ออราเคิล เผยดัชนีกริด ที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก ระบุเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมก้าวกระโดดสู่เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday April 12, 2005 16:02 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
ออราเคิล เผยผลการวิจัย “ออราเคิล? กริด อินเด็กซ์” (Oracle? Grid Index) ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมด้วยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งได้รับการยอมรับในระดับสูง
การจัดทำการวิจัยดัชนีกริดทั่วโลกในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของออราเคิลที่ต้องการศึกษาทัศนคติขององค์กรต่างๆ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับกริดมาใช้ และกำหนดกรอบแนวทางการใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งขององค์กรต่างๆ ตลอดจนการวัดอัตราการเติบโตของการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในรูปของดัชนีต่างๆ อาทิ ผลตอบแทนการลงทุน ระดับการยอมรับเทคโนโลยีกริด ความเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีกริด ระดับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี กริด และระดับการผนวกรวมเทคโนโลยีต่างๆและการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
การวิจัยที่จัดทำขึ้นในปี 2548 นี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการวิจัยนำร่องในภูมิภาค ยุโรปที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงภาพรวมเกี่ยวกับทัศนคติและ การยอมรับเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งขององค์กรต่างๆ ทั่วโลกและข้อมูลเฉพาะภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก และอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรก กริด คอมพิวติ้ง คือ เทคโนโลยีที่ได้รับ การพัฒนาขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทั่วโลก
สำหรับดัชนีกริดโดยรวม หรือดัชนีกริดทั่วโลกซึ่งครอบคลุมธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อเมริกาเหนือ และยุโรป มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.41 ขณะที่ดัชนีประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก คือ 4.37 ดัชนีประจำภูมิภาคอเมริกาเหนือ คือ 4.50 และดัชนีประจำภูมิภาคยุโรป คือ 4.39
บ็อบ ทาร์เซย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ บริษัท คิวเซอร์คา จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการวิจัย
กล่าวว่า “การวิจัยครั้งนี้ นับเป็นการวิจัยครั้งแรกของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่บ่งชี้ถึงการลงทุนในการผนวกรวมและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีให้เป็นมาตรฐานเดียวกันขององค์กรธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคแห่งนี้” และเสริมว่า “ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสนใจและการใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งของภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งเราเชื่อว่า เทคโนโลยีเสมือนจริง และระบบกริด คอมพิวติ้ง จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ผลักดันให้ระบบไอทีทั่วโลกได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นเพิ่มสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจยิ่งของเทคโนโลยีดังกล่าว”
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดดเด่นในด้านประโยชน์ การผนวกรวมและพัฒนาทรัพยากร ไอทีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผลการวิจัยครั้งนี้ ระบุว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีคะแนนสูงสุดทางด้านความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีกริด รวมทั้งการผนวกรวมและพัฒนาทรัพยากรไอทีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีดัชนีด้านประโยชน์ (Benefit Index) อยู่ที่ระดับ 5.2 (คะแนนตั้งแต่ 0 จนถึง 10) ซึ่งสูงกว่าดัชนีของยุโรปซึ่งมีค่าเท่ากับ 4.6 และดัชนีของอเมริกาเหนือที่มีค่าเท่ากับ 4.9 ดัชนีทั้งสองตัวนี้ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งเป็นอย่างดี
สำหรับดัชนีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Standardization) ของภูมิภาคเอเชีย-
แปซิฟิก คือ 7.0 สูงกว่าดัชนีในภูมิภาคอเมริกาเหนือที่มีค่าระดับ 5.6 และดัชนียุโรปที่มีค่าระดับ 5.9 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีดัชนีการผนวกรวมทรัพยากรไอทีทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน (Consolidation Index) ที่ระดับ 5.9 ซึ่งสูงกว่าดัชนียุโรปที่มีอยู่ในระดับที่ 5.3 และดัชนีอเมริกาเหนือที่อยู่ในระดับ 5.0 ดัชนีทั้งสองประเภทนี้ บ่งชี้ว่า องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่พร้อมรองรับเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง
โดยสรุป ดัชนีทั้งสามประเภท ตอกย้ำให้เห็นว่า เอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เข้าใจถึงประโยชน์เชิงธุรกิจและเทคโนโลยีของระบบกริด คอมพิวติ้งสูงที่สุดในโลก ทั้งยังมีความพร้อมเหนือกว่าภูมิภาคอื่นๆ ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว ตลอดจนก้าวล้ำนำหน้าประเทศตะวันตกอื่นๆ ในด้านการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง
ไฮไลท์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
การวิจัยครั้งนี้ ยังแสดงภาพรวมดัชนีของแต่ละประเทศและกลุ่มประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยหลักๆ ได้ดังนี้
ในการจำแนกดัชนีกริดทั่วโลกเป็นรายประเทศและกลุ่มประเทศ พบว่า กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคะแนนนำสูงสุด (โดยมีดัชนีในระดับ 5.2) โดยมีกลุ่มประเทศนอร์ดิกอยู่ในอันดับสอง (ดัชนี 5.1) ตามด้วยประเทศ
ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ที่ติดอันดับที่สาม (ดัชนี 4.8) และจีนในอันดับที่ 4 (ดัชนี 4.7)
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ เกาหลี และจีนมีค่าดัชนีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Standardisation Index) และการผนวกรวมทรัพยากรไอทีเข้าไว้ด้วยกัน (Consolidation Index) ในระดับที่สูงมาก เทียบเคียงได้กับดัชนีของประเทศเยอรมนีและกลุ่มประเทศนอร์ดิค
กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีค่าดัชนีความเข้าใจเกี่ยวกับ
ประโยชน์ (Benefit Index) ของระบบกริด คอมพิวติ้งสูงที่สุดในโลก ตามด้วย
ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ในอันดับสอง และจีนมีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
สามประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยมีดัชนีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดัชนีการผนวกรวมทรัพยากรไอทีเข้าไว้ด้วยกัน ดัชนีความรู้และดัชนีความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของระบบกริด คอมพิวติ้งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก
ประเทศออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ มีค่าดัชนีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดัชนีการผนวกรวมทรัพยากรไอทีเข้าไว้ด้วยกัน ดัชนีความเข้าใจถึงประโยชน์ของกริด คอมพิวติ้ง และดัชนีผลตอบแทนการลงทุนสูงสุด เทียบเท่าค่าเฉลี่ยของดัชนีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยี (Commitment Index) โดยรวมทั่วโลก
ประเทศจีน มีค่าของดัชนีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดัชนีการผนวกรวมทรัพยากรไอทีเข้าไว้ด้วยกัน และดัชนีความเข้าใจคุณประโยชน์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมทั่วโลก ซึ่งยืนยันว่า จีนมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งในระดับสูง
ประเทศเกาหลี มีดัชนีกริดโดยรวมเทียบเท่าค่าเฉลี่ยระดับโลก และมีค่าดัชนี
การพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการผนวกรวมทรัพยากรไอทีเข้าไว้ด้วยกันสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เกาหลีมีความพร้อมในการยอมรับและใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งในระดับสูง
ประเทศอินเดีย มีค่าดัชนีกริดอยู่ในระดับที่ 2.9 ซึ่งบ่งชี้ว่า อินเดียยังตามหลังโลกในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม อินเดียมีค่าดัชนีความรู้ในระดับที่ใกล้เคียงกับจีน ทำให้สรุปได้ว่า ด้วยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในระยะสั้นทางด้านการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการผนวกรวมทรัพยากรเข้าไว้ด้วยกันจะทำให้อินเดียสามารถเพิ่มค่าดัชนีได้ในอนาคต ออราเคิลมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีกริดอย่างต่อเนื่อง “ผลการวิจัยดังกล่าวมีความสำคัญต่อออราเคิลอย่างมาก เพราะบริษัทไอทีเช่นออราเคิลมีหน้าที่ที่จะต้องชี้แจงให้ตลาดทราบว่า ระบบกริด คอมพิวติ้ง คืออะไรและมีคุณประโยชน์อะไรบ้าง ออราเคิล ต้องการลดอุปสรรคที่กีดกั้นการยอมรับและการนำเทคโนโลยีกริดไปใช้ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์เชิงรูปธรรมที่บริษัทต่างๆ จะได้รับจากกริด คอมพิวติ้งมากยิ่งขึ้น” ดีเร็ก วิลเลียมส์ รองประธานบริหาร บริษัท ออราเคิล เอเชีย-แปซิฟิก กล่าว
“ด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตร อย่างเช่น กลุ่ม เอ็นเตอร์ไพรส์ กริด อัลลิแอนซ์
ออราเคิลมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีกริดให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงสุดจากองค์กรธุรกิจต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า การยอมรับและใช้เทคโนโลยีกริด จะเป็นประตูที่เปิดสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ทั้งยังสนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ สามารถขยายการดำเนินงานออกไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น” ดีเร็ก กล่าวเสริม
สตีเฟ่น ลายอัล รองประธาน บริษัท ฮิวเล็ตต์ แพคการ์ด ซึ่งเป็นพันธมิตรในกลุ่ม เอ็นเตอร์-ไพรส์ กริด อัลลิแอนซ์ ของออราเคิล กล่าวว่า “ผลการวิจัยดัชนีกริดของออราเคิลสนับสนุนวิสัยทัศน์ร่วมของกลุ่มที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีกริด (Grid-Enabled Adaptive Enterprise) ซึ่งประโยชน์พื้นฐานที่องค์กรดังกล่าวจะได้รับ ก็คือ ความสามารถในการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และมีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขึ้น” และเสริมว่า “องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีกริด จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังมีต้นทุนทางด้านไอทีลดลงอย่างมาก”
ซานต้า บทพิสูจน์ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีกริดซานต้า หนึ่งในบริษัทเกมออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในจีน เป็นบริษัทหนึ่งที่มีความเข้าใจเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งอย่างลึกซึ้ง โดยได้ตัดสินใจเริ่มใช้ระบบดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้
“ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทให้บริการและพัฒนาเกมออนไลน์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก บริษัท ซานต้า อินเตอร์แอคทีฟ เอ็นเทอร์เทนเม้นต์ สามารถรองรับผู้ใช้บริการพร้อมๆ กันจำนวนสูงสุดมากกว่า 2 ล้านราย ทั้งยังสามารถบริหารชุมชนคอเกมออนไลน์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย” แกรี่ ฉาง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ซานต้า อินเตอร์
แอคทีฟ เอ็นเทอร์เทนเม้นต์ กล่าว และเสริมว่า “เราหันมาใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง เพราะเล็งเห็นว่า ในการดูแลและบริหารชุมชนเกมออนไลน์ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้น เราต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายหลายประการ และเพื่อให้การให้บริการเกมออนไลน์เป็นไปอย่างราบรื่น เราจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของผู้เล่นเกม มีการบริหารจัดการระบบการจัดทำบิล และบัญชีโดยไม่ต้องหยุดการให้บริการ และขยายการให้บริการให้สอดคล้องกับขนาดของธุรกิจของบริษัทที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว”
“ปัจจุบัน ซานต้า เป็นผู้พัฒนาแพลทฟอร์มระบบเกมออนไลน์ที่ทันสมัย โดยใช้ระบบเอ็นเตอร์-ไพรส์ กริด คอนโทรล (Enterprise Grid Control) ของออราเคิล เพื่อให้การบริหารจัดการกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เดิมผู้บริหารระบบต้องใช้เวลาอย่างมาก สามารถทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น และด้วยระบบออราเคิล ไอเด็นทีตี้ แมเนจเม้นท์ (Oracle Identity Management) ทำให้กระบวนการตรวจสอบผู้เล่นเกมมีมาตรฐานระดับเดียวกัน และส่งผลให้เราสามารถผนวกรวมและเชื่อมโยงเซิร์ฟเวอร์การตรวจสอบของเกมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันเป็นระบบเดียว นอกจากนี้ การออกแบบกริดที่ทันสมัย ทำให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการรองรับผู้เล่นจำนวนหลายล้านคนได้พร้อมๆ กันทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถจัดการแก้ไขปัญหาระบบล่มได้โดยอัตโนมัติ” แกรี่ ฉาง กล่าวทิ้งท้าย
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเอสโอเอ (SOA)
การวิจัยชิ้นนี้ของออราเคิล ยังได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวพันกับระบบกริด คอมพิวติ้ง อาทิ เอสโอเอ (SOA: Service Oriented Architecture) และเบลด เซิร์ฟเวอร์ ทั้งยังเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้นำทางความรู้ทั่วโลก ซึ่งผลการวิจัย บ่งชี้ว่าร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ได้ริเริ่มและสนับสนุนองค์กรของตนให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้ง ดังรายละเอียดดังนี้
ผู้นำทางความรู้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86) เล็งเห็นว่า การใช้เทคโนโลยีเอสโอเอ ของผู้ให้บริการและติดตั้งแอพพลิเคชั่นแบบครบวงจร ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการผนวกรวมและการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ
บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีกริด คอมพิวติ้งมากกว่าร้อยละ 90 (มีค่าดัชนีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับมากกว่า 7.5) เป็นผู้ใช้ระบบเอสโอเอในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน หรือไม่ก็จะเริ่มใช้ภายในปี 2548 คิดเป็นอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสำรวจทั้งหมด
องค์กรของผู้นำทางความรู้กว่าร้อยละ 50 ใช้เครื่องเบลด เซิร์ฟเวอร์ หรือคิดเป็นอัตราส่วนต่ำกว่าร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับองค์กรที่มีดัชนีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยีสูง (มีค่าดัชนีมากกว่า 7.5) มีอัตราส่วนการใช้เบลด เซิร์ฟเวอร์ สูงกว่าร้อยละ 60
เกี่ยวกับออราเคิล
ออราเคิล (ชื่อย่อในตลาดหุ้นแนสแด็ก: ORCL) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับ
องค์กรรายใหญ่ที่สุดของโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับออราเคิล สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.oracle.com
เครื่องหมายการค้า
ออราเคิล เจดีเอ็ดเวิร์ดส และ พีเพิลซอฟท์ เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น และ/หรือบริษัทในเครือ บริษัทอื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทนั้นๆ
หมายเหตุบรรณาธิการ
บริษัท คิวเซอร์คา ได้ทำการสำรวจองค์กรต่างๆ จำนวน 1,356 รายใน 19 ประเทศในภูมิภาค
อเมริกาเหนือ (300 แห่ง) ยุโรป (606 แห่ง) และเอเชีย-แปซิฟิก (450 แห่ง) สำหรับในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ประกอบด้วยบริษัทที่มีรายได้ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีพนักงาน 1,000 ราย
(ร้อยละ 58) และบริษัทที่มีรายได้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีพนักงาน 10,000 คน (ร้อยละ 42)
ในภูมิภาคยุโรป แบ่งเป็นบริษัทที่มีรายได้ 100 ล้านยูโร หรือมีพนักงาน 1,000 คน (ร้อยละ 52) และบริษัทที่มีรายได้ 1 พันล้านยูโร หรือมีพนักงาน 10,000 คน (ร้อยละ 48)
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แบ่งเป็นบริษัทที่มีรายได้ 75 — 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีพนักงาน 500 คน (ร้อยละ 59) และบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีพนักงาน 5,000 คน (ร้อยละ 41)
บริษัทที่เข้ารับการสำรวจประกอบธุรกิจในแขนงต่างๆ ได้แก่ การค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค
การดูแลรักษาสุขภาพ บริการทางการเงิน เทคโนโลยีระดับสูง การสื่อสารโทรคมนาคม วิทยาศาสตร์ชีวภาพ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์/วิจัย การก่อสร้างและวิศวกรรม ระบบสาธารณูปโภค การท่องเที่ยวและการขนส่ง
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สิริพร ศุภรัชตการ พรทิพย์ เลิศเวชกุล / จารุวรรณ วรรักษ์ธนานันท์
ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
02-632 9400 ต่อ 8344 โทร. 0-2252-9871
siriporn.suparuchatakarn@oracle.com L_Porntip@th.bm.com,V_Jaruwan@th.bm.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ