กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--กรมส่งเสริมการส่งออก
โครงสร้างนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของสหรัฐฯเปลี่ยน กรมส่งออกฯเผยเป็นจุดดี มุ่งเน้นส่งเสริมผู้ประกอบการวางแผนการขยายตลาด-ปรับกลยุทธ์ให้มีความเหมาะสม ชี้เป็นโอกาสส่งสินค้าตามออเดอร์เฉพาะ เปิดชื่อผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่10 อันดับแรก เจาะตลาดรวดเร็วขึ้น
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สหรัฐได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยมีร้านค้าปลีก ลูกโซ่รายใหญ่ บริษัทข้ามชาติ และ ผู้ผลิตรายใหญ่สหรัฐฯ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสำคัญในการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้การนำเข้าสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในอนาคตด้วย โดยเฉพาะเป็นที่คาดการณ์ว่า เมื่อมีมาตรการมีมติออกมาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบายรอบที่ 3 แบบไม่จำกัดเวลา(Open-Ended QE3)จะหนุนการฟื้นตัวตลาดแรงงานและเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ทั้งนี้การถูกลดบทบาทลง อาจจะเป็นเพราะด้วยการให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการมุ่งเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจ ซึ่งจากการจัดอันดับผู้นำเข้ารายสำคัญของสหรัฐฯ ประจำปี 2554 แสดงให้ถึงผู้ประกอบการสหรัฐฯ ที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะนำเข้า/จัดจำหน่ายสินค้า (Importer/Distributor) ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ซึ่งรวมกันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 200,000 ราย และเป็นกลจักรสำคัญในห่วงโซ่อุปทานสินค้า ถูกลดบทบาทลงไป
“กรมฯได้เริ่มรูปแบบ SOOK (Small Order OK) หรือ เครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อกับเรา โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้าในจำนวนมาก เพราะรับสั่งทำในจำนวนน้อยชิ้น รวมทั้งปรับดีไซน์ตามความต้องการของลูกค้าได้ ปัจจุบัน ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งไม่นำเข้าสินค้าเข้าโดยตรง ได้หันมานำเข้าสินค้าด้วยตนเอง หรือ มีการลงทุนจากต่างประเทศขยายตัวในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ลงทุนจะนำเข้าสินค้าบางส่วนจากบริษัทแม่ หรือ แหล่งผลิตอื่นๆ และผู้ผลิตสินค้าสหรัฐฯ ลดการผลิตในประเทศและหันไปผลิตในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ เป็นต้น”
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะมีผลต่อการขยายตลาดสินค้าไทยในสหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้าไทย จึงต้องวางแผนการขยายตลาดและกลยุทธ์ให้มีความเหมาะสมต่อแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสำนักงานเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโกได้รายงานเพิ่มเติมว่า ร้านค้าปลีก ลูกโซ่รายใหญ่ บริษัทข้ามชาติ และ ผู้ผลิตรายใหญ่สหรัฐฯ ซึ่งให้บริการข้อมูลด้านตู้ขนส่งสินค้า(Container) นำเข้าของสหรัฐฯ จากทั่วโลก แจ้งว่า สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากทั่วโลกเป็นจำนวน 28.5 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ (เทียบเท่าตู้ขนาด 20 ฟุต: TEUs: Twenty-foot equivalent unit)
ผู้นำเข้ารายสำคัญ 10 อันดับแรก คือ ห้างวอล-มาร์ท(Wal-Mart) ห้างทาร์เก็ต(Target) ห้างโฮม ดีพอต (Home Depot) ห้างโลว์ส(Lowe’s) ห้าง(ซีร์ส) Sears บริษัทดอล ฟู้ด(Dole Food) บริษัทไฮเนเก้น อเมริกา( Heineken USA) บริษัทฟิลิปปส์ อิเล็กทริก บริษัท แอลจี กรุ๊ป และบริษัท คิกกีตา แบรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Chiquita Brand International) ตามลำดับ โดยโครงสร้างของการผู้ประกอบการขาเข้าของสหรัฐฯ ในปัจจุบันสหรัฐฯ มีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ไม่ต่ำกว่า 200,000 ราย จากการจัดอันดับผู้นำเข้ารายสำคัญกลุ่ม100อันดับแรก(Top 100) ของสหรัฐฯ พบว่า ผู้นำเข้ากลุ่ม Top 100 มีสัดส่วนตลาดนำเข้า 19.5% และผู้นำเข้ารายสำคัญ Top 100 แยกออกเป็น 3 กลุ่ม ร้านค้าปลีกลูกโซ่ (Retail Chain) บริษัทข้ามชาติ (Multi Corporation) และ ผู้ผลิตสินค้าสหรัฐฯ(Manufacturer)
ร้านค้าปลีกลูกโซ่เป็นผู้นำในการนำเข้าสินค้า: ตามรายงานผู้นำเข้า Top 100 พบว่า ร้านค้าปลีกลูกโซ่ในสหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำเข้าสินค้าสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ โดยมีมีร้านค้าปลีกลูกโซ่จำนวน 35 ราย ติดอันดับ Top 100 มีปริมาณตู้สินค้านำเข้าจำนวน 3.01 ล้านTEUs และที่สำคัญอย่างยิ่ง ผู้นำเข้ารายสำคัญ 5 อันดับแรกของสหรัฐฯ เป็นร้านค้าปลีกลูกโซ่ คือ (1) Wal-Mart (2)Target (3) Home Depot (4) Lowe’s และ (5) Sears ร้านค้าปลีกลูกโซ่ที่สำคัญรายอื่นๆ ได้แก่ IKEA,JC Penny, Costco Wholesale, Family Dollar Stores และDollar Tree Stores เป็นต้น
บริษัทข้ามชาติ (Multi National Corporation): เป็นผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่เข้าไปดำเนินการผลิต/จัดจำหน่ายสินค้าในสหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นกลุ่มที่นำเข้าสินค้ามากเป็น อันดับที่ 2 ซึ่งมีจำนวน 36 ราย มีปริมาณตู้สินค้านำเข้าจำนวน 1.45 ล้าน TEUs ผู้นำเข้ากลุ่มบริษัทข้ามชาติที่สำคัญ 5 แรก ได้แก่ Heineken USA, Philips Electronics North America, LG Group, IKEA International และ Samsung America ตามลำดับและ โรงงานผลิตสินค้าของสหรัฐฯ: โรงงานผลิตสินค้าของสหรัฐฯ นำเข้าวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตรวมไปถึงนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายในสหรัฐฯ และ มีจำนวน 29 ราย ติดอันดับ Top100 ผู้ผลิตสหรัฐฯ และมีปริมาณตู้สินค้านำเข้าจำนวน 1.01 ล้าน TEUs ที่เป็นผู้นำเข้าที่สำคัญ 5 รายแรก ได้แก่ บริษัท Dole Food บริษัท Chiquita Brand International บริษัท Jarden Corporation บริษัท Nike และ บริษัท Ashley Furniture Industries
อนึ่ง การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก(ม.ค.-ก.ค.55)ปีนี้ สหรัฐฯมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.2% หรือมีมูลค่า 13,264 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 410,190 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 6%) ซึ่งช่วงเดือน 8-10 ของปีเป็นช่วงการสั่งซื้อสินค้าเพื่อจำหน่ายในเทศกาลคริสต์มาส และขึ้นปีใหม่ แต่ปีนี้อาจจะรวมถึงการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้เข้าไปอีกด้วย
สำนักประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการส่งออก
โทร.(02) 507-7932-34