบ 50 ปี โตโยต้า จึงได้สร้างสรรค์โครงการ “ถนนแห่งรอยยิ้ม” เพื่อส่งความสุขและสร้างรอยยิ้มคืนสู่ชุมชนและคนไทยทั่วทุกภูมิภาค
ในนามของบริษัทโตโยต้าฯ ขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในจังหวัดชุมพร ที่เข้าร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการ ถนนแห่งรอยยิ้ม โดยถือเป็นจังหวัดที่สอง และจะเป็นถนนต้นแบบของภาคใต้ ซึ่งเกิดจากพลังความร่วมมือของเครือข่ายถนนสีขาวและเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ทำให้เป็นถนนต้นแบบที่มีความปลอดภัย ส่งเสริมให้ชุมชนมีวินัยและน้ำใจในการใช้รถใช้ถนน ควบคู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชน และขยายต่อไปยังชุมชนใกล้เคียง นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดระบบการปฏิบัติงานและการจัดการที่ดีในระดับภูมิภาคและขยายไปสู่การทำงานในระดับจังหวัดครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้และเครือข่ายการลดอุบัติเหตุ ทำให้อุบัติเหตุทางถนนของประเทศลดลงอย่างจริงจังและยั่งยืน และนี่เป็นหนึ่งในปณิธานการดำเนินธุรกิจของโตโยต้า”
“50 ปี โตโยต้า ร่วมทางตลอดมา เคียงข้างตลอดไป”
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.toyota.co.th/prdatabase/01.asp?news_id=407
รายละเอียดโครงการ “ถนนแห่งรอยยิ้ม” (Smiling Road)
โครงการ “ถนนแห่งรอยยิ้ม” (Smiling Road) มีแนวคิดในการดำเนินงาน คือ “ถนนต้นแบบที่มีความปลอดภัยผสานด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชน” หรือ Eco Safety Road เป็นการดำเนินงานภายใต้เครือข่ายความปลอดภัยทางถนน และเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์
- สร้างถนนต้นแบบที่มีความปลอดภัย ลดจุดเสี่ยงอันตรายที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
- การดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชน
- สร้างชุมชนที่ยั่งยืนโดยรอบถนนแห่งรอยยิ้ม
โครงการ “ถนนแห่งรอยยิ้ม” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้การลงนามความร่วมมือของภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนน ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การลดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนน ได้แก่
- บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กรมทางหลวง
- โครงการสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดนำร่อง (สอจร)
- ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (ศวปถ)
- ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
- สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เป็นถนนต้นแบบ 5 ภูมิภาค 5 เส้นทาง ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งพื้นที่ที่ทำการปรับปรุงทั้ง 5 จุดนี้จะพิจารณาจากสถิติอุบัติเหตุปี พ.ศ. 2552-2553 และความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะทำการปรับปรุง ได้แก่
ภูมิภาค จังหวัด สถานที่
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ บริเวณวงเวียนหน้าสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ อุดรธานี
ภาคกลาง จ.สมุทรปราการ บริเวณชุมชนใกล้โรงงานโตโยต้า
ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา บริเวณทางแยกศรีโสธร— ศรีโสธรใหม่ - เทพคุณากร
ภาคใต้ จ.ชุมพร บริเวณแยกปฐมพร (สี่แยกทางตัน)
จากการดำเนินงาน “ถนนแห่งรอยยิ้ม” ภายใต้แนวคิด “ถนนต้นแบบที่มีความปลอดภัยผสานด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชน” หรือ Eco Safety Road โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน (Traffic Engineering ) และภูมิสถาปัตย์ (Landscape Architecture) ซึ่งนำองค์ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมมาจัดวางองค์ประกอบทางธรรมชาติอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1) ด้านความปลอดภัยบนท้องถนน (Road Safety)
จากการศึกษาและพิจารณารูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ ความเร็วและความง่วง ที่เกิดขึ้นบนถนนในชุมชน เทศบาลและบนทางหลวง ดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขพื้นที่ให้ “ถนนแห่งรอยยิ้ม” เป็นถนนต้นแบบที่จะช่วยลดจุดเสี่ยง มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้หลักการแก้ไขทางวิศวกรรม ได้แก่
- การประยุกต์ใช้วงเวียนในถนนของชุมชน (Roundabout) เพื่อลดความเร็ว
- การติดตั้งแถบสะเทือนไหล่ทาง (Longitudinal Rumble Strips) เพื่อเป็นการเตือนผู้ขับขี่เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าและเกิดความง่วง
- สนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านจราจรและส่งเสริมให้เกิดความมีวินัยและน้ำใจในการใช้รถใช้ถนนไปสู่วัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยของชุมชน
2) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
เป็นการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิตรกับชุมชน โดยพิจารณาถึง
- การเลือกใช้วัสดุนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้สี “Photo Catalytic” ซึ่งจะช่วยดูดอากาศเสียเปลี่ยนเป็นอากาศดี โดยการช่วยปล่อยก๊าซอ๊อกซิเจน ช่วยให้ชุมชนได้รับอากาศที่ดี การออกแบบที่คำนึงถึงการใช้วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่มีความ สามารถในการดูดซับสารประกอบอินทร์ย์ไอระเหย (VOCs) จากรถยนต์ได้
- ก่อให้เกิดความสวยงามด้านทัศนียภาพ ด้วยการปลูกต้นไม้ เน้นเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น และมีคุณสมบัติในการช่วยลดค่ามลพิษทางอากาศได้ โดยคำนึงถึงภูมิสถาปัตย์ทางถนนที่เหมาะสมกับการจราจรอีกด้วย
นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนที่ยั่งยืนโดยรอบถนนแห่งรอยยิ้ม ด้วยการให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการถนนแห่งรอยยิ้มไม่ว่าจะเป็น การเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงถนน การร่วมปลูกต้นไม้ในชุมชุน การนำวัสดุอุปกรณ์หรือสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นมาเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างวงเวียนและโดยรอบของถนนฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดความหวงแหนและร่วมกันดูแลรักษาของคนในชุมชน
สิ่งที่คาดหวังจากการดำเนินโครงการถนนแห่งรอยยิ้ม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
สร้างต้นแบบถนนแห่งรอยยิ้ม โดย บจก. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน
โดยภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐส่วนกลางและภาครัฐท้องถิ่น
ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
1) ต้นแบบถนน 5 สายทั่วภูมิภาค ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่การบันทึกข้อตกลง 1) เกิดกลุ่มคณะทำงานขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมโดยภาคีเครือข่ายระดับจังหวัดและท้องถิ่น 1) สนับสนุนให้เกิดระบบการปฏิบัติงาน การจัดการ และตระหนึกถึงความ สำคัญด้านความปลอดภัยบนท้องถนนควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค 1) นำแนวทางในเชิงวิชาการมาส่งเสริมองค์ความรู้ของชุมชนช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนตามนโยบายภาครัฐสอดรับทศวรรษแห่งความปลอด ภัยทางถนน
2) องค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยภายใต้แนวคิด ถนนปลอดภัยควบคู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อชุมชน หรือ Eco Safety Road 2)มิติความร่วมมือในระดับจังหวัด หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ประชาชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2)ขยายองค์ความรู้ของถนนต้นแบบนี้ไปสู่การทำงานในระดับภูมิภาค 2)ขยายเครือข่ายสู่การปฏิบัติจริงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ