ไฟว์สตาร์ สัมภาษณ์ คุณเกรียงไกร ศุภรสหัสรังสี ผจก.ทั่วไป บ.อิมาจิแมค จก.ทำเทคนิคพิเศษในอุกกาบาต

ข่าวทั่วไป Tuesday September 28, 2004 11:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
สัมภาษณ์ คุณเกรียงไกร ศุภรสหัสรังสี ผจก.ทั่วไป บ.อิมาจิแมค จก.ทำเทคนิคพิเศษในอุกกาบาต
- อิมาจิแมคมีขอบข่ายงานเป็นอย่างไรบ้าง
อิมาจิแมคจะมีขอบข่ายของงานที่หลากหลายรูปแบบมีเรื่องของการจัดทำกราฟฟิคดีไซด์ เวปดีไซด์ ทำเกมส์บนมือถือ มีเกมส์คอนโซน คือบริษัทจะทำอะไรที่เกี่ยวกับดิจิตอลคอนเทนส์ต่างๆ ทำทีวีแอนนิเมชั่นด้วย ส่วนของงานภาพยนตร์ ก็จะมีแผนกที่ทำเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์โดยเฉพาะ
- อุกกาบาตเป็นเรื่องแรกที่ทำรึเปล่า
ไม่ใช่เรื่องแรก แต่เป็นเรื่องที่ทำเทคนิคพิศษมากที่สุดเท่าที่เคยทำมา คือเราทำมาเป็นจำนวน 10 เรื่อง แต่เรื่องนี้จะพิเศษจำนวนช็อตของการทำจะเยอะ และก็ใช้เวลานานในการทำ คือเราต้องให้เวลาในการทำงานชิ้นนี้นอกจากจะเป็นงานที่ยากและก็ต้องใช้ทีมงานที่เยอะพอสมควรเพราะโปรเจ็คนี้เราไม่ได้ใช้เฉพาะทีมแนนิเมเตอร์อย่างเดียว แต่เราต้องใช้ทีมโปรแกรมเมอร์ด้วยเพื่อเขียนโปรแกรมในการควบคุมภาพให้ด้วย เพราะมันจะมีเรื่องของการควบคุมภาพเช่น ฝูงกาที่มีมีเป็นร้อย เป็นพันตัว การทำแอนนิเมชั่นมืออย่างเดียวมันไม่สามารถเพราะมันต้องใช้เวลาที่มาก ทีมงานของเรามีทั้งที่เป็นคนไทย และฝรั่งที่ร่วมงานในส่วนนี้ มีกว่า 30 คน
- คาดหวังแค่ไหนในส่วนของงานเทคนิคพิเศษในอุกกาบาต
ในส่วนของทีมงานคาดหวังพอสมควรนะ เพราะโดยเนื้องานมันมีงานในส่วนของCG.ค่อนข้างเยอะเราก็คาดหวังกันว่าจะออกมาดีและทำให้เราเป็นที่รู้จักขึ้นมาในระดับหนึ่ง
- ผลงานที่สร้างชื่อให้กับบริษัท คืออะไรก่อนที่จะมาทำอุกกาบาต
จริงๆงานเกี่ยวกับหนังก็ทำมาเรื่อยๆ เรื่องๆจะเป็นขุนแผน ดงพญาไฟ พลางชมพู มหศจรรย์พันธ์รัก เยาวราช คนสั่งผี ผีช่องแอร์ คนเล่นของ และก็มาเรื่องนี้ คือส่วนมากที่ผ่านมาในแต่ละเรื่องจะใช้ CG.ไม่มากเท่าอุกกาบาต เรื่องนี้ทางเราเข้าไปมีส่วนตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาคือปี 2546
- การทำงานในอุกกาบาตเจอปัญหาที่พบมากที่สุดคืออะไร
อย่างเรื่องนี้มันจะมีCG. คาร์แรคเตอร์ไปเล่นประกอบกับฉากบางฉากที่นักแสดงจริงๆ เล่น เรื่องแบบนี้มันก็จะมีปัญหาหลายๆ อย่างเกิดขึ้น ในขณะถ่ายทำเพราะว่านักแสดงเขาจะต้องเล่นโดยอาศัยจินตนาการเอาเอง ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เขาจะไม่รู้ว่าเราจะเอาตัว CG. คาร์แรคเตอร์ตัวนี้เข้าไปใส่ตรงไหน เช่น ฉากนี้นะจะมีลูกอุกกาบาตผ่านไป หรือมีธนูยิงมาแล้วปักตรงนี้ อันนี้ตัวนักแสดงเองเขาจะไม่เห็นจะต้องใช้จินตนาการ ฉะนั้นเรื่องของการให้คิวนักแสดง เรื่องของอายไลน์ ตรงนี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องคิดอย่างละเอียดและรอบคอบ คือจะต้องมองภาพให้ออกตั้งแต่ก่อนการถ่ายทำ และหลังการถ่ายทำว่าภาพที่ออกมาจะเป็นแบบไหน
- กับการทำงานหนังเรื่องนี้อิมมาจิแมคเข้ามามีบทบาทในช่วงไหน ทางทีมงานส่งงานมาเมื่อต้องถ่ายทำเสร็จ หรือว่าเราเข้าไปดูตั้งแต่เริ่มแรก
เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งเริ่มนะ คือผู้กำกับจะถือบทเข้ามาคุยกับเราว่าเขาจะทำหนังแนวนี้ บทเป็นแบบนี้ ในความคิดของเขาต้องการที่จะมีภาพแบบนี้เป็นปได้มาก-น้อยแค่ไหน คือจะพูดคุยถึงความต้องการก่อนว่าอยากได้อย่างไร ส่วนทางเราก็จะทำการบ้านในส่วนของเรานะก็จะมีคำตอบกลับไปให้เขาด้วยว่าอะไรที่ทำได้ หรือไม่ได้ มันมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และบางอย่างทางเราก็จะคิดเพิ่มเติมให้ไปด้วยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น คือบางส่วนผู้กำกับเขาคิดมาในมุมของเราก็จะช่วยคิดเสริมเพิ่มเข้าไปด้วย จริงเรื่องอุกกาบาตเราเริ่มงานกันตั้งแต่
โปรดักชั่นดีไซน์ ในบางช็อตเราก็มาช่วยกันคิดกับผู้กำกับด้วยในส่วนที่จะทำเป็น CG. คือบางทีในสิ่งที่ผู้กำกับคิดมาว่าต้องการให้เป็น CG.แต่ในความเป็นจริงของการถ่ายทำมันทำไม่ได้ ตรงนี้เราก็จะมีส่วนเข้าไปช่วยดูและคิดแก้ไขให้มันดีขึ้นและส่งกลับไปห้ผู้กำกับดูว่าจะลองทำแบบนี้บ้างไหม คือจะมีการพูดคุยกันตลอด จากนั้นมาเราก็ไปช่วยในส่วนของคาร์แรกเตอร์ดีไซน์บ้างถ้าเขาต้องการให้ช่วย หรือจะเป็นเรื่องของสตอรี่บอรด์ ขึ้นตอนการทำงานอื่นๆถ้าต้องการให้ช่วยดูเราก็จะเต็มที่ มาในส่วนที่เป็นขึ้นตอนการถ่ายทำเรื่องนี้เราก็ออกกองด้วยในทุกครั้งที่มีช็อตที่ต้องทำ CG. คือเราจะมีทีมของ CG. ไปพร้อมกับเครื่องมือที่ต้องทำงาน คือเราสามารถที่จะไปลองทำและตัดต่อกันหน้ากองเลย ลองทำกันดูว่า โอเค.หรือ และก็คุยกันและถ้าไม่ใช่จริงๆ ก็สามารถแก้ไขกันได้เลย การทำงานด้วยวิธีนี้จะมีประโยชน์กับเรามากในฐานะที่เราจะต้องทำงานต่อ เราจะรู้ได้เลยว่าอะไรคือปัญหาที่เราสามารถเตรียมตัวปรับและแก้ไขได้ เราจะทำงานในขั้นตอนโพสต์โปรดักชั่นได้ง่ายขึ้น คือเมื่อก่อนนี้ส่วนมาผู้กำกับจะเข้ามาคุยกับเราก็ตอนที่เขาถ่ายทำหนังเสร็จแล้วและต้องการมีภาพเทคนิคพิเศษก็มาโยนให้เราทำต้องซึ่งมันจะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาเยอะมาก แต่ถ้าเรามีการวางแผนการถ่ายทำที่ดี มีการคุยกันก่อนถึงความต้องการที่อย่างจะให้เกิดขึ้น มันก็จะเกิดปัญหาตามมาน้อยลง หรือไม่มีเลย เพราะมันได้ถูกป้องกันไว้เรียบร้อยแล้ว
- ถ้าเทียบกับงานส่วนอื่นๆ งานหนังมีความยุ่งยากมาก หรือน้อยกว่ากัน
อย่างงานที่เป็นแอนนิเมชั่นแบบงานทีวี ไซด์ หรือขนาดของภาพจะเล็กแค่ประมาณ A4 เอง แต่อย่างงานภาพยนตร์ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่มากเมื่อไปฉายที่หน้าจอจริงๆ เวลาทำงานมันก็จะนาน ไม่ว่าจะเป็นเวลาของการโลดภาพ การรีทัชภาพ หรือว่าสตอเรสที่เกี่ยบข้องมูลต่างๆมันจะใหญ่มากๆ และรายละเอียดต่างๆ บางที่เราดูหน้าในจอภาพยนตร์มันจะมองเห็นได้ชัด ถ้าเราไม่มีความรอบคอบตรงนี้จะแย่เลย ฉะนั้นงานภาพยนตร์เราจะต้องพิถีพิถันมากกว่าการทำงานไวด์ขนาดจอทีวีมากๆ รายละเอียดต่างๆ ต้องเช็คให้ดี ระวังมากกว่าการทำงานปกติทั่วไป คืองานภาพยนตร์จะทำงานยากกว่า และต้องระวังมากกว่าด้วย
- ในอุกกาบาตนอกจากจะต้องทำเทคนิคพิเศษมากกว่า 400 ช็อตแล้วในส่วนของขั้นตอนการทำงานยังพิเศษอีกมันเป็นยังไง
เราต้องมาพูดถึงการทำงานของภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยกล้องระบบใช้ฟิล์มกับกล้องเอช.ดี. คือหนังที่มากจากฟิล์มความละเอียดของภาพจะให้สีที่ดีกว่าเอช.ดี. แต่ถ้าหนังที่ถ่ายด้วยกล้องเอช.ดี.ขั้นตอนการโอเปอเรทได้ง่ายกว่า ตรงจจุดนี้เราได้มีการพูดคุยกันก่อนถ่ายทำหนังเรื่องนี้ซะด้วยซ้ำ แต่สรุปแล้วอุกกาบาตก็ได้ถ่ายทำโดยกล้องที่ใช้ฟิล์มเพราะเราต้องการต้นฉบับของหนังที่มีคุณภาพของภาพที่สูง แต่ว่าฟิล์มก็จะมีของเสียตรงที่เราจะต้องมาทำเทคนิคพิเศษต่างๆ เราต้องมานั่งสแกนที่นี้เวลาเราสแกนแต่ละครั้งก็จะเกิดปัญหาที่สีจะออกมาเพี้ยน สแกนเสร็จลองไปปริ๊นเป็นฟิล์มกลับมากก็สีเพี้ยนอีก ถ้าหนังที่มี CG.ไม่มากก็จะใช้เทคนิคเดิมคือถ่ายฟิล์ม สแกนเฉพาะส่วนที่จะทำ CG. แล้วก็มใส่กลับไปเป็นฟิล์มเหมือนเดิม แต่อุกกาบาตช็อต CG. ทั้งเรื่อง 456 ช็อต แทบจะทั้งเรื่องมันทำให้เกิดปัญหาที่ว่าถ้าสีเพี้ยนไปเรื่อยๆ เพราะการเอาไปสแกน แล้วก็ปริ๊นฟิล์มออกกลับไป กลับมา ต้นฉบับกับฟิล์มี่เราเอาไปสแกนสีก็จะเพี้ยนความคมชัดก็จะลดลง ฉะนั้นหนังที่ออกมาก็จะเป็นชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง สีเพี้ยนบ้าง คือมันจะเป็นแบบนี้สลับไปตลอดทั้งเรื่อง เราใช้วิธีเดิมไม่ได้แน่ เราก็ตัดสินใจเอาฟิล์มหนังที่เรื่องมาสแกนลงเฮช.ดี. เพื่อให้ทุกอันมีความคมชัดและสีออกมาเท่ากัน และพอเรามาเอาเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อทำเทคนิคพิเศษต่างๆ พร้อมทั้งเรื่องของการแก้สีก็จะง่ายขึ้น และสุดท้ายที่เราสแกนเข้ามาและเก็บเอาไว้ที่เฮช.ดี.เราสามารถเอาไปออกเป็นฟิล์มได้เลยคือทำเป็นฟิล์มได้ เฮช.ดี.คอนเวอร์ลงเบต้า หรือจะทำเป็น DVD.ได้เลย แทนที่สุดท้ายทำเสร็จแล้วจะต้องไปเสียค่าเทเลซีนอีกเพื่อจะทำเป็น DVD. หรือเป็นฟิล์ม ผลของการทำวิธีนี้คือภาพของหนังที่ออกมาดูแล้วไม่รู้สึกกระตุก ความคมชัดของภาพเท่ากัน
- วิธีการทำงานแบบนี้ใช้เฉพาะกับเรื่องอุกกาบาตเท่านั้น หรือใช้กับเรื่องอื่นๆ ด้วย
ถ้าในระบบแบบนี้เราใช้กับเรื่องนี้เรื่องแรก เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าวิธีเดิม อย่างหนังเรื่องอื่นที่ทางเราเคยทำเทคนิคพิเศษสูงสุดเคยทำที่ 180 ช็อตเท่านั้น เรื่องนี้มันก้าวกระโดดไปที่ 456 ช็อต มันมีความต่างกันที่ 200 กว่าช็อต ค่าสแกนอินอย่างเดียวประมาณ ครึ่งล้าน แต่ที่ทำต้งอนี้ค่าสแกนอิน ร่วมค่าทำสีและอื่นๆ อีกก็ตกประมาณ 3-4 ล้านบาท ก็แพงกว่ากันหลายเท่ามาก เพราะปกติก็จะอยู่หลักแสน แต่ 4 ล้านนี่ร่วมแก้สีเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าเป็นหนังสมัยก่อนอย่างหนัง 100 ช็อตค่า IN-OUT ร่วมแก้สีด้วยออกมาเสร็จเรียบร้อย ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านกว่าๆ ถ้าเป็นเรื่องนี้เบ็ดเสร็จออกมาที่ 3-4 ล้านบาทก็มีส่วนต่างประมาณ 2 — 3 ล้านบาท ถ้าคิดในด้านความคุ้มมันก็จะคุ้มกว่านะเพราะปัจจุบันก็มีหนังอยู่หลายๆ เรื่องที่ออกมาแบบจัม-คัตกันมากเพราะวิธีที่ใช้สแกนอิน กับไม่สแกนอินสลับกัน ความคมของหนังออกมาไม่เท่ากัน เสียความรู้สึกในการดู
- ในอุกกาบาตมีช็อตไหนที่ใหญ่ยากกับการทำมีกี่ซีน กี่ช็อต
ในเรื่องนี้จะมีช็อตหลักๆ อยู่ 3 ช็อต ได้แก่ ช็อตที่เป็นพวกลูกอุกกาบาตทั้งหลาย ยากกันก็ตั้งแต่เปิดและฉากปิดของเรื่องเลยคือเป็นลูกอุกกาบาตลอยตกลงมาบนโลกอันนี้เป็นช็อตที่เป็นหัวใจของเรื่อง ช็อตพวกที่ต้องมีผีดิบต่างๆ พวกตัวมัมมี่เจ้าตัวนี้เราต้องสร้างขึ้นมาประมาณ 8 ตัว เป็นพวกทหารผีที่การินปลุกขึ้นมาสู้กับหมอโอมอย่างก่อนที่จะขึ้นตัวมัมมี่ทั้งหลายเราจะต้องดีไซด์มันขึ้นมาก่อนว่าอย่างให้มีหน้ารูปร่างแบบไหน ทำเป็นขั้นตอนออกไปจากนั้นเราก็ทำขึ้นเป็นโมเดลในซีดี. ใส่พื้นผิวที่ตัวโมเดล แล้วก็จัดภาพ จัดแสงให้เข้ากับฉากต่างๆ จากนั้นก็ลองเอาไปใส่ในหนังว่ามันเข้ากันได้ไหม ถ้าไม่ได้เราต้องปรับให้เข้ากับฉากในหนัง และก็ช็อตที่มีอีกาอันนี้ก็จะยากคือจะมีตั้งแต่โคส-อัพของอีกา อีกาที่บินมาประมาณ 200-300 ตัว คืออะไรที่เป็นอีกาเป็นCG.หมด เคยคิดจะถ้าของจริงเหมือนกันแต่ไม่ได้การควบคุมมันยาก จะให้มันบินมาเป็นฦง มาเกาะตรงนั้นตรงนี้มันไม่ได้ ฉะนั้นเราสร้างขึ้นมาเองจะดีกว่า ที่นี้เราก็ต้องไปดูวิธีการบินของอีกา อย่างภาพที่อาบัณฑิตอยากได้คือการบินมาเป็นฝูงของกา การบินมาในลักษณะที่รุนแรง ก้าวร้าว เคยคิดนะที่จะเอากามาถ่ายในบูลสกรีน แต่ไม่สามารถ ที่นี้เราก็ต้องสร้างมันด้วยการศึกษาตัวของกาก่อน กิริยาท่าทางต่างๆ ของกา
- ขั้นตอนการทำงานส่วนนี้เราต้องวาดสตอรี่บอร์ดก่อนรึเปล่า
ต้องทำขึ้นมาก่อนโดยนั่งคุยกับผู้กำกับวาดภาพออกมามีการลองทำเทสขึ้นมาในบางส่วนคือก่อนที่จะเริ่มทำเราจะมีเทสตัวมัมมี่ เทสตัวเทวรูป เทสเด็กในท้อง
- อุกกาบาตนับได้ว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของอิมาจิแมคเลยรึเปล่า
ก็น่าจะได้นะ เพราะด้วยเนื้องานเราทำเยอะมาก เราทุมเรื่องของเวลา และตัวบุคลากรที่ร่วมงานในโปรเจ็คนี้ก็มาก คือเรื่องนี้เราเริ่มงานกันตั้งแต่ก่อนถ่ายทำ มาเริ่มถ่ายทำ ขณะถ่ายทำ นับไปมาก็ปีกว่าๆ นะกับหนังเรื่องนี้ แต่ถ้านับกันว่าส่วนที่เราทำ CG. จริงๆ ก็เริ่มทำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2547 ที่ผ่านมา เพราะมันมีขั้นตอนของการสแกนอินให้เป็นเฮช.ดี. และการแก้สี คือเราต้องรอตัดต่อให้เสร็จก่อนด้วยแล้วถึงจะทำได้ ตอนนี้ก็เหลืออีกประมาณ 10% แต่เป็นส่วนที่เหลือค่อนข้างยาก
- เคยร่วมงานกับคุณบัณฑิตมาก่อนรึเปล่า
ไม่เคยนะ ที่จริงอาบัณฑิตก็เคยมีทำหนังที่ใช้เทคนิคพิเศษอยู่เรื่องหนึ่งนะ รู้สึกจะเป็นสาบเสือฯ นะ แต่เรื่องนั้นไม่คอยโอเค.เท่าไหร่ เพราะอาจจะเป็นเพราะเวลาที่ใช้ในการทำงานตรงนี้มันน้อยเกินไป คือเมื่อก่อนงานในส่วนของเทคนิคพิเศษมันไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไหร่ ไม่ค่อยเห็นความสำคัญกันเท่าไหร่ และก็ไม่ค่อยเข้าใจงานว่ามันก็ต้องการเวลาสรรค์สร้างเหมือนกัน มักจะบอกว่ามีเวลา 1 เดือนจะทำไหม? ไม่ทำเดี๋ยวก็เดินไปที่อื่น แต่มาตอนนี้มันเริ่มมีคนที่จะเข้าใจแล้ว เพราะว่างานที่ออกไปส่วนมากมันไม่ดีอย่างที่คิด เขาก็เริ่มเข้าใจแล้วล่ะว่าที่มันไม่ดีขึ้นเลยเพราะไม่มีใครให้เวลากับมัน แต่ถ้าพูดถึงการทำงานเรื่องอุกกาบาตแม้ว่าอาจะเอาบทมาให้ดูตั้งแต่แรก มาพูดคุยกัน มันก็ไม่ใช่ว่าจะง่ายนะ เพราะมันก็อยู่ที่บทด้วยที่ต้องการสื่อออกมาว่าต้องการจะพูดถึงอะไร มันมีความเร้าใจแค่ไหนเราต้องทำให้มันสอดคล้องกัน หนังบ้างที่พื้นฐานของบทไม่ดีพอ ไม่สนุกพอ เพราะมีส่วนของเทคนิคพิเศษเข้าไปบางทีมันก็ไม่โอเค.นะ--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นห)--

แท็ก ไฟว์สตาร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ