มาตรวัดความพร้อมของระบบการออมเพื่อรองรับผู้เกษียณอายุล่าสุดระบุปัจจัยทางการเงินและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการรองรับผู้เกษียณอายุของประเทศไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 20, 2012 09:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--Manulife Asset Management จากการศึกษาวิจัยพบว่า สถานะของการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยทั้งระบบในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่น่าพึงพอใจ แม้ยังมีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณของภาคเอกชนให้เพิ่มขึ้นตามตามการเติบโตทางอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ กรุงเทพ - สัปดาห์นี้ Manulife Asset Management ได้เผยแพร่รายงานที่แนะนำเครื่องชี้วัดการเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุ ที่เน้นศึกษาปัจจัยทางการเงินและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อความสามารถของแต่ละประเทศในการเตรียมความพร้อมให้กับประชากรผู้สูงอายุของตน รายงานฉบับนี้พบว่าประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้อต่อการจัดเตรียมความพร้อมทางการเงินให้แก่ผู้เกษียณอายุ แต่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ประชากรแต่ละคนเพิ่มความรับผิดชอบในการออมเงินเพื่อการเกษียณได้อย่างเหมาะสม รายงานที่มีชื่อว่า “Funding the Golden Years: The financial and economic factors shaping retirement provision for Asia’s rapidly aging populations” (“การออมเงินเพื่อวัยเกษียณ: ปัจจัยทางการเงินและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนเพื่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณสำหรับประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชีย”) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลการวิจัยผู้สูงอายุในเอเชียของ Manulife Asset Management และอ้างอิงผลการวิจัยในวารสารของ Manulife Asset Management ฉบับเดือนมิถุนายนปี 2555 เรื่อง “Saving Up: The changing shape of retirement funding in a greying ASEAN” (“การออมทรัพย์ :การเปลี่ยนแปลงระบบการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มแก่ตัวลง”) ทั้งนี้ ผลการวิจัยในวารสารฉบับก่อนหน้านี้เผยถึงการที่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่ครั้งหนึ่งเคยมีประชากรวัยหนุ่มสาวมากที่สุดในทวีปเอเชียกำลังกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเร็วกว่าที่หลายคนคาดคิด รายงานฉบับใหม่นี้ได้ทำการแบ่งประเทศและเขตการปกครองต่างๆ ในเอเชียในส่วนที่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสำหรับการรองรับผู้เกษียณอายุออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ประเทศที่อยู่ในภาวะที่น่าพึงพอใจมากที่สุด คือ ไต้หวัน, ฮ่องกง และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ คือ จีน มาเลเซีย และประเทศไทย ส่วนประเทศที่อยู่ในภาวะที่น่ากังวล คือ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้เวียดนาม และฟิลิปปินส์ นายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสภาวการณ์ที่น่าพึงพอใจว่า “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และแนวโน้มจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องช่วยให้ประเทศสามารถพัฒนาระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุที่สนับสนุนโดยภาครัฐได้ค่อนข้างดี อีกทั้งมีทรัพย์สินสุทธิในกองทุนเพื่อรองรับการเกษียณอายุของพนักงานภาครัฐ อย่างไรก็ดีแผนการรองรับการเกษียณอายุของภาครัฐยังมีอัตราการครอบคลุมประชากรในระดับต่ำ อันนำไปสู่การแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างบุคคลที่แผนการรองรับการเกษียณอายุครอบคลุมถึง กับบุคคลที่ไม่มีแผนดังกล่าวง นอกจากนี้ แม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มระดับความมั่งคั่งทางการเงินของคนไทยที่ยังอยู่ระดับต่ำในปัจจุบันขึ้นมาบ้าง แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องก็ได้พัฒนาระดับของการเข้าถึงภาคธุรกิจการเงิน เพื่อให้ประชาชนสามารถเปลี่ยนรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้เป็นการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณส่วนบุคคลมากขึ้น” นาย Oscar Gonzales นักเศรษฐศาสตร์ของ Manulife Asset Management ได้เพิ่มเติมความคิดเห็นของนายต่อ อินทวิวัฒน์ โดยชี้ให้เห็นว่า “จำนวนเงินเฉลี่ยเพื่อรองรับการเกษียณอายุของกองทุนที่ดูแลโดยภาครัฐในประเทศไทยมูลค่าประมาณ 9.1 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อปี แต่การดูแลนี้ครอบคลุมถึงจำนวนประชากรในอัตราเพียงร้อยละ 21 ซึ่งเห็นได้ว่าประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากยังอยู่นอกความดูแลด้านระบบบำนาญของรัฐบาล อย่างไรก็ดีด้วยการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรที่ประมาณการณ์ไว้ที่อัตราร้อยละ 3.9 ต่อปี จนถึงปี 2593 น่าจะทำให้คนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะทำให้ประชากรแต่ละคนสามารถเตรียมเงินออมเพื่อการเกษียณของพวกเขาด้วยตัวเอง หากมีเครื่องมือทางการออมที่เหมาะสม” นาย Michale Dommermuth ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Manulife Asset Management (Asia) แสดงความเห็นในบทสรุปของรายงานว่า “ประเทศในเอเชียโดยรวมมีผู้สูงอายุเพิ่มเร็วกว่าที่หลายคนคิด และแต่ละประเทศแต่ละเขตการปกครองประสบกับสภาวการณ์ที่แตกต่างกันไป อันส่งผลต่อความสามารถในการจัดทำแผนการบำนาญสำหรับประชากรในวัยเกษียณที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น อนึ่ง รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุให้มากยิ่งขึ้น และยังชี้ให้เห็นว่าการมีเครื่องมือทางการออมที่มั่นคงปลอดภัยมี่จะช่วยสร้างศักยภาพในการเพิ่มปริมาณการออมส่วนบุคคล ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญ คือ นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ช่วยขยายตลาดการเงิน และเพิ่มระดับการให้ความสนใจของภาคเอกชนในการเข้าไปมีส่วนในกลไกการออมเงิน เช่น กองทุนรวม และผลิตภัณฑ์ประกันควบคู่การลงทุน รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชากรของประเทศในเอเชียมีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มความรับผิดชอบในการออมเงินเพื่อการเกษียณ รวมถึงคนในประเทศไทยด้วย นาย Michale D. คาดว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้เกิดขึ้น จะทำให้มีความต้องการในผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนเพิ่มมากขึ้น เช่น กองทุนที่มีการจัดสรรและลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท (Asset Allocation Funds) ที่จะช่วยให้การอออมบรรลุเป้าหมาย และ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ เพื่อจ่ายกระแสเงินสดให้กับผู้ออมในยามเกษียณอายุไปแล้ว นาย Michale D. สรุปว่า “ Manulife Asset Management มีประสบการณ์อย่างมากในการจัดสรรรูปแบบการลงทุนที่ผสมผสานในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ที่ออกแบบให้ตรงตามวัตถุประสงค์และข้อจำกัดของลูกค้าที่แตกต่างกัน โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในลักษณะนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเราเรียกทีมนี้ว่า “Portfolio Solutions Group” กระจายอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และเอเชีย บริหารจัดการกองทุนแบบจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท รวมมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เราป็นหนึ่งในบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลก ทั้งนี้ จากความรู้และประสบการณ์ทางการตลาดที่ได้รับจากการดำเนินงานใน 10 ประเทศทั่วเอเชีย เราจึงรู้ถึงวิธีการจัดสรรเงินลงทุนที่ตรงต่อความต้องการของแต่ละบุคคล และจัดหาการลงทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดตั้งกองทุนรวมที่มีนโยบายหลากหลายเพื่อให้ลูกค้าทั้งหลายสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุ โดยมีกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศหลายกองทุนเพื่อให้ลูกค้าสามารถกระจายความเสี่ยงของการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศ นอกเหนือจากการลงทุนในประเทศเท่านั้น” ข้อมูลเพิ่มเติม : 1. มาตรชี้วัดความพร้อมของระบบการออมเพื่อรองรับผู้เกษียณอายุ Manulife Asset Management ประมวลผลอย่างไร เครื่องชี้วัดการความพร้อมของระบบการออมเพื่อรองรับผู้เกษียณอายุของ Manulife Asset Management ประมวลผลจาก ปัจจัยทางการเงินและปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่ร่วมอธิบายถึงสภาวการณ์ของผู้ที่กำลังออมเพื่อการเกษียณอายุใน 11 ประเทศและเขตการปกครองในภูมิภาคเอเชียจะต้องเผชิญ ปัจจัยทางการเงิน (ให้น้ำหนักร้อยละ 70 ของเครื่องชี้วัดทั้งหมด) พิจารณาถึงปัจจัยด้านต่างๆ ในระดับประเทศ เช่น ความมั่งคั่งทางการเงิน อัตราส่วนการครอบคลุม รายได้เฉลี่ยประชากร อัตราการผิดนัดในการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นของพันธบัตรรัฐบาล และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในกองทุนบำนาญของประเทศหรือเขตการปกครอง อนึ่ง ปัจจัยทางการเงินช่วยในการวัดเชิงปริมาณของสภาวการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถของรัฐในการจัดเตรียมบำนาญให้แก่ผู้เกษียณ และความสามารถของแต่ละบุคคลในการรับผิดชอบจัดเตรียมบำนาญของตนเอง ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์มหภาค (น้ำหนักร้อยละ 30 ของเครื่องชี้วัดทั้งหมด) ช่วยระบุปัจจัยต่างๆ ในภาพกว้างกว่าปัจจัยทางการเงิน ที่จะเป็นภาระสำหรับภาครัฐและเอกชนในอีกหลายปีที่จะถึงนี้ แต่อยู่อาจเหนือการควบคุมของภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงอัตราส่วนต่างๆ ได้แก่ สัดส่วนของคนในวัยทำงานต่อจำนวนผู้เกษียณอายุ อัตราการออมเงินในประเทศ (Gross National Savings) และอัตราการเติบโตของประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร 2. มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนบำนาญ หมายถึง จำนวนเงินรวมที่รัฐสะสมไว้จ่ายให้แก่ผู้เกษียณอายุ (แหล่งข้อมูล : OECD Asia/Pacific 2009) 3.อัตราการครอบคลุมของแผนการบำนาญของภาครัฐใน 11 ประเทศและเขตการปกครอง อัตราการครอบคลุม ญี่ปุ่น 75% ไต้หวัน 70% ฮ่องกง 56% สิงคโปร์ 45% เกาหลี 40% มาเลเซีย 33% ไทย 21% จีน 17% ฟิลิปปินส์ 14% อินโดนีเซีย 11% เวียดนาม 11% หมายเหตุ อัตราการครอบคลุม = ร้อยละของจำนวนประชากรที่แผนการออมภาคบังคับครอบคลุมถึง แหล่งข้อมูล: OECD Pension at a Glance, Asia/Pacific Edition 2011 (ข้อมูลของไต้หวันจากรายงานฉบับปี 2552) 4. อัตราการออมเงินในประเทศ (Gross National Savings) ของ 11 ประเทศและเขตการปกครอง อัตราการออมเงินในประเทศ* จีน 47% สิงคโปร์ 42% มาเลเซีย 35% เวียดนาม 32% เกาหลี 32% ฮ่องกง 31% ไต้หวัน 29% ไทย 29% อินโดนีเซีย 28% ญี่ปุ่น 25% ฟิลิปปินส์ 22% หมายเหตุ* อัตราการออมเงินในประเทศ (Gross National Savings) เฉลี่ยปี 2543-2554 คิดเป็นอัตราร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แหล่งข้อมูล: National Statistics Offices & Global Insight สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด Website: www.manulife-asset.co.th โทรศัพท์: 02-246-7650 กด 2 โทรสาร: 02-642-6341 ฝ่ายการตลาด : ชัชฎดา เอกะหิตานนท์ 0-2264-7650 ต่อ 8615 หรือ 0-2354-1006 พันธุ์วดี พินทุโยธิน 0-2246-7650 ต่อ 8608
แท็ก SET  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ