พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ The Museum of Floral Culture An Enchanting Floral Experience

ข่าวทั่วไป Tuesday September 25, 2012 12:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ กิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยตรงสู่เยาวชนของชาติของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชนของชาติที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญของชาติ ในอนาคต และโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เยาวชนของชาติได้ใช้พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม ดอกไม้เป็นสถานที่เรียนรู้ถึง เอกลักษณ์แห่งชาติ และเพื่อให้เหล่าเยาวชนได้ซาบซึ้ง ในความเป็นไทย ผ่านศิลปะการจัดดอกไม้ การประดิษฐ์ดอกไม้สด และวัฒนธรรมดอกไม้ไทย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้จึงมีนโยบายที่จะจัดให้มีกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยตรงสู่ เยาวชนของชาติ โดยที่เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้เบื้องต้นในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมวัฒนธรรมดอกไม้จะจัด กิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้คือ รูปแบบของกิจกรรม ๑. กิจกรรมทัศนศึกษาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ ถึงเอกลักษณ์แห่งชาติ และได้ซาบซึ้งในความ เป็นไทย ผ่านงานศิลปะการจัดดอกไม้ การประดิษฐ์ดอกไม้สด และวัฒนธรรมดอกไม้ไทย ๒. กิจกรรมการเรียนงานจัดดอกไม้สด และการประดิษฐ์ดอกไม้สด ของไทยเช่นงานร้อยมาลัย งานพุ่มดอกไม้ งานกระทง และงานใบตองเป็นต้น โดยครูผู้สอน จะเป็นครู อาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ งานศิลปะการจัดดอกไม้ไทยของ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ วัน เวลา และ สถานที่ จัดในทุกๆ เช้าของวันเสาร์แรกของเดือน ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ น.ถึง ๑๒.๐๐ น. เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๐.๔๕ น. คุณสกุล อินทกุล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมวัฒนธรรมดอกไม้ นำเยาวชนชมพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมวัฒนธรรมดอกไม้ เวลา ๑๐.๔๕ น. ถึง ๑๑.๔๕ น. เยาวชนร่วมกิจกรรมเรียนร้อยมาลัย เวลา ๑๐.๔๕ น. ถึง ๑๒.๐๐ น. ร่วมรับประทานของว่างและเครื่องดื่ม โดยในปี ๒๕๕๕ นี้ จะจัดขึ้น ๔ ครั้ง วันเสาร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ สอนร้อยมาลัย วันเสาร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ สอนทำพุ่มดอกไม้ วันเสาร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สอนทำกระทง วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ สอนทำเย็บแบบ โดยกิจกรรมนี้จะจัดให้มีขึ้น ณ ศาลาไทยของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมวัฒนธรรมดอกไม้ การสมัครเข้าเรียน รับสมัครเยาวชนชายหญิงอายุระหว่าง ๗ ถึง ๑๔ ปี จำนวน ๑๒ คน โทรศัพท์ขอทราบระเบียบการ และรับใบสมัครได้ที่ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมวัฒนธรรมดอกไม้ โทร. ๐๒ ๖๖๙-๓๖๓๓ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ซึ่งจะเปิดต้อนรับสาธารณะชนให้ได้เข้าชม ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อตั้งขึ้นเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องใน วโรกาสมหามงคล เจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ ในฐานะที่ ทรงเป็นองค์อัคราภิรักษ์ศิลปิน พระผู้ทรงอนุรักษ์และทรงส่งเสริมวัฒนาการแห่งงานศิลปกรรมและ งานหัตถกรรมของชาติ รวมทั้งงานวัฒนธรรมดอกไม้ไทย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ซึ่งก่อตั้งโดย สกุล อินทกุล ศิลปินนักออกแบบจัดดอกไม้ไทย ผู้มี ชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ สำหรับชาวไทย และชาวต่างชาติ ผู้รักดอกไม้และธรรมชาติ และมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรม รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของวัฒนธรรมดอกไม้ ศิลปะการจัดดอกไม้สด รวมทั้งการประดิษฐ์ งานดอกไม้สดตามแบบประเพณีของไทย อันไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ของชาวไทยได้ นอกจากนั้นแล้ว พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ยังได้ บันทึก รวบรวม และจัดแสดง งานวัฒนธรรมดอกไม้ของประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย อาทิ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น บาหลี และลาว อีกด้วย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ยังมีความสำคัญในเชิงศิลปะวัฒนธรรมทั้งใน ระดับชาติ และระดับ นานาชาติ เนื่องด้วยเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก ที่เฉลิมฉลอง รวบรวม และ จัดแสดง งานอันเกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนธรรมดอกไม้ซึ่งมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับวิถีชีวิต และ ความเป็นอยู่ ของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรม สวนของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ นอกจากงานวัฒนธรรมดอกไม้แล้ว สวนที่สวยงามของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ยังเป็น นิทรรศการมีชีวิต ที่ได้รวบรวม ปลูกเลี้ยงพันธุ์ไม้และดอกไม้ที่ใช้ในงานวัฒนธรรมดอกไม้ไทย ให้ นัก ท่องเที่ยวได้ชื่นชม ศึกษาหาความรู้ และสวนของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ยังปลูกต้นไม้ หลายหลาก ชนิดตามทิศมงคลตามความเชื่อของชาวไทยโบราณอีกด้วย สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ ตั้งอยู่ในเขตดุสิต เป็นบ้านโบราณอายุราว ๑๐๐ ปีที่สวยงามยิ่ง มีสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนี่ยลที่หาชมได้ไม่ง่ายนัก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีพื้นที่กว่า ๑ ไร่ ติดต่อพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ 315 ถนนสามเสน ซอย 28, แยกซอยองครักษ์ 13, ดุสิต, กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐๒ ๖๖๙ ๓๖๓๓-๔ โทรสาร ๐๒ ๖๖๙ ๓๖๓๒ Email: sakulintakul@yahoo.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ