กรุงเทพฯ--28 พ.ย.--ทีดีอาร์ไอ
น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศเป็นมูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้านบาท สาเหตุสำคัญนอกจากปริมาณน้ำฝนที่ตกมากเป็นประวัติศาสตร์ในรอบ 70 ปี ยังมาจากความผิดพลาดของแบบแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่ลุ่มที่เป็นทางผ่านของน้ำ การบริหารจัดการภาวะน้ำท่วม และการแทรกแซงทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในภาพรวมยังมีส่วนซ้ำเติมให้ปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงขึ้น และทันทีที่น้ำลดรัฐบาลได้เร่งจัดทำแผนแม่บทการจัดการน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว รวมทั้งจัดหางบประมาณจำนวน 3.5 แสนล้านบาทเพื่อเยียวยาผู้ประสบภัย บูรณซ่อมแซม จุดเด่นของแผนแม่บทการจัดการน้ำท่วมคือ แผนป้องกันน้ำท่วมแบบบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อย่างไรก็ตามแม้แผนแม่บทจะบรรจุเรื่องการบริหารจัดการน้ำ แต่งบประมาณส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องลงทุนด้านโครงสร้าง และหน่วยราชการยังเป็นผู้รับผิดชอบด้านแผนบริหารจัดการน้ำ
ทีดีอาร์ไอ จึงได้ทำการศึกษาโครงการศึกษา การปฏิรูปการจัดการน้ำของประเทศไทย : การวิเคราะห์เชิงสถาบัน และรูปแบบการปรับตัว (Improving Flood Management Planning in Thailand) โดยจะมีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการวิจัยดังกล่าวขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2555 เวลา 11.00 — 12.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาว 3 ปี มุ่งศึกษาประเด็นด้านการบริหารจัดการน้ำในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่เป็นธรรม
กำหนดการ
10.30 - 11.00 น. ลงทะเบียนสื่อมวลชน
11.00 - 11.15 น. เปิดงานและแนะนำโครงการศึกษา การปฏิรูปการจัดการน้ำของประเทศไทย :
การวิเคราะห์เชิงสถาบัน และรูปแบบการปรับตัว
โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร
นักวิชาการกิตติคุณ ทีดีอาร์ไอ และหัวหน้าโครงการวิจัยฯ
11.15 - 11.45 น. วิทยากรอภิปราย ร่วมให้มุมมองภาพอนาคตระบบจัดการน้ำของประเทศไทย
- “หลังเกิดน้ำท่วมเราจะบริหารจัดการได้อย่างไร : การจัดองคาพยพ”
โดย ดร.อาณัติ อาภาภิรม
- “การจัดการข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้: ระบบเตือนภัย”
โดย ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)
11.45-12.30 น. ตอบข้อซักถาม