ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อพื้นที่และผลผลิตการเกษตรไทยในปัจจุบัน

ข่าวทั่วไป Tuesday September 18, 2012 11:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ดร.จารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) เปิดเผยว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) ได้ร่วมกับสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยจากการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดในพื้นที่ในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง รวม 14 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา อ่างทอง พิจิตร พิษณุโลก สุพรรณบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร ชัยนาท ลพบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สิงห์บุรี และสระบุรี มีรายละเอียดดังนี้ 1. ภาพรวมพื้นที่ในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างรวม 14 จังหวัด พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว โดยในปี 2555 มีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 14.39 ล้านไร่[1] พื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยโรงงาน 3.78 ล้านไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง 1.51 ล้านไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1.47 ล้านไร่ พื้นทีปลูกถั่วเขียว 0.8 ล้านไร่ 2. สถานการณ์น้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่และผลผลิตภาคการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก โดยจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ วันที่ 11 กันยายน 2555 พบว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างรวม 1.37 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนั้น ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวในเขตน้ำท่วม ซึ่งเกษตรกรได้มีการปรับตัวโดยเร่งปลูกข้าวเพื่อให้เก็บเกี่ยวได้ภายในเดือนสิงหาคม ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีและอ่างทอง มีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวได้ทันก่อนน้ำท่วมเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69 ของพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 3. ผลการประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจเบื้องต้น - คาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2555 มีทั้งสิ้น 0.43 ล้านไร่ หรือร้อยละ 3.0 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดใน 14 จังหวัด หรือร้อยละ 0.7 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ - คาดว่าผลผลิตข้าวในปี 2555 จะลดลง 210,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของผลผลิตข้าวใน 14 จังหวัด หรือร้อยละ 0.8 ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ - สถานการณ์น้ำท่วม สร้างความสูญเสียต่อภาคการผลิตข้าวรวมทั้งสิ้น 2,234 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ความสูญเสียจากผลผลิตข้าวในปี 2555 ลดลง คิดเป็นมูลค่า 2,057 ล้านบาท (2) ความสูญเสียจากต้นทุนการผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 82 ล้านบาท และ (3) ความสูญเสียจากการได้รับราคาข้าวเปลือกที่ลดลง จากการเร่งขายข้าวหนีน้ำท่วม คิดเป็นมูลค่า 95 ล้านบาท ตารางที่ 1 พื้นที่เพาะปลูก ผลผลิต และความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อภาคการผลิตข้าวจากสถานการณ์น้ำท่วม ของพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง รวม 14 จังหวัด รายการ จำนวน 1. พื้นที่ปลูกข้าวรวม 14 จังหวัด 14.39 ล้านไร่ 2. พื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม (จากภาพถ่ายดาวเทียม สถานีรับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์) 1.37 ล้านไร่ 3. พื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม (ประมาณการจากภาพถ่ายดาวเทียม) 0.43 ล้านไร่ 4. ผลผลิตข้าวรวม 14 จังหวัด 7.84 ล้านตัน 5. ประมาณการผลผลิตข้าวที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม 0.21 ล้านตัน 6. ประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อภาคการผลิตข้าวรวม 2,234 ล้านบาท 6.1 ความสูญเสียจากผลผลิตข้าว ลดลง 2,057 ล้านบาท 6.2 ความสูญเสียจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 82 ล้านบาท 6.2 ความสูญเสียจากการขายข้าวเปลือกในราคาที่ลดลง 95 ล้านบาท สำหรับแนวทางการดำเนินนโยบายในอนาคตเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ภัยพิบัติที่สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในระยะสั้น รัฐบาลควรให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ในระยะปานกลาง-ยาว ควรมีการให้ความรู้และสนับสนุนการปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ เช่น การเปลี่ยนรูปแบบและรอบของการปลูกข้าว การเน้นการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและทนต่อความแปรปรวนของอากาศ และสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาระบบการติดตามข้อมูลและเตือนภัยสถานการณ์ภัยพิบัติให้กับเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น [1] เฉพาะพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ