กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--WWF ประเทศไทย
ประชากรโลมาน้ำจืดที่มีเพียง 6 ตัว ที่อยู่โดดเดี่ยวในวังน้ำลึกในแม่น้ำโขง บริเวณพรมแดน ระหว่างลาวกับกัมพูชา จะคงอยู่ได้ไม่นานหากลาวไม่มีมาตรการเร่งด่วนในการสั่งห้ามการใช้อวนจับปลาในพื้นที่อาศัยของ โลมาในเขตพรมแดนของลาว WWF เตือน
ในรายงานฉบับใหม่ของWWFเรื่อง โอกาสสุดท้ายของโลมาในลาว เผยว่า นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา มีโลมาน้ำจืดตายมาก กว่า 30 ตัว ทั้งในและรอบบริเวณวังน้ำลึกระหว่างพรมแดนของทั้งสองประเทศ โดยมีสาเหตุหลักจากอวนจับปลาของชาว ประมงท้องถิ่น และตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนเดือนนี้ WWF พบอวนจับปลาตามจุดต่างๆมากกว่า 100 ปาก วางอยู่ทั้งใน และรอบๆบริเวณวังน้ำลึก ซึ่งบางครั้งพบมากถึง 188 ปาก
เมื่อเร็วๆนี้ กัมพูชาเพิ่งออกกฏหมายห้ามการใช้อวนจับปลาในบริเวณวังน้ำและบริเวณใกล้เคียง ในฝั่งพรมแดนของประเทศ แต่ ในประเทศลาว ห้ามการใช้อวนจับปลาเฉพาะบริเวณลึกที่สุดของวังน้ำในฝั่งประเทศตัวเอง แม้ในช่วงฤดูแล้ง โลมาจะหากินใน พื้นที่เพียง 1 ตารางกิโลเมตรบริเวณวังน้ำระหว่างสองประเทศ แต่ในช่วงฤดูฝนโลมาจะขยายขอบเขตหากินกว้างขึ้นเป็น 5 ตารางกิโลเมตร
“โลมาน้ำจืดทั้งหกตัวนี้ ว่ายน้ำฝ่าอันตรายและเสี่ยงตายเพราะพันเข้ากับกำแพงตาข่ายที่ลอยอยู่ในน้ำ” เจอร์รี่ ไรอัน ที่ปรึกษาด้านเทคนิคของ WWF-กัมพูชา และผู้เขียนรายงานกล่าว “ลาวจะต้องประกาศห้ามการใช้อวนจับปลาในบริเวณวังน้ำ ลึกครอบคลุมทั่วบริเวณพรมแดนของตัวเองตลอดทั้งปี หรือเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียประชากรโลมาน้ำจืดตัวสุดท้ายของประเทศ”
โลมาอิรวดีซึ่งเป็นโลมาน้ำจืด กลุ่มที่อาศัยในแม่น้ำโขงตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจะสูญพันธุ์อย่างมาก จำนวนของโลมาที่อาศัยใน แม่น้ำโขงระยะทาง 190 กิโลเมตรที่ไหลผ่านระหว่างภาคใต้ของลาวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ลดลงเหลือเพียง ประมาณ 85 ตัวเท่านั้น
ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่ามีโลมามากถึง 40 — 50 ตัว ที่อาศัยในบริเวณวังน้ำลึกระหว่างพรมแดน และลดจำนวนลงเหลือประมาณ 25 ตัว ในช่วงปี 2533 และเชื่อว่าโลมาทั้ง 6 ตัวที่อาศัยในวังน้ำลึกบริเวณพรมแดนนี้ น่าจะเป็นประชากรโลมากลุ่มย่อยที่แยกตัวอยู่ เพียงกลุ่มเดียว โดยไม่เคลื่อนย้ายขึ้นลงตามลำน้ำโขง
ในขณะที่จำนวนโลมาลดจำนวนลง แต่การท่องเที่ยวเพื่อดูโลมาในพื้นที่ดังกล่าวกลับขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ปีที่แล้วคาดว่ามี นักท่องเที่ยวราว 20,000 คนมาดูโลมาในบริเวณดังกล่าว นับตั้งแต่ปี2551 เป็นต้นมา นักท่องเที่ยวดูโลมาจากหนึ่งในสองจุด ชมโลมาฝั่งลาว เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ส่วนในฝั่งกัมพูชา นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังหนึ่งในสองจุดชมโลมาฝั่งกัมพูชา เพิ่มขึ้นเกือบสามสิบเท่านับตั้งแต่ปี 2548
“โลมาเป็นจุดสนใจหลักในการท่องเที่ยวและช่วยเพิ่มการเติบโตของการท่องเที่ยว” ไรอันกล่าว “การท่องเที่ยวเพื่อชมโลมาสร้าง รายได้ที่จำเป็นแก่ชาวบ้านในท้องถิ่น หรือไม่อย่างนั้นแล้ว พวกเขาก็ต้องพึ่งพาแต่เพียงการประมงเพื่อยังชีพและหารายได้ ดังนั้นจึงค่อนข้างชัดเจนว่า การอนุรักษ์โลมาก็หมาายถึงการพัฒนาอย่างชาญฉลาด”
โลมาน้ำจืดไม่เพียงแต่สร้างกำไรในการดำรงชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น พวกมันยังเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญถึงความสมบูรณ์และ ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบนิเวศน์น้ำจืดอีกด้วย ดังนั้นการลดจำนวนลงของโลมา ยังอาจสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้ม การเสื่อมถอยของระบบนิเวศน์ในองค์รวม ซึ่งเป็นสิ่งที่คนท้องถิ่นต้องพึ่งพิงอย่างมาก
“การสูญเสียโลมาน้ำจืดไม่เพียงแต่จะเป็นการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพของลาวเท่านั้น แต่มันยังชี้ให้เห็นถึงความ เป็นไปได้ของการเสื่อมถอยอย่างสิ้นเชิงของความสมบูรณ์ในระบบนิเวศแม่น้ำทั้งสาย ซึ่งรวมไปถึงการลดลงของสัตว์น้ำสาย- พันธุ์อื่นๆด้วยเช่นกัน “ ไรอันกล่าว ”หากลาวเสียโลมาน้ำจืดที่เหลืออยู่ไป ก็เสี่ยงที่จะสูญเสียสิ่งอื่นๆอีกมากด้วยเช่นกัน”
ถึงแม้ว่าอวนจับปลาจะเป็นภัยคุกคามปัจจุบันที่สร้างความเสี่ยงสูงสุดต่อการสูญพันธุ์ของโลมาทั้งหกตัว แต่ขณะเดียวกัน ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพื่อยุติการลักลอบจับปลาและการระเบิดปลาในบริเวณดังกล่าว การจัดระเบียบการเดินเรือในวังน้ำลึก รวมทั้งการยกเลิกแผนการสร้างท่าเรือและทางลาดคอนกรีต ที่ Anlung Cheuteal แหล่งชมโลมาหลักของฝั่งกัมพูชา
“แรงกดดันที่มีต่อประชากรโลมาน้ำจืดจำนวนน้อยนิดกลุ่มนี้มีอย่างมหาศาล แต่ตราบใดที่พวกมันยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังมีหวัง” ไรอันกล่าว “ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความพยายามอย่างเร่งด่วนและเข้มงวดในการอนุรักษ์พวกมัน เพื่อให้โอกาสในการดำรงอยู่ ของสัญลักษณ์ที่พบได้ยากในแม่น้ำโขงนี้ไว้ หากไม่มีการอนุรักษ์ ความหวังก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว”
แม้จะไม่ทราบเพศของโลมาที่เหลืออยู่ แต่จากการเฝ้าจับตาในช่วงการผสมพันธุ์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ายังมีทั้งโลมา ตัวผู้และตัวเมีย และหากมันได้รับการปกป้อง โลมากลุ่มนี้ก็อาจเพิ่มจำนวนขึ้นได้
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ :
เอื้อพันธ์ ชำนาญเอื้อ ผู้จัดการแผนกสื่อสารองค์กร WWF ประเทศไทย, อีเมล uchamnanua@wwfgreatermekong.org,
โทร +668 1928 2426