การจัดการลงทุนและประเมินความเสี่ยง (Investment Management and the Illusion of Control)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 11, 2012 13:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--ก.ล.ต. การจัดการลงทุนและประเมินความเสี่ยง (Investment Management and the Illusion of Control) โดย นายเอนิล กาบาศาสตราจารย์ด้านการบริหารความเสี่ยง สถาบันอินเสียด (INSEAD) วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา หลายคนอาจเรียกว่าเป็น “black swan” คือ เหตุการณ์ที่แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้น แต่ที่จริงแล้วในอดีตก็เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ และในอนาคตก็จะต้องเกิดขึ้นอีก หลายคนเชื่อว่ายิ่งแบบจำลอง (model) ที่ซับซ้อนจะยิ่งใช้ในการพยากรณ์ได้ดี แต่ที่จริงผู้ใช้อาจไม่เข้าใจ model เหล่านั้นดีพอ นอกจากนี้ model ที่ซับซ้อนอาจอธิบายข้อมูลในอดีตได้ดี แต่อาจใช้พยากรณ์ได้ไม่ดี ในขณะที่ model แบบง่ายอาจใช้พยากรณ์ได้ดีกว่าก็ได้ ซึ่งนอกจากการพิจารณาตัวแบบมีเหตุผล (rational model) แล้วควรพิจารณาตัวแบบทางจิตวิทยา (psychological model) ด้วย Illusion of control หมายถึง การที่คนทั่วไปมีแนวโน้มจะประเมินสถานการณ์สูงกว่าที่ควรเป็น (overestimate) โดยเข้าใจว่าตนเองมีความสามารถที่จะควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ หรือเชื่อว่าตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงโอกาสความเป็นไปได้ บางทีต้องยอมละทิ้งการควบคุม เพื่อให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ความไม่แน่นอนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) subway uncertainty ซึ่งหมายถึง ความไม่แน่นอนที่สามารถวัดค่าได้ และ (2) coconut uncertainty ซึ่งหมายถึงความไม่แน่นอนที่วัดค่าได้ยาก โดยทั่วไปเหตุการณ์ต่างๆ จะมีส่วนผสมของความไม่แน่นอนทั้ง 2 ประเภท เช่น เรื่องราคาน้ำมัน แผ่นดินไหว เป็นต้น ขณะที่ model ที่ใช้พยากรณ์มักจะสนใจด้านเทคนิคแต่ไม่ให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก นอกจากนี้ ในการตัดสินใจยังมีอคติต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง อีกด้วย สำหรับการจัดการกับความไม่แน่นอน จำเป็นต้องยอมรับว่าสิ่งใดควบคุมได้ สิ่งใดควบคุมไม่ได้ รวมถึงข้อจำกัดในการพยากรณ์ ในกรณีของ subway uncertainty ควรพยายามหลีกเลี่ยงอคติในการตัดสินใจ และใช้ model ที่ง่ายไม่ซับซ้อน ในส่วนของ coconut uncertainty ควรเปลี่ยนความไม่แน่นอนให้เป็นโอกาส

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ