กฟก. ปฏิรูปองค์กรเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ข่าวทั่วไป Thursday November 29, 2012 16:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.)ได้มีการประชุมวางกรอบนโยบายกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อเป็นการวางเเนวทางการปฎิบัติงานในปี 2556 โดยคณะกรรมการบริหารได้ให้ความเห็นชอบแนวนโยบายดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 10/2555 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำเเหน่งเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) กล่าวว่าคณะกรรมการบริหารฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อจัดทำนโยบายกรรมการบริหาร นโยบายการเสริมสร้างประสิทธิภาพบุคลากรของกองทุนฟื้นฟูฯปรับปรุงร่างยุทธศาตร์ 4 ปี ซึ่งประกอบไปด้วยนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และผลการดำเนินงานไปยังบุคลกากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำไปปฏิบัติผ่านช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบ อาทิ การประชุมคณะผู้บริหาร/การประชุมคณะทำงาน สัมมนากลุ่มย่อย การประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการความรู้ที่มีความเหมาะสมตามสถานการณ์อีกทั้งคณะผู้บริหารได้เน้นความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติงานตามกฎหมายภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรมเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และมีการตรวจสอบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบายของคณะกรรมการบริหาร มีการประชุมกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยภายในอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกันกำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ด้วยการประชุมวางแผนกลยุทธ์ประจำปีโดยนำปัจจัยภายในและภายนอกตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาทำการวิเคราะห์ SWOT ในแต่ละองค์กร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ ท้ายที่สุดคณะกรรมการบริหารมีการประเมินผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ กฟก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขับเคลื่อนและหนุนเสริมองค์กรให้สร้างผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ นายสมยศ กล่าวต่อว่า กรอบนโยบายกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่ง กฟก.ได้นำหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางบริหารจัดการที่จะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในและภายนอก กฟก. สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างมีความสุข อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบประเมินผลการทำงาน โดยคณะกรรมการบริหาร และบุคคลภายนอกมีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะติดตามตรวจสอบ โดยมีสาระสำคัญ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการปฏิรูปองค์กร จะปรับปรุง แก้ไข กฏหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้อง เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการให้บริการแก่เกษตรกรสมาชิกอย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ควรปรับปรุง แก้ไข ได้เเก่ เรื่องเกี่ยวกับสำนักงาน เช่น การปรับปรุง แก้ไข ระเบียบกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ให้เกิดความเป็นธรรม โดยมีองค์ประกอบจากผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ โดยให้ใช้การประเมินจากแผนปฏิบัติงาน เป็นต้น เรื่องเกี่ยวกับองค์กรเกษตรกร เช่น สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อประเมินศักยภาพขององค์กร อย่างรอบด้าน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาของกองทุน ต่อการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้บริการเกษตรกรสมาชิก เป็นต้น 2. ด้านการฟื้นฟูเกษตรกร เช่น การกำหนดแนวทางเพื่อสร้างจิตสำนึกในการให้บริการเกษตรกร และสร้างวัฒนธรรมองค์กร อันเป็นคุณค่าร่วมกัน ในทุกระดับองค์กร และพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคลากร จะต้องยึดหลัก ความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม โดยเฉพาะการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง การยกระดับ การโยกย้าย การประเมินและการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน ซึ่งแนวทางในการดำเนินงาน ดังกล่าวคณะทำงานจะต้องดำเนินการโดย ทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินเดิม และกำหนดกรอบการประเมินให้ชัดเจน เป็นต้น 3. ด้านการจัดการหนี้ด้านกระบวนการองค์กรเกษตรกร เช่น เสริมสร้างและสนับสนุน ให้เกิดภาคีความร่วมมือ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางในการดำเนินงาน จะต้องทำควบคู่กับนโยบายด้านการปฏิรูปองค์กร และจะต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ เป็นต้น 4. ด้านบริหารจัดการบุคลากร เช่น ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาให้องค์กรและเกษตรกร เป็นศูนย์กลางในการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรม โดยยึดหลักตามความในมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.๒๕๔๒ การสร้างความเชื่อมั่นแก่สถาบันเจ้าหนี้ต่อการให้บริการสินเชื่อองค์กรเกษตรกร โดยให้รัฐบาลและกองทุนฟื้นฟูฯ ค้ำประกัน ชดเชยดอกเบี้ยส่วนต่าง ตามมาตรา 15 ( 1 ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมทั้งสนับสนุนงบอุดหนุน เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรอย่างเต็มที่ เป็นต้น 5. ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้านการเสริมสร้างและสนับสนุน ให้เกิดภาคีความร่วมมือ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ และด้านสุดท้าย คือ การเตรียมความพร้อมสู่อนาคต เช่น การสนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ เพื่อขยายผลให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานเป็นเครื่องมือในการต่อรอง ในเวทีประชาคมอาเซียนและเวทีโลก โดยการศึกษางานวิจัยจากหน่วยงานอื่น ๆ และนำมาพัฒนาใช้ในงานของ กฟก. และการสนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย เพื่อสร้างหลักประกัน สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร รวมถึงการสนับสนุนให้มีการศึกษา แนวทางประกันความเสี่ยงผลผลิตเกษตรกร ฐานทรัพยากร ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน นายสมยศกล่าว.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ