กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--ตีฆ้องร้องป่าว
นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แสดงมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า เป็นแนวคิดที่ดี เชื่อว่าตราฯ นี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการรถยนต์บางส่วน โดยเฉพาะธุรกิจรถยนต์เก่า “รถมือสองที่ลูกค้าไม่ได้ซื้อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตที่มีปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมในสินค้าและบริการ และยากแก่การตรวจสอบเวลามีปัญหา ส่วนกลุ่มรถใหม่นั้นไม่แน่ใจว่าจะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงไร เพราะปกติรถใหม่จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าและบริการ หรือหากมีแต่ละบริษัทก็มีกลไกในการดำเนินการที่ชัดเจนเป็นระบบอยู่แล้วในปัจจุบัน ตรงนี้คงต้องดูรายละเอียดที่ทาง สคบ. กำลังจะประกาศว่าจะมีเงื่อนไขอย่างไร” นางเพียงใจ เปิดเผย
ด้าน ระกอบการสปาและธุรกิจความงาม นางจรัสศรี สวรรณทรรภ ประธานกรรมการบริหารบริษัท โปรเกรสซีฟ อินเตอร์เนชั่นแนล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ให้ความเห็นต่อกรณีเดียวกันนี้ว่า จะมีส่วนช่วยธุรกิจด้านความงามมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ผู้บริโภคตัดสินใจบริโภคบนพื้นฐานอารมณ์และความพึงพอใจเป็นหลัก
“การมีตราฯ น่าจะเหมือนกับการมีเบอร์ห้าเวลาเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จะช่วยผู้บริโภคให้ไม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลจำเป็นของสินค้า เห็นตราฯ ก็มั่นใจได้ว่าจะได้รับสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน และมีระบบการช่วยเหลือชัดเจนเวลาเกิดปัญหา เหล่านี้จะช่วยทั้งสร้างมาตรฐานและเพิ่มตลาดให้กลุ่มธุรกิจความงามได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงที่เราจะเข้าร่วม AEC เร็ว ๆ นี้ การก้าวสู่ตลาดต่างประเทศต้องการมาตรฐานที่เป็นสากลมากขึ้น ตราฯ จะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานสากลในเรื่องการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นและควรทำ”
“ธุรกิจความงามจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคสูง มีโอกาสที่จะมีปัญหาได้ แม้ผู้ผลิตหรือให้บริการจะไม่ได้ทำผิดอะไร แต่หลายกรณีผู้บริโภคมีปัญหาส่วนตัว เป็นโรคหรือทานยาที่อาจมีผลข้างเคียงหากได้รับสารบางตัวที่มีในผลิตภัณฑ์ ตรงนี้กลไกตราฯ น่าจะช่วยเข้ามาไกล่เกลี่ยสร้างความพอใจให้ทั้งสองฝ่ายได้ดีหากเกิดกรณีขึ้น ในส่วนของสมาคมสปาไทย เนื่องด้วยเราเพิ่งทราบเรื่องนี้ไม่นาน ตอนนี้เราอยู่ระหว่างการสื่อสารเรื่องนี้ให้สมาชิกทราบ เพื่อจะได้พิจารณาเข้าร่วมต่อไป” นางจรัสศรีกล่าว
ส่วนธุรกิจกวดวิชาซึ่งจะเป็นหนึ่งในประเภทธุรกิจที่สคบ. ตั้งเป้าให้เข้าร่วมตราสัญลักษณ์ฯ นั้น นางกุณฑิรา จุลสมัย กรรมการบริหารบริษัทแพลนนิท คอนซัลแตนท์ส จำกัด เปิดเผยว่าทราบเรื่องตราฯ มาได้ระยะหนึ่งแล้ว คิดว่าเป็นการริเริ่มที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
“ตราฯ จะช่วยผู้บริโภคกรองสินค้าและบริการ แยกของดีได้มาตรฐานออกจากส่วนที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยไม่ต้องเสียเวลาศึกษา เป็นการกรองขึ้นพื้นฐานสำหรับเลือกบริโภคได้ ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ประกอบการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของตัวเองไปด้วย เราพร้อมเข้าร่วมเลย ส่วนหนึ่งเพราะธุรกิจเราเองเป็นตัวแทนประกาศนียบัตร ICDL ก็เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับจาก 150 ประเทศอยู่แล้ว ส่วนการดำเนินการนั้น ตอนนี้เรารอรายละเอียดจากสคบ. ว่าจะต้องทำอย่างไร และอัตราเบี้ยประกันที่เหมาะสมสำหรับการเข้าร่วมของธุรกิจแบบของเรานั้นควรเป็นเท่าไร สำหรับในวงการ เท่าที่ทราบส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้และรอรายละเอียดเหมือนกัน” นางกุณฑิรากล่าว
นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สคบ. กล่าวว่า นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้ประกอบการพร้อมสนับสนุนแนวคิดตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค ปัจจุบันสำนักงานฯ กำลังเร่งดำเนินการจัดทำรายละเอียดธุรกิจแต่ละประเภท เพื่อให้พร้อมสำหรับการตัดสินใจสมัครเข้าร่วมอย่างกว้างขวางมากขึ้น “สคบ.มั่นใจว่าการดำเนินการในเรื่องนี้จะก้าวหน้าตามลำดับ ทั้งการให้ความร่วมมือจากภาคเอกชนและการสนับสนุนด้านนโยบายจากรัฐบาลผ่านนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเข้าใจและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้
ท้งนี้ ตราสัญลักษณ์คุ้มครองผู้บริโภค เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย สคบ. โดยนำระบบประกันภัยมาสนับสนุนกระบวนการชดเชยและเยียวยาผู้บริโภคจากการบริโภคสินค้าและบริการที่ไม่เป็นธรรม ให้เกิดความรวดเร็วภายใน 7-10 วัน เบื้องต้นจะดำเนินการใน 10 กลุ่มธุรกิจนำร่อง ก่อนที่จะขยายครอบคลุมสินค้าและบริการทุกประเภท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประชาสัมพันธุ์ให้ผู้ประกอบการรับทราบและเริ่มเปิดให้ผู้ประกอบการกลุ่มนำร่องสมัครเข้าร่วมรับตราสัญญลักษณ์ฯ แล้วทั้งผ่านสำนักงาน สคบ. และผ่านเว็บไซด์ www.ocpb.go.th