กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--กรีนพีซ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ณ เมืองมรดกโลก มหาสถูปบุโรพุทโธชานเมืองของเมืองยอร์กจากาต้าร์ กรีนพีซได้ตั้งฐานปฏิบัติการสถานีกู้วิกกฤตโลกร้อนเพื่อส่องไฟแสงสว่างให้แก่มหาสถูปบุโรพุทโธโดยใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรม “พลังงานหมุนเวียน คือ แสงสว่างด้านพลังงานแห่งอนาคต” โดยเป็นการรณรงค์เชิงสัญลักษณ์เพื่อผลักดันให้ประเทศอินโดนีเซียมุ่งสู่อนาคตพลังงานสะอาดและปลอดภัย
ศรี เปอร์โยโน่ ผู้ช่วยผู้ว่าการรัฐจาวาส่วนกลางในนามของนายบิบิท วัลยูโยผู้ว่าการรัฐจาวาส่วนกลาง และ นางดอว์น กอสลิ่ง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นตัวแทนกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ให้เกียรติ์ในพิธีปิดกดปุ่ม “การปฏิวัติพลังงาน” เพื่อเปิดไฟแสงสว่างที่ใช้พลังจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้ติดตั้งไว้โดยรอบบุโรพุทโธและโดมกู้วิกฤตโลกร้อน
“นี่คือสิ่งที่องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาสังคมควรร่วมกันทำงานเพิ่อให้เกิดผลการปฏิบัติอย่างแท้จริง เราสามารถตระหนักได้จากสิ่งที่กรีนพีซได้กำลังทำอยู่ เพราะเรามีเป้าหมายและวิสัยทัศน์เดียวกันที่ว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลได้มีการวางแผนเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในจาวาส่วนกลาง” นาย บิบิท วัลยูโยกล่าว
“ในอนาคตเมื่อเราหันย้อนกลับมาดู เราจะจดจำได้ว่ากิจกรรมในครั้งนี้ที่เป็นสัญญาลักษณ์แห่งการปฏิบัติที่เป็นแรงบันดาลใจให้ประเทศอินโดนีเซียลดการพึ่งพิงการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินและพลังงานฟอสซิลอื่น ๆ และยอมรับการปฏิวัติพลังงานเพื่อให้ประชาชนของประเทศสามารถใช้พลังงานที่สะอาดและปลอดภัย” นาง ดอว์น กล่าว
“เราถือว่าโครงการนี้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานมุ่งสู่อนาคตพลังงานสะอาดสีเขียวที่ปลอดภัยและยั่งยืน โดยการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ได้มาจากธรรมชาติเช่นลม แสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนใต้พื้นดิน ขอให้วันนี้เป็นวันแห่งการจุดประกายความสว่างไสวด้วยพลังงานหมุนเวียนสู่อนาคตของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นจุดจบของยุคการใช้พลังงานจากถ่านหิน เราจะต้องร่วมแรงร่วมใจผลักดันการปฏิวัติพลังงานไปข้างหน้า ณ บัดนี้” นาง ดอว์น กอสลิ่ง ได้กล่าวเพิ่มเติม
ประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาลในอนาคตตามอัตราการเจริญเติบโตของประชากรและการขยายตัวทางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ประเทศอินโดนีเซียยังคงพึ่งพาพลังงานส่วนใหญ่จากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่านหินซึ่งเป็นแหล่งปลดปล่อยคาร์บอนจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถ่านหินยังทำลายทางสิ่งแวดล้อมอย่างถาวร และรวมถึงวิถีชีวิต และสุขภาพของประชาชนอินโดนีเซีย
สภาพภูมิประเทศของอินโดนีเซียทำให้โรงงานผลิตไฟฟ้าตั้งอยู่ค่อนข้างกระจัดกระจาย หนึ่งในสามของประชากรไม่มีไฟฟ้าใช้ ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานนำมันดีเซลที่มีต้นทุนในการผลิตสูงเป็นแหล่งพลังงานเดียวที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าแก่ชุมชนในพื้นที่ทุรกันดาร
“การกระจายศูนย์พลังงาน สายส่งไฟฟ้าที่ไม่เชื่อมต่อกับระบบสายส่ง และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก จะสามารถช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าน้ำมันดีเซลหรือก๊าซที่แสนแพงได้” ฮินดุล มูลัยกา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าว
ในส่วนของประเทศไทยกรีนพีซ ได้เดินหน้ารณรงค์ปฏิวัติพลังงานมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงการรณรงค์ปฏิวัติพลังงานผ่านกฎหมายพลังงานหมุนเวียน โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการระดมรายชื่อ 55,555 รายชื่อเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรก
กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ