กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
Process Point Analysis เป็นการวิเคราะห์ที่เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกระบวนการผลิตทีละขั้นตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานที่เริ่มจากวัตถุดิบ หรือวัสดุ ให้กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ในแต่ละขั้นตอนโดยมี คน เครื่อง กระบวนการ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
Process Point Analysis ช่วยทำให้เข้าใจในกระบวนการผลิตสินค้า โดยเฉพาะที่มีเครื่องจักรเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างลึกซึ้งได้มากขึ้นกว่าเดิม ผู้ที่ไม่ใช่วิศวกรก็สามารถเรียนรู้เพื่อมองในมุมมองของวิศวกรได้มากขึ้น และเริ่มเข้าใจกลไกในการทำงานของเครื่องจักร โดยอาศัยการวาดรูปที่เริ่มต้นจากจุดสัมผัสระหว่างชิ้นงานและเครื่องมือ ซึ่ง PPA มีหลักการณ์ 3 ข้อใหญ่คือ
1. Forming : ชิ้นงาน (work piece) ถูกกระทำโดยเครื่องมือ (tool) ที่ตำแหน่งไหน (contact point) และอย่างไร (mechanism) โดยมีการกำหนดคุณสมบัติตามมาตรฐานของทั้งชิ้นงานและเครื่องมือ และมีการกำหนดปัจจัย หรือสภาวะที่ต้องมีตามมาตรฐานอย่างไรบ้าง
2. Positioning : การทำให้ชิ้นงานและเครื่องมือมาสัมผัสกันในตำแหน่งที่ถูกต้องนั้นมีอะไรมาบังคับให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้
3. Continuity : การควบคุมการเกิดการสัมผัสซ้ำเดิมระหว่างชิ้นงานและเครื่องมือที่ตำแหน่งเดิม กลไกเดิม ได้นั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง
จากการใช้ PPA มากว่า 10 ปี ค้นพบว่า PPA สามารถใช้ศึกษาออกแบบการทำงานของเครื่องจักรเพื่อควบคุมให้สินค้านั้นมีคุณภาพตามมาตรฐานได้เป็นอย่างดี และเมื่อสินค้ามีปัญหาก็สามารถนำมาใช้วิเคราะห์หาต้นตอของการเปลี่ยนแปลงนั้นว่ามาจากสาเหตุอะไรใน 4 Ms (man / Machine / Method / Material) ได้อย่างลึกซึ้ง
ผู้บรรยายได้นำเอา PPA มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์หาจุดที่อาจก่อให้เกิดการผลิตที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในการผลิตอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถนำเอาเครื่องวิเคราะห์ของ TPM คือ PPA มารวมตัวกับ HACCP ขององค์การ นาซ่า ผู้บรรยายได้ตั้งชื่อว่าเป็น Advanced HCAAP และได้ทดสอบใช้ในโรงงานอาหารที่ผู้บรรยายทำงานอยู่ และส่งเอกสารเผยแพร่ไปในเครือของบริษัททั่วโลก และได้รับอนุญาตสอนให้นักศึกษาทั้งปริญญาตรี / โท / เอก ของคณะวิทยาศาสตร์การอาหาร และวิศวกรรมอาหาร 4 มหาวิทยาลัยมาแล้วในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ได้การยอมรับจากนักศึกษา และอาจารย์ที่เข้าฟังการบรรยายว่า ทั้งวิชา PPA และ Advanced HACCP เป็นวิชาที่มีความลึกซึ้งที่สามารถช่วยให้เข้าใจกลไกในการทำงานของเครื่องจักร และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี วิชา PPA นี้ไม่ได้แค่สามารถรวมตัวกับการวิเคราะห์หาจุดอันตรายต่อผู้บริโภคอาหารเท่านั้น PPA ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถใช้ร่วมกับการวิเคราะห์การแก้ปัญหาทั่วๆ ไป เช่น Why-Why Analysis, Fish Bone Analysis และการวิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม เช่น P-M analysis (Phenomena-Mechanism Analysis) เพราะ PPA ทำการวิเคราะห์เข้าไปหาต้นตอของปัญหาได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น
ติดต่อ:
สนใจรายละเอียด : 02-717-3000 ต่อ 793 (คุณสุทิวัส) sutiwas@tpa.or.th
www.tpif.or.th