สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday October 2, 2012 10:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2555 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 มีจำนวน 4,899,877.47 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.19 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,570,950.38 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,014,748.95 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 307,328.14 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6,850 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 108,343.01 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลและหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 64,601.18 ล้านบาท และ 60,891.32 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินและหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 13,999.49 ล้านบาท และ 3,150 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2555 1. หนี้ของรัฐบาล 1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 26,766.47 ล้านบาท เนื่องจาก 1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 465.46 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 178.38 ล้านบาท และการเบิกจ่ายมากกว่าชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 287.08 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว 1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 26,301.01 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 25,078.38 ล้านบาท 1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 165.29 ล้านบาท เนื่องจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 3) ก่อนกำหนดโดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 38,000 ล้านบาท เนื่องจาก การกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) จำนวน 38,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของพันธบัตร FIDF 3 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 2 กันยายน 2555 วงเงิน 206,023.25 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จะนำไปให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อ การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศบริหารลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้เกิดผลตอบแทนและลดต้นทุนในการทำ Pre-funding 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 2.1 หนี้ในประเทศ 2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,804.93 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไถ่ถอนพันธบัตรของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1,500 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 1,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 1,000 ล้านบาท การเคหะแห่งชาติ ออกพันธบัตร 2,200 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 7,261.28 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 2,987.28 ล้านบาท - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ 4,778.93 ล้านบาท 2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 8,710.92 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 1,925 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 3,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ 8,500 ล้านบาท - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 285.92 ล้านบาท 2.2 หนี้ต่างประเทศ 2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 162.87 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 964.94 ล้านบาท และการชำระคืนสกุลเงินยูโรและการเบิกจ่ายน้อยกว่าชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 1,127.81 ล้านบาท 2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2,320.77 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลง ของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 1,517.87 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้สกุลเงินยูโร และสกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 802.90 ล้านบาท 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 3.1 หนี้ในประเทศ หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 61,000 ล้านบาท โดยเกิดจาก - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตร 60,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกพันธบัตร 3,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท 3.2 หนี้ต่างประเทศ หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 108.68 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 21.12 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและสกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 87.56 ล้านบาท 4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 3,150 ล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นในประเทศของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน หนี้สาธารณะ จำนวน 4,899,877.47 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 333,071.53 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.80 และหนี้ในประเทศ 4,566,805.94 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.20 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างและเป็นหนี้ระยะยาว 4,622,403.64 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.34 และหนี้ระยะสั้น 277,473.83 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.66 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ