กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--อีสท์ วอเตอร์
ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้กำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทยเป็นเขตอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ดังนั้น “ทรัพยากรน้ำ” จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม พอเพียง และมีประสิทธิภาพ ควบคู่กันไปพร้อมกับการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จัดตั้งบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด หรือ อีสท์ วอเตอร์ ขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการน้ำดิบผ่านท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและการอุปโภค-บริโภค ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกเพียง 10 ล้านบาท โดยมี กปภ.เป็นผู้ถือหุ้น 100% ในขณะนั้น ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2540 อีสท์ วอเตอร์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนภายใต้หุ้นชื่อ “EASTW” เพื่อระดมทุนจากนักลงทุนทั่วไป ทำให้ อีสท์ วอเตอร์ มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาท จวบจนถึงปัจจุบัน อีสท์ วอเตอร์ มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,664 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นหลัก ดังนี้
- การประปาส่วนภูมิภาค 40.20 %
- บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 18.72 %
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4.57 %
- กระจายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 36.51 %
การพัฒนาโครงข่ายท่อส่งน้ำ
ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน อีสท์ วอเตอร์ ใช้เงินลงทุนไปแล้วกว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโครงข่ายท่อส่งน้ำเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการและสามารถจัดสรรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรองการขยายตัวของอุปสงค์การใช้ทรัพยากรน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี โครงข่ายท่อส่งน้ำสายหลักที่วางใหม่ ประกอบด้วย โครงข่ายท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-มาบตาพุด แม่น้ำระยอง-มาบตาพุด เส้นท่อ By-Pass 1-2 หนองปลาไหล-หนองค้อ โครงข่ายท่อส่งน้ำแหลมฉบัง-บางพระ บางพระ-โรงกรองน้ำบางพระ 2 ระบบท่อพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และระบบท่อบางปะกง-บางพระ-ชลบุรี ความยาวรวม 183.50 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายท่อส่งน้ำที่รับโอนมาดำเนินการจากกรมธนารักษ์ ได้แก่ โครงข่ายท่อส่งน้ำดอกกราย-มาบตาพุด-สัตหีบ หนองค้อ-แหลมฉบัง-พัทยา หนองปลาไหล-หนองค้อ และหนองค้อ-แหลมฉบัง ระยะที่ 2 ความยาวรวม 135.10 กิโลเมตร
ดังนั้นในปัจจุบัน อีสท์ วอเตอร์ จึงมีโครงข่ายท่อส่งน้ำในความดูแลรวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 318.60 กิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อสูบส่งน้ำตั้งแต่ 700-1500 มิลลิเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี มีความสามารถในการสูบส่งน้ำดิบรวม 423 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยมีศูนย์ปฏิบัติการหลัก 2 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์ปฏิบัติการระยอง เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2537 โดยเป็นหน่วยงานบริหารจัดการ ระบบท่อส่งน้ำในพื้นจังหวัดระยอง
2. ศูนย์ปฏิบัติการฉะเชิงเทรา-ชลบุรี เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2546 โดยเป็นหน่วยงานบริหาร จัดการระบบท่อส่งน้ำในพื้นที่ฉะเชิงทราและชลบุรี
ข้อมูลเกี่ยวกับ “โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการนำด้วย 3R”
โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการน้ำด้วย 3R เป็นโครงการประกวดพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อจัดการด้านน้ำอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิดในการนำนวัตกรรมการใช้ให้น้อยลงและลดความฟุ่มเฟือยทรัพยากรน้ำ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ที่ริเริ่มและจัดโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (จำกัด) มหาชน หรือ อีสท์ วอเตอร์ โดยโครงการเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้แสดงศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “3R” ข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไปที่ www.3raward2012.com
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิด 10 สิ่งประดิษฐ์ ที่เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย
1. ทีม BRAVO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงานHousehold Gray water manage systemเป็นผลงานที่สามารถลดปริมาณการใช้น้ำในครัวเรือนได้สูงสุดกว่าร้อยละ 30 และ สามารถรีไซเคิลน้ำที่ใช้แล้ว เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ทีม KMUTT GreenTechมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงานUrinal 3Rs (โถ ปัสสาวะประหยัดน้ำพร้อมระบบผลิตปุ๋ย)ที่รีไซเคิลน้ำปัสสาวะ เพื่อแยกยูเรียมาใช้ประโยชน์ทาง การเกษตร และน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยหลักการ 3Rโดยที่น้ำที่ผ่านการ บำบัดสามารถนำกลับมาใช้.oกิจกรรมอื่นๆได้ เนื่องจากไม่มีเชื้อโรค
3. ทีม KMUTT Hydroมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงาน 3R ElectroSorption (กระบวนการอิเลคโทรซอร์บชันเพื่อแยกเกลือออกจากน้ำ)ซึ่งมีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพการนำ ไฟฟ้าจำเพาะ และความเค็มของน้ำที่ผ่านการบำบัด หากน้ำที่ผ่านการบำบัดมีสภาพการนำไฟฟ้า จำเพาะ และความเค็มในเกณฑ์ที่กำหนดน้ำจะถูกนำไปเก็บไว้ในถังพัก เพื่อใช้ในการเกษตร หากน้ำที่ ผ่านการบำบัดมีสภาพการนำไฟฟ้าจำเพาะ และความเค็มสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สัณญาณเตือนจะ แสดงขึ้นมาที่บริเวณเครื่อง 3R ElectroSorption
4. ทีม Marmosetสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับผลงานกตัญญู (รักษ์โลก)ที่ สามารถผลิตสารที่เป็นของเหลวไหลผ่านแผ่นกรอง ได้สารที่มีสภาพเป็นกลางและไม่เป็นพิษต่อ สิ่งแวดล้อม ด้วยท่อปล่อยNaOHจะปล่อยมาในรูปของเหลวและทำปฏิกิริยากับน้ำยากัดแผ่น PCBทำ ให้เกิด ค่า PH ของสารละลายเพิ่มขึ้น
5. ทีม UTC-BIOMACHINEวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีกับผลงานระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องจักร ชีวภาพในบึงประดิษฐ์ด้วยกลไกการทำงานของเครื่องจักรชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียจากการ อุปโภคบริโภคจะไหลลงสู่ตะแกรงกรอง เพื่อดักจับของแข็งแขวนลอย จากนั้นไหลตกลงสู่ถังดักไขมัน เพื่อแยกไขมันออกจากน้ำ
6. ทีม สร้างต้นทุนพลังงานชุมชนจากน้ำเสียมหาวิทยาลัยทักษิณกับผลงานประโยชน์สามต่อจากระบบ บำบัดน้ำเสียการผลิตยางแผ่นที่สามารถบำบัดน้ำเสียในกระบวนการรีดแผ่นยางจากผลิตแผ่นยางแบบ ครัวเรือน และได้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้
7. ทีม 3R ซักหน้อยบ๋อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ประดิษฐ์ระบบ Zero Discharge สำหรับอุตสาหกรรม ย้อมผ้าขนาดย่อมโดยใช้วิธีระเหยและนำทรายกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีถ่านแกลบ ซึ่งหากถ่าน แกลบไม่สามารถดูดติดสีได้ ก็จะนำถ่านแกลบออกมาตากแดดให้แห้งและนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ต่อไป
8. ทีมส้มซ่าส์มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับระบบซักผ้า 3R เพื่อโรงแรมสีเขียว ที่สามารถนำน้ำที่ใช้ในถังซักผ้า มาใช้ซ้ำได้ หากน้ำที่สกปรกมากก็จะนำไปรดน้าต้นไม้และล้างพื้น ส่วนน้ำที่สกปรกน้อยจะนำไปเก็บไว้ ในถังซักและบำบัดเพื่อให้นำกลับไปใช้ใหม่ได้
9. ทีม วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกับผลงานซักโครก: นวัตกรรมเครื่องซักผ้าและชักโครกประหยัดน้ำ ที่นำน้ำจากเครื่องซักผ้ามาใช้กดชักโครกได้ แบบ ประหยัดน้ำขนาด 6 ลิตร มีตัวฆ่าเชื้อและดับกลิ่น สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
10. ทีม Envi-Grad PSUมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับผลงาน3R New Generation Filterที่มีกรวด หยาบ ผงถ่าน และทรายละเอียดเป็นตัวกรองน้ำเสีย เพื่อหมุนเวียนใช้ในตู้ปลา และนำน้ำจากตู้ปลามา ใช้ในระบบการรดน้ำแบบหยด