กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--ธนาคารเอชเอสบีซี
ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจความเห็นของผู้จัดการกองทุนทั่วโลกล่าสุด พบว่า ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังคงมีมุมมองการลงทุนเช่นเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า โดยร้อยละ 50 และร้อยละ 60 คงน้ำหนักลงทุน (neutral outlook) ในหุ้นและพันธบัตรในไตรมาส 4/55 ตามลำดับ โดยมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 40 ที่ให้น้ำหนักลงทุนในหุ้น ร้อยละ 20 ให้น้ำหนักลงทุนในพันธบัตร และมีร้อยละ 30 ที่เห็นว่าควรลดน้ำหนักการถือครองเงินสด
นายอีริก ฟู ผู้อำนวยการบริหาร ด้านการพัฒนาความมั่งคั่ง ฝ่ายธุรกิจลูกค้ารายย่อยและธนบดีธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ฮ่องกง กล่าวว่า “ผลสำรวจชี้ว่าผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังคงให้น้ำหนักเป็นกลางต่อการลงทุนในหุ้นและพันธบัตร สะท้อนว่าตลาดยังหวั่นวิตกเรื่องโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารกลาง ต่าง ๆ ได้ออกมาตรการผ่อนปรนทางการเงินเมื่อเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 ในสหรัฐ ทำให้การลงทุนในพันธบัตรยังคงน่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่เน้นผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม หุ้นก็ยังคงน่าลงทุนในระยะยาว หากมองในแง่การให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตร”
ในไตรมาส 4/55 ผู้จัดการกองทุนที่สนใจลงทุนหุ้นในตลาดอเมริกาเหนือมีจำนวนลดลง (คิดเป็นร้อยละ 60 เทียบกับร้อยละ 70 ในไตรมาส 3/55) รวมถึงตลาดหุ้นอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ ตลาดหุ้นยุโรป (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) (ร้อยละ 40 เทียบกับร้อยละ 50) ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น (ร้อยละ 33 เทียบกับร้อยละ 40) และตลาดหุ้นกลุ่มประเทศจีน (ร้อยละ 43 เทียบกับร้อยละ 50) และไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดเลยที่ปรับลดน้ำหนักลงทุนในกองทุนหุ้นที่ลงทุนในกลุ่มประเทศจีนหรืออินเดีย
ส่วนการลงทุนในพันธบัตร ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่หันมาลงทุนในพันธบัตรเอเชียอย่างคึกคัก โดยมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 75 ที่ให้น้ำหนักลงทุนในพันธบัตรเอเชียสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (เทียบกับร้อยละ 38 ในไตรมาส 3/55) และร้อยละ 63 ให้น้ำหนักลงทุนในพันธบัตรเอเชียสกุลเงินท้องถิ่น (เทียบกับร้อยละ 25 ในไตรมาส 3/55) ผลสำรวจยังระบุว่าพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง (ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักลงทุน) และพันธบัตรตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก (ร้อยละ 70 ที่เพิ่มน้ำหนักลงทุน) ยังครองความนิยมในหมู่ผู้จัดการกองทุน
นายฟู กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงทุนระยะยาวยังมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดี สำหรับนักลงทุนระยะกลางและระยะยาว โดยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของเอเชียและการผ่อนคลายทางการเงินในระดับภูมิภาค ทำให้สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ของเอเชียเป็นที่สนใจของนักลงทุน”
“แม้ว่าพันธบัตรที่มีความเสี่ยงต่ำมีราคาสูงขึ้น ตราสารหนี้ของตลาดเกิดใหม่และตราสารหนี้เอกชนก็ยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และผลจากความจำเป็นที่จะต้องหาผลตอบแทนท่ามกลางดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ผู้จัดการกองทุนจึงกำลังหาโอกาสลงทุนในพันธบัตรตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก และพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง”
กลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุน
ลดน้ำหนักการลงทุน(Underweight) คงน้ำหนักการลงทุน เพิ่มน้ำหนักการลงทุน(Overweight)
(Neutral)
ไตรมาส4/55 ไตรมาส 3/55 ไตรมาส4/55 ไตรมาส 3/55 ไตรมาส4/55 ไตรมาส 3/55
หุ้น 10% 10% 50% 50% 40% 40%
-หุ้นอเมริกาเหนือ 30% 30% 10% 0% 60% 70%
-หุ้นยุโรป 30% 20% 30% 30% 40% 50%
(ยกเว้นสหราชอาณาจักร)
-หุ้นเอเชีย แปซิฟิก 11% 0% 56% 60% 33% 40%
ยกเว้นญี่ปุ่น
-หุ้นกลุ่มประเทศจีน 0% 0% 57% 50% 43% 50%
-หุ้นอินเดีย 0% 38% 83% 63% 17% 0%
พันธบัตร 20% 30% 60% 60% 20% 10%
-พันธบัตรเอเชียสกุลดอลลาร์สหรัฐ 0% 13% 25% 50% 75% 38%
-พันธบัตรเอเชียสกุลเงินท้องถิ่น 13% 13% 25% 63% 63% 25%
-พันธบัตรตลาดเกิดใหม่ 0% 10% 30% 40% 70% 50%
-พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง 0% 10% 10% 10% 90% 80%
เงินสด 30% 33% 60% 56% 10% 11%
การเคลื่อนย้ายเงินทุนทั่วโลกในไตรมาส 2/55
ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการ (fund under management) ของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกจำนวน 13 แห่ง ที่ร่วมในการสำรวจ ณ สิ้นไตรมาส 2/55 มีมูลค่าทั้งสิ้น 4.14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.3 จากไตรมาสที่แล้ว โดยกองทุนหุ้นมีสัดส่วนลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 80
ผลการสำรวจ พบว่า ในไตรมาส 2/55 กองทุนหุ้นมีเงินทุนไหลออกสุทธิ 34.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเรื่องวิกฤติหนี้ในยุโรป และข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง ส่วนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรในภาพรวมกลับมีเงินทุนไหลเข้าเพียงเล็กน้อย โดยมีการลงทุนในพันธบัตรตลาดเกิดใหม่/พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงในสัดส่วนมากที่สุดท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยต่ำ
กระแสเงินลงทุนสุทธิ (เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมทำการสำรวจ)
ประเภทการลงทุน สิ้นไตรมาส2/55 สิ้นไตรมาส1/55
พันธบัตรตลาดเกิดใหม่/พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง(Emerging markets/High yield bonds) +2.0% +8.8%
หุ้นยุโรป รวมสหราชอาณาจักร(Europe including UK equities) +0.8% -0.7%
พันธบัตรเอเชีย(Asian bonds) -0.5% -2.1%
หุ้นกลุ่มประเทศจีน(Greater China equities) -1.3% +1.0%
หุ้นตลาดเกิดใหม่(Emerging markets equities) -1.3% +0.2%
หุ้นอเมริกาเหนือ(North American equities) -1.5% +0.9%
หุ้นญี่ปุ่น(Japan equities) -2.0% -1.5%
พันธบัตรอเมริกา(US bonds) -2.3% -1.1%
หุ้นทั่วโลก(Global equities) -4.3% -4.3%
พันธบัตรทั่วโลก(Global bonds) -5.2% +8.7%
หุ้นเอเชีย แปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น(Asia-Pacific ex-Japan equities) -6.6% -4.3%
พันธบัตรยุโรป รวมสหราชอาณาจักร(Europe including UK bonds) -7.9% -3.3%