กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--เนคเทค
กำหนดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น “จะเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้บังคับกฎหมายลูกภายใต้กฎหมาย e-Transactions อย่างไร” จัดโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ร่วมกับ
สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานกิจการยุติธรรม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สภาทนายความ หอการค้านานาชาติประเทศไทย
ชมรมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
วันพุธที่ 1 กันยายน 2547
ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 4
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่
1. หลักการและเหตุผลสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545 เป็นต้นมา ในมาตรา 3 มาตรา 25 และมาตรา 35 ได้กำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ
อันได้แก่
การกำหนดประเภทธุรกรรมที่มิให้ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การกำหนดวิธีการแบบปลอดภัย และการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อให้การใช้บังคับพระราชบัญญัติฯ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ นั้น
โดยที่ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 3 ว่าด้วยการกำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับ และร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 35 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐแล้วเสร็จโดยขณะนี้ร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 3 อยู่ในระหว่างเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 35 อยู่ในระหว่างเตรียมนำเสนอคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
นอกจากนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 25 ว่าด้วยวิธีการแบบปลอดภัยก็กำลังจะแล้วเสร็จในลำดับถัดไปภายในเดือนสิงหาคม 2547 นี้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ผู้ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสามฉบับดังกล่าวในชั้นคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับฟังความคิดเห็นรวมทั้งประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในอนาคต จากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับแก้ร่างพระราชกฤษฎีกาให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดและความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสามฉบับนี้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์และชัดเจนมากขึ้นประกอบกับเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสำหรับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาต่อไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
2.2 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อการปรับปรุงเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกา รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมาย
2.3 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการใช้บังคับกฎหมายในอนาคต
3. กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประมาณ 800-1,000 คน จากสาขาต่างๆ ดังนี้
คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ประมาณ 50 คน
นักกฎหมายและนักเทคโนโลยีจากหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 500 คน
นักกฎหมายและนักเทคโนโลยีจากหน่วยงานเอกชน ประมาณ 300 คน
สื่อมวลชนและ NGO ประมาณ 50 คน
นักวิศวกรรมศาสตร์ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ประมาณ 100 คน
เทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. รูปแบบการจัดงาน
เป็นการสัมมนา โดยวิทยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
5. วัน เวลา สถานที่
วันพุธที่ 1 กันยายน 2547 เวลา 08.30—16.30 น.
ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ
6. หน่วยงานที่จัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานกิจการยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สภาทนายความ หอการค้านานาชาติประเทศไทย และ ชมรมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
7. กำหนดการ
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-09.10 กล่าวรายงาน
โดย นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
09.10-09.30 กล่าวเปิดงาน
โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
09.30-10.00 พักรับประทานอาหารว่าง
10.00-12.30 ร่างพระราชกฤษฎีกาภายใต้กฎหมาย e-Transactions
การกำหนดข้อยกเว้นการใช้บังคับกฎหมาย
การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
วิธีการแบบปลอดภัยที่จะทำให้ธุรกรรมออนไลน์มีความน่าเชื่อถือ
โดย นายคัมภีร์ แก้วเจริญ
- รองอัยการสูงสุด
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ประธานคณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย
นายชวลิต อัตถศาสตร์
- กรรมการ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- อนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
- ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ประธานคณะอนุกรรมการด้านความมั่นคง
12.30-13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-15.00 จะเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี บุคลากร รวมทั้งกฎระเบียบอย่างไร
และคำถาม-คำตอบข้อสงสัยสู่ทางปฏิบัติ
โดย นายพล ธีรคุปต์
- นิติกร 8 ว. สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
- อนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย
นายกำพล ศรธนะรัตน์
- ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
- รองผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการงานคอมพิวเตอร์
วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อนุกรรมการด้านความมั่นคง
ทีมกฎหมายและทีมวิศวกร/นักวิทยาศาสตร์จากเนคเทค
15.00-16.30 รับฟังความคิดเห็น
หมายเหตุ วิทยากรอยู่ระหว่างการยืนยัน และแต่ละช่วงมีบริการชากาแฟ--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--