การทำงานรูปแบบโมบาย มีศักยภาพเติบโตสูงในไทย

ข่าวทั่วไป Wednesday October 3, 2012 10:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--เอพีพีอาร์ มีเดีย 52 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในไทย ประยุกต์ใช้ หรือมีแผนที่จะนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ในปี 2020 องค์กรส่วนใหญ่ (84 เปอร์เซ็นต์) ในประเทศไทย ที่มีการนำ “โมบายเวิร์กสไตล์” หรือการทำงานในรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์หลักในแง่ของการเพิ่มความยืดหยุ่น และทำให้สถานที่ทำงานเกิดความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า นอกเหนือจากองค์กรในไทยที่ได้นำการทำงานในรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้แล้ว 44 เปอร์เซ็นต์ มองว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานลง ส่วนอีก 48 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่าค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ลดลง และ 32 เปอร์เซ็นต์ มองว่าค่าใช้จ่ายด้านการลาออกของพนักงานลดลง เหล่านี้คือผลการสำรวจเกี่ยวกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคตที่ซิทริกซ์ได้เปิดเผยในวันนี้ โดยมาจากการสำรวจฝ่ายไอทีระดับอาวุโสที่มีอำนาจในการตัดสินใจ 1,900 คน ใน 19 ประเทศ ในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย วางแผนว่าจะนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยก็ยังจัดว่าตามหลังแนวโน้มโลกอยู่ในแง่ของการนำโมบายเวิร์กสไตล์มาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน โดยจากที่สำรวจ มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในไทย ที่มีการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ เปรียบเทียบกับ (21 เปอร์เซ็นต์) ประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิค ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาใช้ เพิ่มขึ้นสูงมาก และสำหรับทั่วโลกแล้ว 1 ใน 4 (24 เปอร์เซ็นต์) ขององค์กรได้มีการประยุกต์ใช้การทำงานรูปแบบโมบาย จากข้อมูลไอดีซี[1] ความต้องการสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเติบโต 76 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2554 คิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมพนักงานรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ใช้งานดิจิตอลอย่างแท้จริง ซึ่งต้องการนำสมาร์ทโฟนของตัวเองมาใช้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว โดยในประเทศไทย มีคำร้องของจากพนักงานจำนวนมาก (53 เปอร์เซ็นต์) ติดอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้องค์กรหันมาใช้การทำงานในรุปแบบโมบาย Vanson Bourne ศูนย์วิจัยอิสระ ได้จัดทำสำรวจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 โดยรายงานเรื่องสถานที่ทำงานแห่งอนาคตของซิทริกซ์ แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มที่พนักงานจะนั่งทำงานในออฟฟิศนั้นลดลง ซึ่งแนวโน้มของการที่พนักงานหันมาใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบในการเข้าถึงแอพพลิเคชัน ข้อมูล และบริการขององค์กร จากสถานที่ต่างๆ นอกเหนือออฟฟิศปกตินั้น เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มโลกที่เรียกว่าโมบายเวิร์กสไตล์ - จากการสำรวจ องค์กรเกือบครึ่งหนึ่ง (45 เปอร์เซ็นต์) ในประเทศไทย จะมีการนำการทำงานรูปแบบโมบายมาประยุกต์ใช้ในปี 2557 และองค์กร 7 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย กำลังวางแผนที่จะนำความริเริ่มดังกล่าวมาใช้ในราวปี 2563 ทั้งนี้ เหตุผลต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจในไทยเลือกที่จะประยุกต์ใช้โมบายเวิร์กสไตล์ คือ - มีความยืดหยุ่น และเป็นสถานที่ทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น (84 เปอร์เซ็นต์) - ลดค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ (48 เปอร์เซ็นต์) - ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน (44 เปอร์เซ็นต์) - ช่วยดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานกับองค์กร (40 เปอร์เซ็นต์) - สร้างความต่อเนื่องในการทำธุรกิจ (40 เปอร์เซ็นต์) - พนักงานในองค์กรจะได้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่มากขึ้น (72 เปอร์เซ็นต์) ลดเวลาเดินทาง (56 เปอร์เซ็นต์) สร้างสมดุลย์ชีวิตทำงานและส่วนตัว (48 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้กับพนักงานแต่ละคน (44 เปอร์เซ็นต์) - เหตุผลอันดับต้นๆ ในการไม่ประยุกต์ใช้โมบายเวิร์กสไตล์ในประเทศไทย คือ ขาดบุคลากรด้านไอที (70 เปอร์เซ็นต์) - ความต้องการในการใช้งานโมบิลิตี้ที่เพิ่มขึ้น กำลังเป็นปัจจัยผลักดันองค์กรต่างๆ ให้มีการกำหนดใช้นโยบายในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้เพื่องาน (BYOD) (65 เปอร์เซ็นต์) โดยปกติพนักงานจะเป็นผู้เลือกซื้ออุปกรณ์เอง โดย 72 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรช่วยออกค่าใช้จ่ายบางส่วนหรือเต็มจำนวนให้กับพนักงาน - ความท้าทายอันดับต้นๆ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้นโยบาย BYOD คือ บรรดาพนักงานต่างไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงของการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้งานในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจ (60 เปอร์เซ็นต์) และข้อมูลด้านความปลอดภัย (60 เปอร์เซ็นต์) จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อใช้ชีวิตกับสถานที่ทำงานแห่งอนาคต จากรายงานสถานที่ทำงานแห่งอนาคตของซิทริกซ์ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มทั่วโลก หนึ่งในสามของพนักงาน (29 เปอร์เซ็นต์) จะไม่นั่งทำงานในออฟฟิศแบบเดิมๆ ทั้งนี้พนักงานจะเปลี่ยนมาทำงานตามสถานที่ที่ก้ำกึ่งว่าจะเป็นที่ทำงาน ได้อย่างหลากหลายแทน เช่น ที่บ้าน (64 เปอร์เซ็นต์) ที่ไซต์งาน (60 เปอร์เซ็นต์) และออฟฟิศลูกค้าหรือออฟฟิศของพาร์ตเนอร์ (50 เปอร์เซ็นต์) ผู้คนคาดหวังว่าจะสามารถเข้าถึงการใช้งานแอพพลิเคชั่น ดาต้าและการบริการ ในขณะที่ทำงานอยู่นอกออฟฟิศได้ เช่น ตามโรงแรม สนามบิน ร้านกาแฟ หรือในขณะที่รอเปลี่ยนเครื่อง จากเหตุการณ์ที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูจากน้ำท่วมในปี 2554 ดังนั้น จึงมีเหตุผลมากมายหลายหลากที่ทำให้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยต้องตระหนักถึงความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณประโยชน์ของการติดตั้งโมบายเวิร์กสไตล์ การมีทีมงานที่ทำงานในลักษณะโมบาย นับเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงลักษณะของสถานที่ทำงานแห่งอนาคต ซึ่งสามารถเข้าถึงทรัพยากรองค์กรได้จากหลากหลายสถานที่ ตัวอย่างเช่น ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้จำหน่ายเพื่อเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถบริหารจัดการกับผู้คนต่างๆ รวมถึงข้อมูล และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ในเชิงรุก องค์กรต่างๆ ทั่วโลก ต่างต้องอาศัยเทคโนโลยีหลากหลายมาช่วยเสริมการบริหารจัดการกลยุทธ์ด้านโมบายเวิร์กสไตล์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้ เทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต่างมุ่งเน้นที่การจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและแอพพลิเคชั่น รวมถึง เดสก์ท็อปเวอร์ชวลไลเซชั่น และแอพพลิเคชั่นสโตร์ในเอ็นเทอร์ไพร์ซ บริการด้านการแบ่งปันไฟล์ผ่านระบบออนไลน์ การประชุม และการทำงานร่วมกันต่างๆ เพื่อศักยภาพในการทำงานจากจุดต่างๆ สาสน์จากผู้บริหาร มร ยาจ มาลิค รองประธาน ภาคพื้นอาเซียน ซิทริกซ์ “แรงกดดันจากทั่วโลก ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และการบริโภคไอทีอย่างแพร่หลาย เป็นปัจจัยที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีของการจัดการและวิธีปฏิบัติทางธุรกิจ สถานที่ทำงานแห่งอนาคต ความต่อเนื่องในการทำธุรกิจ ผลิตผล ความยืดหยุ่น และความคล่องตัว ไม่ได้เป็นเพียงแค่เหตุผล ทว่ากลายเป็นสิ่งจำเป็นในการทำธุรกิจ และในประเทศไทยก็ไม่ได้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ แต่อย่างไรก็ดี การประยุกต์ใช้งานโมบายเวิร์กสไตล์ในไทยดำเนินไปอย่างช้าๆ นั่นอาจเป็นเหตุผลจากการขาดความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี องค์กรเกือบครึ่งหนึ่ง (41 เปอร์เซ็นต์) ในประเทศไทย ไม่ทราบว่ามีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชั่นองค์กรจากระยะไกลและมีความปลอดภัยในระดับเดียวกับที่ใช้งานในออฟฟิศ องค์กรที่สามารถตระหนักและประยุกต์ใช้โมบายเวิร์กสไตล์จึงจะเป็นองค์กรที่อยู่รอดได้ ซึ่งการทำงานไม่จำเป็นต้องยึดติดกับสถานที่ และนั่นเป็นปัจจัยสำคัญของสถานที่ทำงานแห่งอนาคต และทำให้การใช้งานโมบายเวิร์กสไตล์เป็นสิ่งที่น่าสนใจ วิธีการทำวิจัย วิจัยเรื่องสถานที่ทำงานแห่งอนาคตของซิทริกซ์ จัดทำโดยสำนักวิจัยอิสระ Vanson Bourne ในเดือนสิงหาคม 2555 โดยสัมภาษณ์มืออาชีพอาวุโสด้านไอที 1,900 คนทั่วโลก ผลสำรวจมืออาชีพด้านไอที 100 คนจากทุกอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ 19 ประเทศ ครอบคลุม - ยุโรป: ฝรั่งเศส เยอรมันนี รัสเซีย สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ - อเมริกา: บราซิล แคนาดา สหรัฐอเมริกา - เอเชีย แปซิฟิค: ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถาม มาจากองค์กรที่มีพนักงาน 1,000 คนหรือมากกว่า ในขณะที่ 1 ใน 3 ที่เหลือมาจากองค์กรที่มีพนักงานระหว่าง 500-999 คน ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง - เอกสารด้านเทคนิค: The Top 10 Reasons to Embrace Workshifting - เอกสารด้านเทคนิค: Workshifting: How IT is Changing the Way Business is Done - เอกสารด้านเทคนิค: Desktop Virtualization: The key to embracing the consumerization of IT - เอกสารด้านเทคนิค: Best practices to make BYOD simple and secure ซิทริกซ์บนโลกออนไลน์ - ทวิตเตอร์: @Citrix - ซิทริกซ์บนเฟซบุ๊ค Facebook เกี่ยวกับซิทริกซ์ ซิทริกซ์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (NASDAQ: CTXS) ปรับเปลี่ยนธุรกิจและงานด้านไอที รวมถึงความร่วมมือระหว่างผู้คนให้ก้าวไปสู่ยุคของคลาวด์ ซิทริกซ์นำเสนอเทคโนโลยีชั้นนำของตลาดทั้งระบบเวอร์ชวลไลเซชัน การเชื่อมต่อเครือข่าย ความร่วมมือทางธุรกิจ และคลาวด์ มาช่วยเพิ่มอำนาจด้านการทำงานในรูปแบบโมบาย และด้านคลาวด์เซอร์วิสให้กับองค์กรธุรกิจ 260,000 แห่ง เพื่อช่วยให้ระบบไอทีในองค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซเหล่านี้ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และเข้าถึงได้ดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ของซิทริกซ์รองรับ 75% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละวัน รวมถึงพันธมิตรกว่า 10,000 บริษัทในกว่า 100 ประเทศ บริษัทฯ มีรายได้ประจำปี 2011 เป็นมูลค่า 2,210 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือในราว 66,300 ล้านบาท ข้อมูลเพิ่มเติม www.citrix.com [1] จากรายงานไอดีซี ประเทศไทยเป็นประเทศดาวรุ่งในกลุ่มการใช้ด้านไอที
แท็ก โมบาย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ