กรุงเทพฯ--26 พ.ย.--กรีนพีซ
กรีนพีซสากลเปิดเผยรายงานล่าสุด พบสารเคมีอันตรายรบกวนฮอร์โมนและสารก่อมะเร็งในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่นแบรนด์ระดับโลก ซึ่งจะก่อผลกระทบเมื่อปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาของกรีนพีซนี้ ได้ตรวจพบสารเคมีอันตรายในเสื้อผ้าจาก 20 แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นชั้นนำ1โดยซาร่า(Zara) เป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่พบสารเคมีอันตรายทั้งชนิดรบกวนฮอร์โมนและสารก่อมะเร็ง2
รายงานกรีนพีซสากล “สารพิษในเส้นใย:แฟชั่นระดับโลกและการผลิต” ได้เปิดเผยผลวิเคราะห์ตัวอย่างเสื้อผ้าจำนวน 141 ชิ้นที่วางจำหน่ายใน 29 ประเทศ และซึ่งผลิตจากโรงงานจากไม่น้อยกว่า 18 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เพื่อแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมฟอกย้อมและสิ่งทอที่มีการใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิตและซึ่งตกค้างในผลิตภัณฑ์
“ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆ ได้ทำให้ผู้บริโภคกลายเป็นเหยื่อมลพิษจากการจำหน่ายเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีอันตราย การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมที่มีอยู่ทั่วโลกจากการผลิต และผู้บริโภคต้องกลายเป็นผู้ก่อมลพิษโดยไม่รู้ตัวจากการซักล้างเสื้อที่มีสารเคมีอันตราย” ยี ฟาง ลี่ ผู้ประสานงานด้านสารพิษกรีนพีซเอเชียตะวันออกกล่าว
จากการตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีในตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า พบสารกลุ่มโนนิลฟีนอลอีทอกซิเลท (NFEs) ในปริมาณสูงกว่า 1,000 ppm ซึ่งจะแตกตัวเป็นสารรบกวนฮอร์โมน ในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าซาร่ามีเทอร์สบอนเว (Metersbonwe) ลีวายส์ (Levi’s) ซีแอนด์เอ (C&A) แมงโก้ (Mango)เคลวินไคลน์ (Calvin Klein) แจ็คแอนด์โจนส์ (Jack & Jones) และ มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) นอกจากนี้ยังมีการพบสารกลุ่มกลุ่มพทาเลท (phthalates) ในปริมาณเข้มข้นสูงจาก 4 ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง และยังตรวจพบสารเอมีน (amines) ซึ่งมาจากการใช้สีฟอกย้อมเอโซ (azodyes)3 จาก 2 ตัวอย่างจากผลิตภัณฑ์ ซาร่าอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบสารเคมีอันตรายอื่นๆ ในอีกหลายตัวอย่าง
“สารพิษที่พบจากตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากซาร่านั้น เป็นสารที่จะแตกตัวกลายเป็นสารรบกวนฮอร์โมนและสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้สำหรับผู้บริโภคและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้โรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าซาร่าจะทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่ถูกวางจำหน่าย ดังนั้นในฐานะที่ซาร่าเป็นผู้ค้าปลีกเสื้อผ้ารายใหญ่ที่สุดในโลกซาร่าจะต้องเป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและโปร่งใสในการขจัดสารพิษออกจากเสื้อผ้าและออกจากห่วงโซ่การผลิตทั้งหมดอย่างเร่งด่วน” มาร์ติน ฮอส์ซิก ผู้ประสานงานด้านสารพิษ กรีนพีชสากล กล่าว
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่ถูกทดสอบนั้นส่วนใหญ่มีการผลิตจากโรงงานในซีกโลกใต้ รวมถึงกางเกงยีนส์ กางเกงขาสั้น เสื้อเชิ๊ต กระโปรง ชุดชั้นในสำหรับผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กทั้งที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งพบสารเคมีอันตรายตกค้างจากกระบวนการผลิตอยู่ในผลิตภัณฑ์
“ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ชั้นนำของโลกและเป็นตลาดเสื้อผ้าแบรนด์แฟชั่นที่มีการเติบโตสูง ปัจจุบันมีการผลิตเสื้อผ้ากว่า 80,000 ล้านชิ้นทั่วโลกต่อปี หรือเท่ากับเสื้อผ้า11ชิ้นต่อประชากร1คน4 ซึ่งหมายถึงสารเคมีอันตรายปริมาณมหาศาลถูกใช้และปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม โดยที่อุตสาหกรรมฟอกย้อมและสิ่งทอยังคงใช้แหล่งน้ำสาธารณะของพวกเราเป็นท่อระบายน้ำส่วนบุคคล ซึ่งแฟชั่นนั้นไม่ควรที่จะต้องก่อมลพิษให้แก่โลก เสื้อผ้าของเราไม่ควรจะต้องผลิตจากสารเคมีอันตราย”พลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว
กรีนพีชเรียกร้องให้ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแบรนด์อื่นๆเข้าร่วมโครงการ “ล้างสารพิษ (Detox)” โดยจะต้องแสดงเจตจำนงค์อย่างน่าเชื่อถือในการบรรลุเป้าหมาย “การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์” ให้ได้ภายในปีพ.ศ. 2563 เช่นเดียวกับที่ เฮชแอนด์เอ็ม (H&M) และ มาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ (M&S) ได้ให้คำมั่นที่จะทำแล้ว นอกจากนี้บริษัทจะต้องกำหนดให้โรงงานผลิตมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและปริมาณการปลดปล่อยสารเคมีอันตรายจากโรงงานสู่ชุมชนและแหล่งน้ำ
ข้อมูลแนบท้าย
ดาวโหลดรายงาน“สารพิษในเส้นใย:แฟชั่นระดับโลกและการผลิต”
http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Toxic-Threads/
ดาวโหลดรูปภาพประกอบรายงาน “สารพิษในเส้นใย:แฟชั่นระดับโลกและการผลิต”
http://photo.greenpeace.org/C.aspx?VP3=ViewBox_VPage&ALID=27MZIFVVONQT&CT=Album
ดาวโหลดรูป “ถึงเวลาแฟชั่นต้องปลอดสารพิษ”http://www.greenpeace.org/seasia/th/photosvideos/photos/detox-our-fashion/
1.เสื้อผ้าเหล่านี้จัดจำหน่ายโดยบริษัทแฟชั่นชั้นนำต่าง ๆ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเบเนตตอง (Benetton) แจ็คแอนด์โจนส์ (Jack & Jones) โอนลี่ (Only) เวโรโมดา (Vero moda) บลาเซค (Bla?ek) ซี แอนด์ เอ (C&A) ดีเซล (Diesel) เอสปริท (Esprit) แก๊ป (Gap) อาร์มานี่ (Armani) เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) ซาร่า (Zara) ลีวายส์ (Levi’s) วิคตอเรีย ซีเคร็ท (Victoria’s Secret) แมงโก้ (Mango) มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) มีเทอร์สบอนเว (Metersbonwe) แคลวินไคลน์ (Calvin Klein) ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์(Tommy Hilfiger) และแวนเคิล (VANCL)
2. สารเอมีน (amines) ใช้ในกระบวนการผลิตสีฟอกย้อมประเภทเอโซ (azodyes) และจะหลุดแตกตัวออกจากสีฟอกย้อมสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสารพิษมีฤทธิ์ก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่มพทาเลท (phthalates)ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจำนวน 31 ตัวอย่าง โดยพบปริมาณความเข้มข้นในระดับสูงมากในผลิตภัณฑ์จำนวน 4 ตัวอย่าง และพบตกค้างในอีก 27 ตัวอย่างที่เหลือ ขณะที่สารกลุ่มโนนิลฟีนอลอีทอกซิเลท (NPEs) ถูกตรวจพบมากที่สุดในทุกแบรนด์ สารเหล่านี้จะแตกตัวเปลี่ยนรูปในสิ่งแวดล้อมหรือในกระบวนการบำบัดน้ำเสียกลายเป็นสารรบกวนฮอร์โมนและสารพทาเลทบางชนิดยังเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
3.สารเอมีน (amines) จากผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่างข้างต้นที่มีค่าความเข้มข้นเกินกว่าปริมาณที่สามารถตรวจพบได้ 5 ppmจากทั้งหมด 134 ตัวอย่างโดยตัวอย่างทั้งสองผลิตขึ้นในประเทศปากีสถาน ให้แก่ยี่ห้อซาร่า (Zara) และวางจำหน่ายในประเทศเลบานอนและฮังการี
4. Siegle,Lucy (2011) op cit.
กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ