วอเนอร์ เสนอเรื่องย่อภาพยนตร์ The Polar Express

ข่าวทั่วไป Monday September 27, 2004 14:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--วอเนอร์ บราเธอร์ส
ในคืนหิมะตกก่อนวันคริสต์มาส เด็กชายตัวน้อยนอนลืมตาอยู่ในห้องของเขา ทั้งตื่นเต้นและเตรียมพร้อม
ลมหายใจแผ่วเบา แทบไม่กระดิกตัว เฝ้าคอย
เขากำลังเงี่ยหูฟังเสียงที่เขาหวั่นใจว่าจะไม่มีวันได้ยิน — เสียงกระดิ่งของรถเลื่อนซานต้า
เวลาในขณะนั้นคือห้านาทีก่อนเที่ยงคืน
ทันใดนั้น เด็กชายก็ต้องสะดุ้งตกใจด้วยเสียงกึกก้องกัมปนาท เมื่อเขาเช็ดถูฝ้าออกจากกระจกหน้าต่าง ก็ได้เห็นสิ่งที่ทำให้ต้องประหลาดใจอย่างมาก — รถไฟสีดำเป็นมันวับที่ส่งเสียงดังสนั่นในขณะที่จอดลง ตรงหน้าบ้านของเขาพอดี ไอน้ำที่พลุ่งออกมาจากเครื่องอันทรงพลังทำเสียงฟู่ๆ ในท้องฟ้ายามราตรีซึ่งมีเกล็ดหิมะกำลังโปรยปรายลงมาอย่างนุ่มนวล
เด็กชายรีบวิ่งออกไปนอกบ้าน ทั้งตัวสวมเพียงชุดนอนและรองเท้าแตะ เขาพบกับนายตรวจตั๋วรถไฟซึ่งดูเหมือนว่ากำลังคอยเขาอยู่เพียงคนเดียว “เอ้า จะไปด้วยกันหรือเปล่า?” นายตรวจถาม
“ไปไหนฮะ?”
“อ้าว ก็ขั้วโลกเหนือน่ะซี นี่รถด่วนโพลาร์ เอ็กซ์เพรสนะ!”
เทศกาลวันหยุดนี้ ทีมงานเจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง นักแสดง ทอม แฮงค์ส และผู้กำกับการแสดง โรเบิร์ต เซเมคคิส (Forrest Gump, Cast Away) ร่วมงานกันอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง The Polar Express, ในการผจญภัยที่เร้าใจ จากหนังสือเด็กอันเป็นที่รักของทุกคน โดย คริส แวน ออลสเบิร์ก ที่ได้รับรางวัล Caldecott Medal
เมื่อถึงเด็กชายผู้มีความสงสัย ได้ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษไปยังขั้วโลกเหนือ และออกเดินทางเพื่อค้นหาให้พบตัวเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามหัศจรรย์แห่งชีวิตนั้นไม่เคยจางหายไปสำหรับผู้ที่มีความเชื่อ
โดยการผสมผสานการเล่าเรื่องราวที่แสนคลาสสิค เข้ากับการสร้างหนังที่เฉียบขาด เรื่อง The Polar Express จะเปิดตัวเทคโนโลยีการสร้างภาพยนตร์ชั้นสูง ที่พัฒนาและปรับแต่งให้เหมาะสมกับวิสัยทัศน์ที่ไม่ยอมอ่อนข้อของเซเมคคิส และเป็นภาพยนตร์เรื่องเรกที่เคยมีการถ่ายทำด้วยรูปแบบชนิดนี้ทั้งเรื่อง
Sony Pictures Imageworks โดยผู้ควบคุมอาวุโสด้านงานวิชวลเอ็ฟเฟ็ค เคน แรลสตัน เจ้าของห้ารางวัลออสการ์ และ เจโรม เชน ผู้เข้ารอบปี 2000 จะเป็นผู้ที่ช่วยทำให้เรื่องราวแห่งเทศกาลวันหยุดนี้ให้มีชีวิต ด้วยภาพแอนิเมชั่น CG ซึ่งเป็นขั้นตอนการสร้างภาพในรุ่นอนาคตของ Imageworks ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคนิคที่ทำให้การแสดงไลฟ์แอ็คชั่นของนักแสดง เป็นตัวขับเคลื่อนอารมณ์ และการเคลื่อนไหวของตัวละครที่เป็นดิจิตัล แบบที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน นับเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่แห่งอิสระและทางเลือกของการสร้างสรรค์ให้แก่นักแสดงและผู้สร้างภาพยนตร์
คาสเซิล ร็อค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ร่วมกับ แชงกรี-ล่า เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ภูมิใจเสนอ ผลงานสร้างของ Playtone / ImageMovers / Golden Mean Production : ทอม แฮงค์ส ในภาพยนตร์โดย โรเบิร์ต เซเมคคิส เรื่อง The Polar Express กำกับการแสดงโดย โรเบิร์ต เซเมคคิส จากบทภาพยนตร์โดยเซเมคคิส & วิลเลียม บรอยล์ส จูเนียร์, อำนวยการสร้างโดย สตีฟ สตาร์คีย์, โรเบิร์ต เซเมคคิส, แกรี่ โกตซ์แมน และวิลเลียม ทีทเลอร์ อิงจากหนังสือ โดย คริส แวน ออลส์เบิร์ก; อำนวยการบริหารโดย ทอม แฮงค์ส, แจ็ค แร็พเก้ และคริส แวน ออลส์เบิร์ก
ทีมงาน ได้แก่ ผู้กำกับภาพ ดอน เบอร์กีส A.S.C. และโรเบิร์ต เพรสลีย์; ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ ได้แก่ ริค คาร์เตอร์ และดัค เชียง; และผู้ลำดับภาพ ได้แก่ เจเรเมียห์ โอ’ดริสโคล และ อาร์ ออร์แลนโด ดูเอแนส ; ผู้ควบคุมอาวุโสด้านงานวิชวลเอ็ฟเฟ็ค เคน แรลสตัน และ เจโรม เชน; ผู้อำนวยการสร้างร่วม ได้แก่ สตีเวน บอยด์ ; ดนตรีประกอบโดย อลัน ซิลเวสทรี
The Polar Express จัดจำหน่ายทั่วโลกโดย วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ในกลุ่มบริษัท วอร์เนอร์ บราเดอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ อัลบั้มซาวนด์แทร็ค โดย Warner Sunset/Reprise Records
“ไม่สำคัญหรอกว่ารถไฟจะไปไหน ที่สำคัญคือการตัดสินใจขึ้นรถ”
ทีมผู้สร้างหลงในเสน่ห์นิทานเทศกาลแสนคลาสสิค
เกือบ 20 ปีแล้ว ที่ครอบครัวทั่วโลกได้ทำให้เรื่องราวที่มีเสน่ห์ของ คริส แวน ออลสเบิร์ก The Polar Express กลายเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองในเทศกาลวันหยุดของพวกเขา สิ่งที่มีค่าที่สุดของเทศกาลอย่างเช่นการแขวนถุงเท้าไว้ข้างเตาผิง การแลกเปลี่ยนคำอวยพร และการสังสรรค์กันในระหว่างเพื่อนฝูงและคนในครอบครัว
“มันกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติประจำปีที่ผมจะต้องอ่านหนังสือให้ลูกชายฟังในขณะที่เขาเติบโตขึ้น และนั่นไม่เคยทำให้เขาผิดหวังในความมหัศจรรย์” โรเบิร์ต เซเมคคิส ผู้สร้างภาพยนตร์เล่า เขาเป็นแฟนหนังสือมาตั้งแต่การตีพิมพ์เมื่อปี 1985 “จินตนาการนั้นมีความเป็นอีกโลกหนึ่ง ที่อยู่ตรงไหนสักแห่งระหว่างความฝันและความเป็นจริง ซึ่งดึงดูดใจในความลึกลับของคืนวันคริสต์มาสที่น่ากระวนกระวาย”
“มันมีองค์ประกอบที่เป็นสัญชาติญาณในเรื่อง ซึ่งผมหวังว่ามันจะส่งเสียงผ่านทางจอภาพยนตร์ได้” ทอม แฮงค์ส กล่าว ตัวเขาเองเป็นคุณพ่อลูกสี่ ซึ่งเคยอ่านนิทานก่อนนอนมาแล้วจนนับชั่วโมงไม่ถ้วนด้วยตัวเขาเอง เขาและหุ้นส่วนที่ Playtone ผู้อำนวยการสร้าง แกรี่ กอทซ์แมน ได้เสนอไอเดียของการสร้างเป็นภาพยนตร์จอใหญ่กับผู้เขียน แวน ออลสเบิร์ก และผู้อำนวยการสร้าง วิลเลียม ทีทเลอร์ และในที่สุดบรรดาหุ้นส่วนที่ Golden Mean Productions กับแฮงค์ส ก็ได้นำเอาโครงการไปเสนอกับเพื่อนที่รู้จักกันมานานอย่างเซเมคคิส คู่หูเจ้าของรางวัลออสการ์ เคยร่วมกัน ค้นคว้าในประเด็นที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณของมนุษย์มาแล้วในเรื่อง Forrest Gump และ Cast Away และทั้งสองต่างตื่นเต้นกับการเดินทางครั้งสำคัญของจิตวิญญาณแห่งพระเอกตัวน้อยใน The Polar Express
หนังสือเรื่อง The Polar Express ซึ่งเป็นที่รักของบรรดาเด็กๆ นั้น ยังดึงดูดใจบรรดาผู้ใหญ่อีกด้วย พวกเขาได้เห็นตัวเองผ่านตัวละครเด็กชายน้อย และจดจำความตื่นเต้นวัยเด็กของพวกเขาเอง และการรอคอยให้ถึงคืนที่สำคัญที่สุดของปี บางทีพวกเขาอาจยังจำได้ถึงช่วงเวลาแห่งความสงสัยที่ได้คืบคลานเข้าสู่หัวใจวัยเด็กเป็นครั้งแรก และสำนึกได้ว่าการโตเป็นผู้ใหญ่ อาจหมายถึงการสูญเสียสิ่งที่มีค่าบางอย่างและสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ไปตลอดกาล บางสิ่งที่พวกเขาอธิบายไม่ได้แต่รู้สึกได้อย่างแน่นอน
The Polar Express เป็นเรื่องราวของช่วงเวลา ซึ่งเป็นรอยต่อของความไร้เดียงสาและความเป็นผู้ใหญ่ ที่เด็กคนหนึ่งสามารถเลือกทางเดินเส้นหนึ่งที่จะปิดกั้นหัวใจของเขาไปตลอดกาล หรือบนอีกเส้นทางหนึ่งที่เขาจะได้เรียนรู้ว่า ศรัทธานั้นไม่มีอายุ ไม่มีกฎเกณฑ์ และไม่มีข้อจำกัด
“หนังสือได้นำพาผมไปสู่สิ่งที่ผมเรียกว่า ‘ช่องแห่งการตื่น’ อย่างเห็นได้ชัด ว่าสภาวะของความคิดในระหว่างการหลับและการตื่น ที่เป็นการทดสอบในความเป็นจริง แต่ยังมองเห็นได้ในภาพความฝัน และเรามีความอ่อนไหวต่ออารมณ์หลากหลายที่ไหลผ่านเข้ามา” สตีฟ สตาร์คี ผู้อำนายการสร้าง ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของเซเมคคิสมายาวนานกล่าว และเขาได้รับรางวัลจากเรื่อง Forrest Gump “ผมบอกกับบ็อบว่า ‘นี่เป็นที่ๆ คุ้มกับการพาผู้ชมไป’”
เซเมคคิส ซึ่งเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ร่วมกับวิลเลียม บรอยล์ส จูเนียร์ (Cast Away, Apollo 13) และยังได้กำกับฯ เรื่อง The Polar Express, ยอมรับเรื่องนี้ “มันเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย พวกเราหลายคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีคำถามเกี่ยวกับความเชื่อของเรา หรือไม่ก็เคยผ่านขั้นตอนของการทดสอบศรัทธาและเรียกมันกลับคืนมา พวกเด็กๆ สามารถติดตามเรื่องราวได้ด้วยการอ่าน กับการเดินทางตามหาซานตาคลอส ในขณะที่ผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นการอุปมาสำหรับความคิดที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์ของคริสต์มาส แต่ในใจกลางก็คือเรื่องราวของคนทั่วโลกที่เกี่ยกวับความเชื่อในสิ่งที่เราไม่ได้เห็นหรือเข้าใจอย่างถ่องแท้
“หวังเป็นอย่างยิ่ง” ผู้กำกับฯ กล่าวต่อ “ว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น เราจะไม่ดูแคลนผู้อื่นเสียจนเลิกเชื่อ ความคิดเรื่องคริสต์มาสคือความอบอุ่นและความไม่เห็นแก่ตัว ซานตาคลอสเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่ว่า แต่เราไม่จำเป็นต้องเชื่อในตัวเขาเพื่อให้มีความรู้สึกนั้น”
เมื่อได้ขึ้นรถไฟแล้ว เด็กชายก็ได้พบกับเด็กๆ อีกหลายคน แต่ละคนต่างมีกรณีของตนเองและบทเรียนที่ต้องเรียนรู้ “เหมือนกับเรื่อง The Wizard of Oz, ค่อนข้างมาก” แจ็ค แรพเก้ ผู้อำนวยการบริหารเล่า “เด็กแต่ละคนที่ขึ้นรถวิเศษนี้ มีการเดินทางส่วนตัวของแต่ละคน และต้องค้นหาสิ่งที่ขาดหายไปเพื่อทำให้ตัวเองสมบูรณ์ มีเด็กหญิงคนหนึ่งที่มีพรสวรรค์ ความมุ่งมั่น และความเฉลียวฉลาดที่จะเป็นผู้นำได้ แต่เธอขาดความมั่นใจในตัวเอง เด็กชายรู้หมดที่ขาดการรู้จักถ่อมตน และเด็กชายอีกคนที่ชื่อว่าโลนลี่บอย เขาโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมที่ไร้ความรัก และต้องมีศรัทธาในคนอื่นๆ แก่นของเรื่องที่เข้มข้นเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีผลต่ออารมณ์ภายในของตัวละคร ในระหว่างที่ได้พบเจอกับความตระการตาของการเดินทางภายนอก เมื่อรถไฟกำลังวิ่งเพื่อมุ่งหน้าไปสู่ขั้วโลกเหนือ”
ผู้เขียนและศิลปิน คริส แวน ออลสเบิร์ก หนึ่งในบรรดาผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างมากที่สุดในวงการวรรณกรรมเด็ก เคยได้รับรางวัล Caldecott Medal เมื่อปี 1986 จากผลงานวาดภาพสีน้ำมันที่บรรยายถึงเรื่อง The Polar Express มีชื่อเสียงในความมีจินตนการและนิทานต้นฉบับของเขา แวน ออลสเบิร์ก เริ่มต้นอาชีพงานด้านหนังสือของเขาในเรื่อง The Garden of Abdul Gasazi ในปี 1979 ซึ่งทำให้ได้รับคำชื่นชมโดยไม่ได้คาดหมายมาก่อน และรางวัล Caldecott Honor Award ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่หาได้ยากยิ่งในการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก ผลงานที่ตามมาของเขาได้แก่เรื่อง Jumanji ที่เต็มไปด้วยสีสัน ในปี 1981 (ใช้เป็นข้อมูลสำหรับภาพยนตร์ปี 1995 ซึ่งนำแสดงโดยโรบิน วิลเลียมส์) และ The Polar Express ในปี 1985 — ทั้งสองเรื่องได้รับรางวัล Caldecott Medal ทำให้แวน ออลสเบิร์กกลายเป็นหนึ่งในบรรดานักเขียนกลุ่มน้อย ที่ได้รับรางวัลทรงเกียรตินี้ถึงสองครั้งด้วยกัน
“พวกเด็กๆ ที่โชคดีคือคนที่ได้รู้จักว่ามีชายร่างอ้วนอารมณ์ดีในชุดสีแดงซึ่งขับรถเลื่อนเหาะได้” แวน ออลสเบิร์กบอก และเช่นกันที่เขาให้เครดิตกับผู้ใหญ่ที่สามารถก้าวข้ามไปสู่วัยแห่งวุฒิภาวะได้โดยไม่โยนทิ้งสัมผัสมหัศจรรย์ “เราควรอิจฉาพวกเขา การที่คนมีความเชื่อในเรื่องที่มหัศจรรย์ อาจทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล หรืออาจทำให้ถูกหลอกได้ง่าย แต่นั่นเป็นพรสวรรค์ที่แท้จริง โลกของคนที่คิดว่ามีบิ๊กฟุต และสัตว์ประหลาดล็อคเนส เป็นอะไรที่อยู่เหนือกว่าพวกที่คิดว่าไม่มี”
สำหรับเรื่องราวของพระเอกตัวน้อย ความจริงอย่างที่สุดที่เขาปีนขึ้นไปบนรถไฟ เมื่อมันหยุดรับเขานั้น บ่งว่าความคิดและหัวใจของเขายังเปิดกว้าง อย่างที่นายตรวจได้ให้คำแนะนำว่า “ไม่สำคัญหรอกว่ารถไฟจะไปไหน ที่สำคัญคือการตัดสินใจขึ้นรถ”
การสร้างภาพภูมิทัศน์ให้มีมนตร์ขลังเหมือนตัวเรื่องราว
เซเมคคิสเองก็ประทับใจในการบรรยายที่เข้มข้นและโดนใจของหนังสือ ความอบอุ่นที่ส่งผ่านจากใบหน้าของบรรดาเด็กๆ ในห้องโดยสารแสนสบายของรถไฟโพลาร์เอ็กซ์เพรส ในขณะที่ภายนอกรถคือทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา ซึ่งกลายเป็นการเชิญชวนสู่ความลี้ลับแห่งป่าลึกและภูเขาซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะ
“การบรรยายภาพของคริสเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาและเป็นที่คุ้นเคย และในเวลาเดียวกันก็ช่าวเหนือธรรมชาติอย่างน่าอัศจรรย์” เซเมคิสกล่าว เขาเสาะหาวิธีที่จะสร้างคุณภาพเหล่านั้นไว้ในจอ และนำเสนอแก่ผู้ชมซึ่งจะสามารถสัมผัสกับการเดินทางสู่ขั้วโลกเหนือในยามเที่ยงคืนผ่านสายตาของเด็กชายตัวน้อย ”มันง่ายที่จะได้เห็นตัวเราเอง ลูกๆ ของเรา หรือเด็กๆ ที่โตมากับเรา ในใบหน้าและบุคลิกที่ของตัวละครเหล่านี้ และภูมิทัศน์ที่รถไฟแล่นผ่านไปก็เป็นเหมือนความฝันที่เราทุกคนมีเกี่ยวกับสถานที่ไกลโพ้น ที่ซึ่งสิ่งมหัศจรรย์และน่าตื่นเต้นอาจเกิดขึ้นได้”
แฮงค์สทบทวนให้ฟังว่า เขาและเซมิคคิสเห็นพ้องกันว่ามันคงเป็นความคิดที่ดี “ที่จะสร้างภาพวาดแต่ละภาพในหนังสือขึ้นมาในแต่ละช่วงของหนังตลอดเรื่อง เราอาจจะสร้างภาพยนตร์ที่ดีเลิศ ซึ่งจะนำเสนอจิตวิญญาณของวันคริสต์มาสในแนวใหม่เอี่ยม”
เซเมคิสกล่าวเสริมว่า “เราอยากนำเสนอความงดงามและเข้มข้นของภาพที่คริสได้วาดไว้ในหนังสือ ให้เหมือนกับว่ามันเป็นภาพสีน้ำมันที่เคลื่อนไหวได้ เต็มไปด้วยความอบอุ่น ความตรงไปตรงมา และความเรียบง่ายของการแสดงออกของคนเรา”
ทว่าจะทำอย่างไรเล่า?
ไม่เพียงแต่ที่งานหนังแอ็คชั่นประเภทนี้ ซึ่งต้องมีภูมิทัศน์ห่างไกลจากชีวิตปกติ จะทำได้ยากเย็นแสนเข็ญ หรือเป็นไปไม่ได้เอาเลย เพราะความขาดแคลนองค์ประกอบที่แจ่มแจ้ง อย่างที่ทีมผู้สร้างถูกผูกมัดในการสร้างขึ้นมา อีกหนึ่งทางลือกที่เป็นไปได้ — แอนนิเมชั่น — ก็ยังมีข้อจำกัดของมัน “ปัญหาของงานแอนิเมชั่นทั่วไปสำหรับหนังประเภทนี้” เซเมคคิส ผู้ที่ไม่ระย่อกับการใช้เทคนิคในทางที่ถูกต้องบอก “ก็คือการที่ไม่สามารถเก็บรายละเอียดของลักษณะท่าทางมนุษย์ได้สมจริง สำหรับภาพที่เกินความเป็นธรรมชาติ งานแฟนตาซีอย่าง Snow White and the Seven Dwarves หรือการ์ตูน มันยอดเยี่ยมมาก แต่เรากำลังมองหาสิ่งที่มีชีวิตอย่างที่เป็นจริงได้”
เซเมคคิสนำความท้าทายนี้ไปหารือกับเคน ราลสตัน พ่อมดแห่งวิชวลเอ็ฟเฟ็ค เจ้าของตุ๊กตาทองหลายรางวัลจากผลงานของเขา และปัจจุบันเป็นผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็คอาวุโสที่ Sony Pictures Imageworks และผู้นำของวงการในด้านการผลิตงานดิจิตัล ราลสตันเคยร่วมงานกับเซเมคคิสมาก่อน ย้อนไปตั้งแต่ปี 1985 ในหนังแอ็คชั่นผจญภัยคอมเมดี้เรื่อง Back to the Future, หนังที่หัวใจของเรื่องเป็นที่จดจำอย่างมาก และการเล่าเรื่องอย่างหลักแหลม พอๆ กับงานสเปเชียลเอ็ฟเฟ็คที่น่าตื่นตา
ราลสตันเสนอแนวความคิดของการจับภาพเคลื่อนไหว ขั้นตอนที่การแสดงของดาราถูกเก็บไว้เป็นภาพดิจิตัลโดยกล้องคอมพิวเตอร์ และกลายเป็นพิมพ์เขียวของมนุษย์เพื่อใช้ในการสร้างตัวละครเสมือนจริง เซเมคคิสคุ้นเคยกับเทคนิคนี้ แต่ไม่เคยคาดหวังว่ามันจะถูกนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของเขาในเรื่อง The Polar Express จากการทำงานที่เคยได้เห็นมา แต่สิ่งที่เพื่อนของเขาเล็งเห็นไม่ได้เป็นงานโม-แคพธรรมดาทั่วไป มันจะกลายเป็นก้าวที่ใหญ่เกินกว่ามาตรฐานปกติ ในการสร้างภาพที่ลึกซึ้งและซับซ้อนอย่างที่เซเมคคิสต้องการ
ให้บังเอิญว่าราลสตัน และเพื่อนร่วมงานที่ Imageworks ของเขา เจโรม เชน ผู้ควบคุมอาวุโสด้านวิชวลอ็ฟเฟ็ค กำลังทำงานเกี่ยวกับขั้นตอนโม-แคพที่ล้ำสมัยในระดับเบื้องต้นอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าอะไรอื่นๆ ที่เคยได้เห็นกันมา
ระบบที่ได้รับการพัฒนาไปอย่างมากนี้ เป็นยิ่งกว่าภาพเคลื่อนไหวธรรมดา มันได้รับการออกแบบให้จับภาพการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น และการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์โดยละเอียดจากการแสดงของนักแสดง ลงลึกไปจนกระทั่งการกระพริบของเปลือกตา นอกจากนั้น ยังไม่เหมือนกับระบบโม-แคพที่ใช้กันอยู่ ซึ่งมีข้อจำกัดด้านขอบเขต สามารถสร้างเป็นแบบสามมิติต่อเนื่อง และการเคลื่อนไหวของร่างกายและใบหน้าอย่างคมชัดจากนักแสดงหลายๆ คน ด้วยระบบกล้องดิจิตัลที่ถ่ายครอบคลุมได้ถึง 360 องศา
ด้วยการทำงานร่วมกันระหว่าง Polar และทีมจาก Imageworks ทำการทดสอบขั้นตอนจริง โดยการใช้ทอม แฮงค์ส เป็นตัวทดลองรายแรก
“ผมไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย” เซเมคคิสหล่าวถึงขั้นตอนบันลือโลกนี้ ซึ่งในที่สุดแล้ว — และอย่างเหมาะสมที่สุด — เป็นการให้กำเนิด Performance Capture “ตอนที่เราทดสอบและได้ผลกลับมา ดูเหมือนว่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานใน The Polar Express ”จริงๆ แล้ว” เขายอมรับ “ถ้าเกิดมันเป็นไปไม่ได้ หรือไม่มีวิวัฒนาการมาถึงขั้นนี้ ผมก็คงไม่อยากเดินหน้าต่อไปกับโปรเจ็คนี้”
นี่คือหนทาง — ทางเดียวที่มี — เพื่อให้ได้ภาพวาดสีน้ำมันแห่งจินตนาการของภาพวาดโดยแวน ออลสเบิร์ก ให้มาอยู่บนจอภาพยนตร์ ในขณะที่ยังคงรักษาความตรงไปตรงมาของการแสดงออกที่แท้จริงของมนุษย์
อย่างที่ราลสตันอธิบายไว้ว่า “Performance Capture สร้างภาพที่มีชีวิตจากโลกของแวน ออลสเบิร์ก ในขณะที่สร้างสัมผัสความเป็นจริงที่เข้มข้นให้กลายเป็นการแสดง มันเป็นเหมือนการนำเอาวิญญาณของคนเป็นๆ มาใส่ลงในตัวละครเสมือนจริง”
ขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มวัตถุดิบมีชีวิตจำนวนมหาศาล ซึ่งต้องใช้ในการจับภาพและถ่ายทอดลงเป็นภาพดิจิตัล แต่ยังทำให้มีความยืดหยุ่นอย่างไม่มีใดเทียบ สำหรับทางเลือกในการเล่าเรื่องของผู้กำกับฯ ในขณะที่การลำดับภาพของหนังปกตินั้นขึ้นอยู่กับขอบเขตของการเก็บภาพในมุมต่างๆ ที่ฉากนั้นถูกถ่ายทำในระหว่างการทำงาน แต่เทคโนโลยี Performance Captureจะไม่มีการจำกัดขอบเขต ภาพจะขยายได้อย่างเต็มที่ จนทำให้เซเมคคิสสามารถสร้างช็อตจำเพาะในระหว่างขั้นตอนการตัดต่อได้ เขาอาจเลือกจากความลึกและมิติ และเลื่อนตำแหน่งตัวละครที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมไซเบอร์ เพื่อเน้นการแสดงออกทางอารมณ์หรือรายละเอียดอื่นๆ ทุกอย่างด้วยการเคลื่อนที่อย่างเป็นธรรมชาติของกล้อง
เอ็ฟเฟ็คแบบภาพวาดสีน้ำมัน นับเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับเซเมคคิส และจะได้รับการจัดทำเป็นชั้นๆ ไป ระหว่างช่วงงานหลังการถ่ายทำ โดยการใช้วิธีการ CG
The Polar Express นั้น เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยการใช้ Performance Capture ทั้งเรื่อง
ผู้ที่เคยได้ชมฟุตเตจที่สมบูรณ์แล้วยืนยันว่ามันท้าทายการจำแนกประเภทอย่างง่าย การเปรียบเทียบที่คล้ายๆ กันก็คือไม่มีรอยต่อให้เห็น และมักถูกบรรยายถึงสิ่งที่ ไม่เหมือน — อย่างที่มันไม่ใช่งานแอนิเมชั่นทั่วไป — ไม่เชิงเป็นการจับภาพเคลื่อนไหว และไม่ใช่ไลฟ์แอ็คชั่นจริงๆ เป็นศิลปะที่เป็นตัวของมันเอง งานของ Performance Capture สร้างความบันลือโลกด้วยการนำเสนอภาพที่ไม่เหมือนอะไรที่เราเคยเห็นกันมาก่อน
เซเมคคิสไม่ใช่คนประเภทที่จะแนะนำเทคนิคใหม่ในจอภาพยนตร์เพื่อผลดีแก่ตัวมันเอง หากมองย้อนกลับไปในชีวิตการทำงานของเขา จะพบกับนวัตกรรมที่โดดเด่นหลายอย่าง ซึ่งเป็นการรับรองว่าทุกครั้งที่เขาสร้างสรรค์สิ่งที่ลือลั่นขึ้นมา ก็เพื่อใช้สำหรับงานในหนังแต่ละเรื่อง
ใน Forrest Gump, เป็นต้น ในฉากที่ทอม แฮงค์ส ในบท กัมพ์ จากนิยาย ดูสบายๆ และกลมกลืน ในฟุตเตจที่เขาต้องแสดงร่วมกับบุคคลในอดีตอย่าง ประธานาธิบดีเคนเนดี้ เมื่อนึกย้อนไปถึงเอ็ฟเฟ็คนั้น เซเมคคิสพูดว่ามันเป็นเรื่องของความจริง “ตอนนั้นเรามีเรื่องราวของชายหนุ่มที่ได้พบปะกับบรรดาประธานาธิบดี มันมีอยู่ในสคริปท์ จึงคาดเดาได้ว่าเขาจะต้องแสดงการพบปะในหนังด้วย เราหาฟุตเตจภาพข่าวของการปรากฎตัวจริงๆ ของท่านประธานาธิบดี แล้วก็คิดหาทางทำมันด้วยคอมพิวเตอร์
“ตอนนี้การทำแบบนั้นเป็นเรื่องที่ง่าย” เขายอมรับ “แต่ตอนนั้นมันยากมาก”
ก่อนหน้าเรื่อง Forrest Gump เซเมคคิสได้หว่านเสน่ห์กับผู้ชมด้วยการผสมผสานแบบมีชีวิตชีวา ของไลฟ์แอ็คชั่นกับแอนิเมชั่นกวนประสาทของปี 1988 ในหนังแอ็คชั่นคอมเมดี้คลาสสิคเรื่อง Who Framed Roger Rabbit?, ซึ่งเป็นการใช้เทคโลยีสดใหม่ที่ผู้กำกับฯ ยอมรับอย่างง่ายๆ ว่าเป็นการ “ใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ที่เราต้องทำให้ตัวการ์ตูนสองมิติเข้ามาอยู่ในโลกสามมิติ”
สิ่งที่ผลักดันเซเมคคิสก็คือการเล่าเรื่องในวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นได้ โดยเนื้อแท้แล้วเขาเชื่อว่า โดยการใช้หรือไม่ใช้เอ็ฟเฟ็คล้ำสมัย “สิ่งที่ตระการตาในโรงหนังก็คือการลวงตา แม้แต่เทคนิคพื้นฐานที่สุดก็คือการลวงตา — การคัท การโคลสอัพ มันไม่จริงทั้งนั้น มันเป็นเวทย์มนตร์ ไม่มีในชีวิตจริง ดังนั้น ถ้าเรามองมันแบบนั้น หนังทุกเรื่องก็คือภาพลวงตาทั้งหมด และบางอย่างที่ผมทำก็คือการขยายความมัน นั่นเป็นสิ่งที่สนุกสำหรับการเป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์
ขั้นตอน
องค์ประกอบบางอย่างของการสร้างเรื่อง The Polar Express นั้นคล้ายคลึงกันกับของงานภาพยนตร์ไลฟ์แอ็คชั่นทั่วๆไป: เซเมคคิสและบรอยล์สทำงานด้านสคริปท์ มีการทำสตอรี่บอร์ด ออกแบบฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก มีการเลือกเนื้อผ้าและวอลล์เปเปอร์ อย่างที่สตาร์คีย์อธิบายให้ฟังว่า “แม้ว่าเราจะสร้างความแหวกแนวในการนำเสนอและการจับภาพ ก็ยังมีการทำงานในรายละเอียดพื้นฐาน ที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยวิธีปกติ เรายังคงต้องการเห็นเนื้อผ้าของเครื่อแต่งกาย และทรงผมของตัวละครแต่ละตัว”
การทำงานสร้างเริ่มขึ้นหลายเดือนก่อนการทำงานจับภาพการแสดงครั้งแรก ในขณะที่ทีมผู้สร้างรวบรวมทีมงานครีเอทีฟ มีหลายคนที่เป็นบรรดามือเก่าในหนังของเซเมคคิส อย่างเช่นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย โจแอนนา จอห์นสตัน ซึ่งเป็นผู้คิดค้นชุดราตรีที่เป็นครื่องหมายประจำตัวให้กับเจสสิก้า กระต่ายเสียงไซเรนในเรื่อง Who Framed Roger Rabbit? และ ริค คาร์เตอร์ ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ ซึ่งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากผลงานของเขาในเรื่อง Forrest Gump
สิ่งที่แตกต่างก็คือองค์ประกอบในทางปฏิบัติ หลังจากที่เสร็จจากการสแกนด้วยดิจิตัลลงในคอมพิวเตอร์แล้ว ทีมผู้สร้างก็จะใช้ฉากเสมือนจริง ชุดเสมือนจริง และอุปกรณ์ประกอบเสมือนจริงและเคลื่อนที่ได้ที่มีรายละเอียดอย่างมหาศาล ทุกอย่างจะได้รับการบันทึกอย่างระมัดระวัง จากทุกมุมและความลึกที่สามารถจะเก็บภาพได้ ส่งผลให้ได้เวทีสามมิติที่พร้อมจะให้บรรดานักแสดงก้าวเข้าไป
ส่วนฉากและโลเคชั่นอื่นๆ อาทิเช่น ทิวเขาและป่าอันแสนมหัศจรรย์ที่รถด่วนโพลาร์วิ่งตะบึงผ่านไปในการเดินทางยามเที่ยงคืน และถนนหลายสายในดาวน์ทาวน์ที่เต็มไปด้วยแสงสี ในหมู่บ้านซานต้าซึ่งตั้งอยู่บนสุดยอดของโลก ไม่มีอยู่ในความเป็นจริงแม้แต่น้อย พวกมันถูกสร้างขึ้นจากจินตนาการสู่คอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการสร้างภาพพิเศษสู่จอภาพยนตร์ในเรื่อง The Polar Express, ทีมผู้สร้างตั้งต้นจากจุดเดียวกับที่แวน ออลสเบิร์กได้เริ่มไว้ : ในห้องนอนอาบแสงจันทร์ของเด็กชายในคืนก่อนวันคริสต์มาส ซึ่งเขาได้ยินเสียงรถไฟมาจอดหน้าบ้านเป็นครั้งแรก
“แต่เราลงลึกในเรื่องสภาพแวดล้อมมากกว่าในหนังสือ” สตาร์คีย์อธิบาย “ถ้าดูในภาพแรกของหนังสือ จะมีเตียงนอน หน้าต่าง และกำแพงบางส่วน แล้วส่วนที่เหลือของห้องเป็นยังไงล่ะ? มีปล่องบันไดหรือไม่? ส่วนที่เหลือของบ้านมีอะไรบ้าง หรือบ้านข้างๆ? มันดูเป็นยังไงตอนที่รถไฟวิ่งออกไปจากเมือง?”
โดยการใช้หนังสือเป็นมาตรฐานการทดสอบ ทีมผู้สร้างจึงได้ขายขอบเขตออกไปอีก
ริค คาร์เตอร์ ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ได้ศึกษาภาพวาดประกอบของแวน ออสเบิร์กมาก่อนแล้ว อย่างที่เซเมคคิสบอกว่า “เขาเที่ยวตามหาคริส แวน ออสเบิร์กด้วยตนเอง“ เขาและดัค เชียง ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ และเคยเป็นผู้ออกแบบคอนเซปท์ให้กับ Star Wars, Episode One และ Episode Two ได้เดินทางไปที่บ้านซึ่งนักเขียนผู้นี้อยู่มาจนโต ในเมืองแกรนด์ แรพิดส์ รัฐมิชิแกน และใช้สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจในการออกแบบภายในและภายนอกบ้านของเด็กชายและถนนที่รถไฟมาจอด หลังจากนั้นก็เดินทางต่อไปยังแถวบ้านเก่าของเซเมคคิสทางตอนใต้ของชิคาโก พวกเขาได้พบกับสิ่งแวดล้อมและความทรงจำที่คล้ายคลึงกัน
“หลังจากที่รถไฟแล่นออกไปจากบ้านเด็กคนแรก ซึ่งถูกออกแบบให้เหมือนบ้านที่คริสเคยอยู่ตอนเด็ก และหยุดที่บ้านอีกหลังเพื่อรับ “เด็ก” อีกคน” คาร์เตอร์อธิบาย “มันเป็นบ้านที่คล้ายกันมากกับหลังที่ผมไปเจอห่างจากบ้านของบ็อบตอนเด็กๆ ไปอีกสองหลัง” ด้วยเหตุนี้ คาร์เตอร์ย้ำว่า นั่นอาจเป็น “จุดที่บ็อบขึ้นรถไฟ”
เชียงซึ่งเป็นหัวหน้าทีมสร้างภาพดิจิตัลสีด้าน และอาร์ติสท์ CG คอนเซปท์จากสำนักงานหลายแห่งในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ทำงานอยู่เบื้องหลังของคาร์เตอร์ในการสร้างสิ่งแวดล้อมเสมือนจริง ดังที่เซเมคคิสอธิบายว่า “ริตไม่เคยทำงานในแนวแบบนี้มาก่อน ตามปกติแล้วเขาจะออกแบบอะไรสักอย่าง วาดภาพบนกระดาษและสร้างแบบจำลอง แล้วก็จำมาสร้างบนพื้นที่ แต่กับเรื่อง Polar เราก็ยังเริ่มด้วยการวาดและแบบจำลอง แต่แทนที่จะสร้างออกมาเป็นรูปร่าง เราก็จะสร้างมันลงไปในคอมพิวเตอร์โดยตรงโดยใช้การออกแบบนั้น”
ความได้เปรียบอย่างหนึ่งของขั้นตอนนี้การออกแบบที่เกินมาตรฐานก็คือความคล่องตัว “โดยปกติในตอนเตรียมการถ่ายทำ” เชียงบอก “เราจะออกแบบภาพสองมิติแล้วก็ปรับปรุงมันขึ้นเป็นแบบจำลอง แต่ด้วยวิธีนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นเราสามารถบอกกับบ็อบได้อย่างแม่นยำว่างานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะออกมาเป็นอย่างไร” การปรับเปลี่ยนยังสามารถทำได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของผู้กำกับฯ ระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการทำงาน
ความได้เปรียบอีกอย่างคือขอบเขตที่ไม่จำกัด อย่างที่เชียงได้บรรยายไว้ เขาได้พบตัวเองทงานปรับเปลี่ยนภาพคอมพิวเตอร์ในเส้นทางของรถไฟที่วิ่งผ่านทิวเขาแสนงดงาม จากถ้อยคำในหนังสือของแวน ออลสเบิร์ก เชียงได้กล่าวว่า “หนังสือเขียนว่า ‘ภูเขาสูงมากเสียจนดูเหมือนว่าเราแทบจะจับดวงจันทร์ได้’ มันเป็นมุมมองของเด็กอย่างเห็นได้ชัด ในภาพที่ออกมานั้น การเดินทางนั้นอาจเป็นความฝันในหัวของเด็กชาย นั่นเป็นเหตุผลที่เราออกแบบให้เป็นอย่างที่เด็กน่าจะออกแบบโลก ผมจึงสนุกกับการทำให้มันออกมาเป็นอาณาจักรน้ำแข็ง อย่างที่มันไม่น่าที่จะมีอยู่ในโลกนี้”
ย้อนกลับมาที่ Imageworks ราลสตันและเชนทำงานออกแบบภาพ CGI อยู่ในเวลาเดียวกัน “ในหนังประเภทนี้“ ราลสตันบอก “ทุกเฟรมเป็นรูปวาดและนั่นคือวิธีที่เรานำเสนอ เจโรมกับผมจะใช้คอนเซปท์ของดัคแล้วก็ใส่มันลงไปในโลกของ CG ซึ่งเราสร้างฉาก 3 มิติ” เขาใส่ใจเป็นพิเศษกับ “แสงเงาในแต่ละฉาก สร้างบรรยากาศ งานเอ็ฟเฟ็คที่ทำให้เกิดประกายไฟจากล้อรถไฟ หรือหิมะที่ตกลงมาในแบบเฉพาะ ซึ่งทำให้มันมีจังหวะและมนตร์ขลัง”
เชนเสริมว่า “เราใส่ใจมากในการรักษาสไตล์ของหนังสือเอาไว้ ภาพวาดสีเทียนเป็นงานอิมเพรสชั่นนิสท์ มีแสงเงาที่ตัดกันอย่างเข้มข้น ในขณะเดียวกัน เราก็อยากให้เป็นโลกที่เราเชื่อถือได้ ดูเหมือนกับว่าจากถนนหน้าบ้านของเด็กชายนั้นเมื่อหักเลี้ยวหัวมุมไปจะมีบ้านอีกหลายหลัง และเมืองทั้งเมือง”
ไม่เพียงแต่ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง The Polar Express จะต้อง ขยายสถานที่จากที่บรรยายโดยแวน แอลส์เบิร์ก มาสู่จอภาพยนตร์ แต่ทีมงานยังต้องจะต้องเปิดหนังสือสำหรับเด็กให้กลายมาเป็นเรื่องราวเต็มรูปแบบด้วยการผจญภัยที่กว้างออกไปสำหรับฮีโร่หนุ่มน้อยและยังจะเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผู้ร่วมเดินทางกับเขาอีกด้วย โดยทั้งหมดทั้งปวงนี้จะต้องค่อยเป็นค่อยไปอย่างเป็นธรรมชาติและเปรียบเทียบได้กับจินตนาการจากต้นเรื่องที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้
“หนังสือเองเป็นแรงบันดาลใจสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง” เซเมคคิสยืนยัน “ผมใช้มันเป็นแนวทาง โดยความตั้งใจแล้วจะทำเพียงแค่ขยายความมากกว่าที่จะเป็นการเขียนมันขึ้นมาใหม่” อย่างเช่นว่า การใช้การบรรยายภาพของ ออลส์เบิร์กเกี่ยวกับเด็กอื่น ๆ ที่อยู่บนขบวนรถไฟ เขาได้เลือกสรรหน้าคนขึ้นมาสามคนและจินตนาการเรื่องให้กับแต่ละคน นั่นเป็นการแนะนำให้รู้จักกับ เด็กหญิง, โลนลี่บอย และ เด็กชายรอบรู้ ตลอดเวลาของการผจญภัยเด็ก ๆ เหล่านี้มีผลกระทบกับตัวแสดงหลักของแวน ออลส์เบิร์ก - เด็กชายไร้ชื่อ และยังช่วยในการบรรยายบทเรียนทางจิตวิญญาณให้กับเขาและยังจะได้ประสบการณ์ของตัวเองอีกด้วย
ในขณะที่งานออกแบบส่วนใหญ่กำลังจะเสร็จสิ้น เซเมคคิสก็ยังได้ร่วมทำงานกับบรรดานักแสดงในขั้นตอนของการจับภาพเสมือนจริง
ฉากถูกวัดขนาดเพื่อให้ได้สัดส่วนที่รับกันกับเครื่องรับดิจิติลที่ครอบคลุมในมุม 360 องศา ฉากที่ว่างเปล่าและมีอุปกรณ์น้อยชิ้นที่สุดเหล่านี้ทำให้ผู้อำนวยการสร้างสตาร์คีย์นึกไปถึง Black Box Theater ซึ่งเป็นแบบอย่างที่นิยมในช่วงปี 1960 และ 70 ซึ่งการแสดงและเรื่องราวจะมีน้ำหนักมากกว่าฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก ซึ่งมีน้อยมากหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ และบนเวที 2 และ เวที 3 ที่ คัลเวอร์ สตูดิโอ กรอบรูปเปล่าอาจถูกใช้แทนหน้าต่าง ในขณะที่ อิฐบล๊อค เตี้ย ๆ หรือไม้ที่ยังทำไม่เสร็จใช้แทนประตูหรือเฟอร์นิเจอร์ซักชิ้น นี่จะเป็นการกำหนดจุดพื้นฐานให้กับนักแสดงที่ได้เห็นรูปภาพของฉากที่สมบูรณ์แบบมาก่อนแล้วจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
และในจุดนี้ “เป็นการปลดปล่อยจากการเป็นทาสทางเทคนิคในการผลิตภาพยนตร์” เซเมคคิสกล่าว เขายังได้แบ่งปันความคิดนี้ให้กับนักแสดงในแต่ละฉาก
นักแสดงจะสวมชุดสูทที่รัดพอดีตัว คล้ายกับชุดประดาน้ำ เย็บติดด้วย “อัญมณี” หรือตัวบอกเครื่องหมายประมาณ 60 เม็ดซึ่งทำด้วยวัตถุสะท้อนแสง เพื่อที่จะให้กล้องดิจิตัลสามารถเก็บภาพการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อให้เกิดจุดภาพ 3 มิติ และจะแปลออกมาเป็นการแสดงที่ลื่นไหลและเป็นธรรมชาติในโลกแห่งความเป็นจริง
เนื่องจากความสามารถที่แท้จริงของเครื่อง Performance Capture คือใส่ความเคลื่อนไหวที่เหมือนจริงของมนุษย์และความเป็นธรรมชาติของการแสดงสีหน้าพร้อมกับความคมชัดและรายละเอียด ความใส่ใจเป็นพิเศษจึงมุ่งเน้นไปที่ใบหน้าของตัวแสดง ตัวบอกเครื่องหมายสะท้อนแสงจำนวนมากถึง 150 ตัวถูกติดเป็นกลุ่มบนใบหน้า กล้ามเนื้อ คิ้ว ขนตา ริมฝีปากบนและล่าง เส้นคางและแก้ม ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
เมื่อแต่งตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว บรรดานักแสดงก็จะเริ่มแสดงเหมือนว่ากำลังอยู่บนเวทีโดยไม่ถูกดึงความสนใจโดยฉากของหนังปกติทั่วไป ป็นการแสดงที่มาจากความรู้สึกที่เป็นแก่นแท้ มีเพียงตัวละคร ความว่างเปล่าและบทสนทนา
เมื่อภาพได้รับการบันทึกลงเป็นสามมิติเรียบร้อยแล้ว การแสดงของพวกเขาก็จะได้รับการถ่ายทอดลงสู่ฉากเสมือนจริง และจากจุดนี้เป็นต้นไปพวกเขาจะมีชีวิตอยู่ในคอมพิวเตอร์ “ตอนนี้เราจะได้เห็นการเคลื่อนไหวของตัวแสดง เดินผ่านฉากไปเหมือนอย่างที่พวกเขาทำในฉากของ Performance Capture” สตาร์คีย์กล่าว
และในตอนนี้ ในมุมมองของผู้กับการการแสดง ความสนุกที่แท้จริงได้เริ่มขึ้น
สำหรับสิ่งที่ถูกวางลงไปในคอมพิวเตอร์นั้น คำอธิบายที่ดีที่สุดคือกล้องเสมือนจริง — มุมมองที่เคลื่อนไหวได้ บันทึกได้ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นเดียวกับเลนส์ปกติ “ดังนั้น” เซเมคคิสกล่าว ด้วยความง่ายดายที่ดูเหมือนจะปฏิเสธความซับซ้อนของทฤษฎี “เรามีฉากเสมือนจริง แล้วเราก็ใส่การแสดงของดาราลงไปในนั้น ทีนี้กล้องก็จะบันทึกภาพเมือนจริงทั้งหมด เหมือนที่กล้องทั่วไปจะบันทึกภาพที่อยู่เบื้องหน้ามัน
“หมายความว่า” เขาให้ความกระจ่าง “สมมติว่าผมมีมอนิเตอร์สองตัว ผมจะเห็นสิ่งที่กล้องเสมือนจริงเห็น และในเวลาเดียวกันผมก็มีมอนิเตอร์อีกตัว“ ในตำแหน่งที่เหมือนกับควบคุมอยู่เหนือฉาก และผมจะมองเห็นกล้องเสมือนจริงของผมเคลื่อนที่ไปท่ามกลางพวกนักแสดง เหมือนอย่างที่เราจะเห็นกันในหนังทั่วไปเวลามองจากคานหลังคาลงมา”
ด้วยความเข้าใจในวิธีการทำงานของผู้กำกับฯที่มีฝีมืออย่างเซเมคคิส ราลสตันจึงได้ออกแบบอุปกรณ์ที่เขาเรียกว่า “วีลส์” (wheels) ซึ่งจำลองความรู้สึกและส่วนประกอบที่ทำงานเหมือนกับการกวาดภาพและกระดกของกล้องปกติด้วยหัวเกียร์ จากการใช้วีลส์ เซเมคคิสและผู้กำกับภาพ ดอน เบอร์กีส และโรเบิร์ต เพรสลีย์ สามารถบังคับกล้องเมือนจริงอย่างแม่นยำและคุ้นเคย เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนดอลลี่และเครน มากกว่าที่จะใช้การกดบนแป้นคีย์บอร์ดเพื่อออกคำสั่งที่เต็มไปด้วยรายละเอียด
เซเมคคิสยอมรับถึงความยืดหยุ่น และทางเลือกที่ไม่มีขีดจำกัดอย่างไม่มีใดเทียมของระบบนี้ “ผมสามารถจะถ่ายสองช็อตและโคลสอัพสองครั้ง หรือถ่ายโคลสอัพนักแสดงคนหนึ่งด้วยความยาวตลอดซีน เหมือนที่ทำในหนังไลฟ์แอ็คชั่น แล้วก็ยังถ่ายย้อนกับนักแสดงคนที่สองได้ อีกหนึ่งหรือสองช็อต แล้วก็เอาช็อตการทำงานของวันนั้นให้กับผู้ลำดับภาพ อย่างเดียวกับที่เราทำเวลาตัดต่อหนังทั่วๆ ไป”
ความแตกต่างที่เป็นได้ชัดเมื่อเทียบกับหนังทั่วไป ซึ่งเมื่อจบการทำงานของวันผู้กำกับฯจะมีเพียงผลงานที่ได้ถ่ายทำไปในวันนั้น แต่การใช้ Performance Capture เขามีอิสระที่จะเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา ย้อนกลับไปยังวัตถุดิบต้นฉบับและทบทวนมุมมองทั้งหมดได้ ในทุกช็อตที่เป็นไปได้ จากทุกความลึกและมุมที่เป็นไปได้ ที่ยังคงปรากฎในแต่ละฉากเสมือนจริง
ส่วนความแตกต่างจากแอนิเมชั่นทั่วไป เซเมคคิสชี้ให้เห็นว่า “การตัดต่อเป็นแบบภาพยนตร์มากกว่าอาร์ติสท์เลย์เอาท์”
ด้วยวิธีการนี้ เขาจึงสามารถสร้างช็อตแต่ละช็อตได้อย่างเต็มที่สำหรับ The Polar Express
“จะพูดก็ได้ว่า” เขาบอก “ว่าผมกำกับฯ เรื่องนี้ในสองขั้นตอน : ขั้นแรก ตอนถ่ายทำในฉาก และอีกครั้งแบบในภาพยนตร์ด้วยคอมพิวเตอร์”
ในขั้นตอนนี้ วัตถุดิบที่เราเป็นในคอมพิวเตอร์มักจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนเบื้องต้นจะเป็นภาพของนักแสดงที่ไม่ใช่อย่างที่พวกเขาจะเป็นในตอนสุดท้าย แต่เป็นแบบยังไม่สมบูรณ์เหมือนกับที่ทีมงานได้ทำสำเนา “มนุษย์มิชิลิน” โดยอ้างถึงสัญญลักษณ์โฆษณาที่รู้จักกันดี หากพิจารณาถึงแรงงานที่ต้องใช้ในการรวบรวมและทำงานในแต่ละฉาก มันดูสมเหตุสมผลที่จะคอยจนกว่าเซเมคคิสจะเลือกช็อตของเขาให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มการทำงานขัดเกลา CG ขั้นสุดท้าย นอกเหนือจากภาพที่ได้รับการคัดสรรเป็นพิเศษนี้ ผู้กำกับฯ และทีมงานยังจะสามารถทบทวนดูได้จากเทปวิดีโอของแต่ละฉากการแสดงได้
ต่อมาทีมงานคอมพิวเตอร์อาร์ติสท์ที่เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ลงรายละเอียดสีสัน แสงและภาพแบ็คกราวด์ทั้งหมด อย่างที่เซเมคคิสอธิบายว่า “เมื่อพวกเขารู้ว่ากล้องจะฉายภาพอะไร พวกเขาก็จะรู้ว่าแบ็คกราวด์แบบไหนที่จะต้องใส่ลงไป ฟุตเตจมนุษย์มิชิลินทำให้เราควบคุมค่าใช้จ่ายของแต่ละฉากได้”
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ