สถิติโลกกับเทคโนโลยีดีเซลคอมมอนเรลบ๊อช กับบททดสอบความทนทาน ในการขับรถทางไกล 23,000 กิโลเมตรโดยปราศจากปัญหาทางด้านเทคนิค

ข่าวทั่วไป Tuesday October 30, 2012 16:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--โอเอซิส มีเดีย - เส้นทางเมลเบิร์น สู่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กภายในระยะเวลาเพียง 17 วัน กับเครื่องยนต์ดีเซลที่สะอาด - เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เทคโนโลยีคอมมอนเรลของบ๊อซก็ช่วยทำให้เครื่องยนต์สะอาดมากขึ้นและประหยัดพลังงานมากขึ้น บ๊อชผู้นำ นวัตกรรม เทคโนโลยียานยนต์คุณภาพสูง เทคโนโลยีอุตสาหการ สินค้าอุปโภคและเทคโนโลยีก่อสร้าง ของโลก เปิดเผยถึงสถิติโลกใหม่ของการขับรถระยะทางไกลจากเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ไปยังเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 17 วัน โดยรถโฟล์คสวาเก้น ทัวเร็ก TDI Clean Diesel เครื่องยนต์โดยเทคโนโลยีหัวฉีดดีเซลจากบ๊อช ขับโดย ไรเนอร์ ซีทโล นักผจญภัยและขับรถออฟโรด ซึ่งเดินทางพร้อมเพื่อนร่วมทีมด้วยระยะทางกว่า 23,000 กิโลเมตร จากเมืองที่อยู่ใต้สุดของโลก ไปยังเมืองที่อยู่เหนือสุดของโลกในในการทำลายสถิติครั้งนี้ “การเดินทางจากเมลเบิร์น ไปยังเมือง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของพวกเราในครั้งนี้ถือเป็นการเดินทางครั้งที่ 3 หลังจากการเดินทางจากอาร์เจนตินาไปยังอลาสก้าในปี พ.ศ. 2554 และการเดินทางขึ้นภูเขาไฟ โอโจสเดลซาลาโด (Ojos delSalado) ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกในปี พ.ศ.2548 แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางครั้งล่าสุดของเราถือได้ว่าเป็นการเดินทางที่เยี่ยมยอดและเป็นบทพิสูจน์ถึงการตัดสินใจที่ถูกต้องของเราในการเลือกรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีดีเซลจากบ๊อช ที่ให้พลัง ความเร็ว และความมั่นใจในการขับขี่ในทุกสภาพถนนและในทุกสถานะการณ์” มร. ซีทโล กล่าว. เทคโนโลยี ระบบ คอมมอนเรล (CRS 3-20) เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งของเครื่องยนต์ใน โฟล์คสวาเก้น ทัวเร็ก Clean Diesel ที่ประหยัดคุ้มค่าต่อการใช้งาน มากไปกว่านั้นยังทำให้เครื่องยนต์สะอาดและทรงพลัง เทคโนโลยีระบบหัวฉีดดีเซลซึ่งควบคุมด้วยระบบอีเล็คทรอนิคส์ นี้ เป็นระบบที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้า ได้รับการพัฒนามาจาก บ๊อซ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตระบบหัวฉีดน้ำมันดีเซลชั้นนำของโลก “มีความท้าทายที่พวกเราพบอยู่ 2 อย่างในการเดินทางครั้งนี้ ความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศและความแตกต่างของคุณภาพน้ำมันในแต่ละประเทศตลอดเส้นทางที่ไรเนอร์ขับผ่าน แต่เทคโนโลยีคอมมอนเรลของบ๊อช ก็สอบผ่านได้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาทางด้านเทคนิคแม้แต่ปัญหาเดียวจากการใช้ระบบคอมมอนเรลของบ๊อช” นาย เคล้าส์ แลนด์ฮอยซ์เซอร์ หัวหน้าส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายกิจการภายนอกและรัฐสัมพันธ์, กล่าว นายแลนด์ฮอยซ์เซอร์ กล่าวต่ออีกว่า “สำหรับบ๊อซ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้จัดหาเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบดีเซลที่ทันสมัยและสะอาดของโลก โครงการนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีดีเซลคอมมอนเรล ของบ๊อชที่สะอาดและมีประสิทธิภาพในทุกสภาวะอากาศและท่ามกลางการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน’ อนาคตของเทคโนโลยีคอมมอนเรลที่มีความดันสูงถึง 2,500 บาร์ คำว่า ”คอมมอนเรล” มีความหมายถึงแรงอัดที่สะสมจากการฉีดน้ำมันด้วยแรงดันสูงเข้าสู่กระบอกสูบ การสูบฉีดของเครื่องยนต์หลายครั้งทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เงียบขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และก๊าซพิษตัวอื่นได้มาก ในปัจจุบัน รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลสะอาด จะใช้น้ำมันโดยเฉลี่ยน้อยลงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ปล่อยควันน้อยลงกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และเครื่องยนต์มีแรงบิดและให้พลังขับเคลื่อนมากขึ้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินในรุ่นเดียวกัน ระบบคอมมอนเรลรุ่นแรกทำงานด้วยแรงดันสูง 1,350 บาร์ แต่ในปัจจุบันระบบคอมมอนเรลรุ่น 2 นี้มีความดันสูงถึง 2,000 บาร์ โดยมีโซลินอยด์วาล์วเป็นตัววัดปริมาณการฉีดน้ำมันอย่างเที่ยงตรง ซึ่งสามารถควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงได้สูงถึง 8 ครั้งต่อการหมุนของเครื่องยนต์ 1 รอบ เครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรล 2 สามารถใช้ได้กับรถยนต์นั่งและรถยนต์ในเชิงพาณิชย์ ทุกชนิดทั่วโลก มากไปกว่านั้นบ๊อซยังได้ผลิตเครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรลรุ่น 3 ที่ติดตั้งด้วยหัวฉีดไฟฟ้าเปียโซ่ (Piezo) สำหรับการใช้งานในทุกสถานการณ์ เครื่องยนต์ระบบใหม่นี้จะทำให้เกิดการวัดปริมาณน้ำมันได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากทั้งก่อน และ หลังการสูบฉีดน้ำมัน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (NOx) ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เงียบขึ้นได้ ผู้พัฒนาระบบคอมมอนเรลได้ประสบผลสำเร็จในการผลิตเครื่องยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงแม้ว่าคุณภาพของน้ำมันดีเซลจะไม่สูงมากก็ตาม เนื่องจากการควบคุมโดยใช้ ระบบหัวฉีดไฟฟ้าเปียโซ่ ซึ่งมีพลังสูงกว่าการควบคุมโดยใช้โซลินอยด์ถึง 10 เท่าจึงทำให้เครื่องยนต์คอมมอนเรลไม่มีปัญหากับกับปริมาณฝุ่นละอองที่อยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง ในระบบคอมมอนเรล แรงอัดความดันหัวฉีดสามารถสูงได้ถึง 2,200 บาร์ วิศวกรหลายคนของบ๊อซกำลังช่วยกันพัฒนาแรงดันให้สูงถึง 2,500 บาร์หรือมากกว่านั้น เพื่อให้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลนี้เป็นเทคโนโลยีสำหรับอนาคต ในเรื่องการจัดการกับการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (NOx) บ๊อซได้ใช้เทคโนโลยีคอมมอนเรลที่เรียกว่าดี น๊อกโทรนิกส์ (Denoxtronic) ซึ่งเทคโนโลยีนี้ตรงกับหลักเกณฑ์เรื่องการควบคุมการปล่อยก๊าซที่เข้มงวดที่สุดในยุโรป รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานยูโร 6 ในทวีปยุโรปในปี พ.ศ.2557 หรือ Tier 2 Bin 5 ในสหรัฐอเมริกา รถยนต์ดีเซลที่ติดตั้งเทคโนโลยีระบบคอมมอนเรลในปัจจุบันเป็นที่นิยมและมีจำหน่ายทั่วไปในตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ